เทคโนโลยี สร้างชุมชนดิจิทัลกรีน คนอินเดีย

Share:
ชุมชนสีเขียว DigitalGreen

ผมมีโอกาสไปติดตามเรื่องราวองค์กรดิจิทัลกรีน ซึ่งเป็นองค์กรเพื่อการพัฒนาระดับโลกที่ให้สิทธิแก่เกษตรกรรายย่อยในการยกตัวเองออกจากความยากจนด้วยการช่วยเหลือ วิจัย สนับสนุน ความร่วมมือด้านเทคโนโลยีให้แก่ประชาชนในระดับรากหญ้าในประเทศอินเดียและอีกหลายประเทศ โดยองค์กรนี้มองว่าเมื่อเกษตรกรมีเครื่องมือการสื่อสารผ่านเทคโนโลยีที่พวกเขาต้องการในการเชื่อมต่อกันและกันได้ พวกเขาจะใช้สิ่งที่พวกเขาได้เรียนรู้ทางเกษตรและการใช้ชีวิตในครัวเรือนของพวกเขามาปรับปรุงวิถีชีวิตของตนเองและของคนอื่น ๆ ในชุมชนให้ดีขึ้น

ชุมชนสีเขียว DigitalGreen

ชุมชนสีเขียว DigitalGreen

ในประเทศอินเดียเป็นที่ ที่ทุกอย่างเริ่มต้นและทดลองใช้งานวิดีโอเพื่อขยายความรู้ทางการเกษตรเพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับคนในชุมชนของเขากว่า 10,000 หมู่บ้านทั่วประเทศ โดยได้รับการสนับสนุนจาก Microsoft Research และได้รับการช่วยเหลือจากรัฐบาลอินเดียเอง ประชาชนในชุมชนทุกระดับในประเทศอินเดียได้สัมผัสชีวิตของเกษตรกรผู้ผลิตรายย่อยกว่า 1 ล้านราย โดยแบ่งการจัดการสนับสนุนและช่วยเหลือออกเป็น 3 แนวทางดังนี้

1. การฝึกอบรมให้ผู้นำชุมทุกพื้นที่

ผู้นำชุมชนของพวกเขา นายอำเภอ ผู้ใหญ่บ้าน หัวหน้าอาสาสมัคร จะเป็นผู้ที่ได้รับการอบรมให้ความรู้จากรัฐบาล ด้วยการให้เรียนรู้การใช้เทคโลโนยี ซึ่งเขาเน้นไปที่การสร้างสรรค์สื่อวิดีโอและใส่ความรู้ทางการเกษตรของชุมชนลงไป โดยให้ผู้นำชุมชนมีหน้าที่คัดกรองวิดีโอในชุมชนของพวกเขาเอง เช่น กระบวนการการเพาะปลูกข้าว การเลี้ยงสัตว์ การปลูกผักสวนครัว และนำวิดีโอความรู้นั้นมาเผยแพร่แลกเปลี่ยนให้ความรู้ซึ่งกันและกัน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญต่อความสำเร็จของเขา จนทำให้มีเกิดเป็น Digital Green ในชุมชนเกิดขึ้น สร้างเป็นแนวร่วมในการแบ่งปันความรู้ทางเกษตรกรรรมในรูปแบบเนื้อหาผ่านวิดีโอออนไลน์มากมาย ซึ่งเป็นแนวทางดีที่และประสบความสำเร็จของพวกเขา ในการส่งเสริมการเกษตรที่ดีขึ้นและการปฏิบัติการด้านโภชนาการใน 13,600 หมู่บ้านทั่วประเทศอินเดีย

2. ปรับปรุงผลลัพธ์ด้านสุขภาพของคนในชุมชน

ในความพยายามในการตอบสนองความต้องการแบบองค์รวมของชุมชนชนบทอินเดีย เขามุ่งเน้นไปที่สุขภาพของครอบครัวเป็นสำคัญ โดยเฉพาะมารดาทารกแรกเกิดและเด็กๆในชุมชน ต้องมีสุขอนามัยและการปฏิบัติด้านสุขอนามัยที่ดี โดยเขาใช้วิดีโอเป็นเครื่องมือที่ให้ความรู้ ที่ผลิตและเผยแพร่ผ่านแนวทางการสื่อสารสุขภาพที่เรียบง่าย  เช่น การกิน การอยู่อาศัย และสุขอนามัยที่ดีในครัวเรือน โดยให้ทุกคนในชุมชนสาขาเข้าถึงวิดีโอความรู้นั้นได้ผ่านออนไลน์ ซึ่งก็ประสบผลสำเร็จเป็นอย่างมากเช่นกัน เขาสามารถนำไปสู่การปรับปรุงสุขภาพและโภชนาการที่สำคัญในหมู่ชุมชนในชนบทของอินเดียให้ดีขึ้นกว่าเดินซึ่งเห็นได้ชัด

3. เชื่อมโยงเกษตรกรเข้าสู่ตลาด

ในแต่ละสัปดาห์เกษตรกรผู้ปลูกรายย่อยในอินเดีย จะได้รายได้อย่างมากมายจากการขายผลผลิตในตลาดใกล้บ้าน ซึ่งเป็นโอกาสดี และลดต้นทุนในการขนส่งผลผลิตไปขายในต่างพื้นที่ โดยเครื่องมือที่มาช่วยลดตันทุนให้เกษตรกรนั้นมีชื่อว่า Loop ซึ่งเป็นแอปพลิเคชันมือถือที่ช่วยให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นโดยช่วยให้พวกเขาสามารถเอาผลผลิตไปใส่ในนั้นและขายออนไลน์ได้ทันที ทำให้ช่วยลดผลผลิตที่เน่าเสียง่ายของพวกเขาให้สามารถเป็นช่องทางขายที่หลากหลายให้ผู้บริโภคสั่งซื้อได้เลย

นับว่าเป็นโครงการความร่วมมือภารกิจแห่งชาติเกี่ยวกับการดำรงชีพในชนบทของอินเดียเลยทีเดียว ซึ่งรวมเอาวิธีการของ Digital Green กับระบบขยายระบบที่มีอยู่แล้ว ภารกิจของเขาคือการเข้าถึงหมู่บ้านมากกว่า 10,000 แห่งและเกษตรกร 1,000,000 คน เข้ามาเรียนรู้และเปลี่ยนซึ่งกันและกันผ่านวิดีโอชุมชนที่มีส่วนร่วมสร้างประมาณ 3,000 แห่ง จุดเน้นของโครงการนี้คือการปรับปรุงประสิทธิภาพของการทำการเกษตรและการสนับสนุนช่วยเหลือให้ชีวิตของคนในชุมชนมีชีวิตที่ดีขึ้น ลดความยากจนลง โดยผ่านเทคโนโลยีที่หลากหลาย ทั่งวิดีโดออนไลน์และแอปพลิเคชัน เรียนรู้โครงการนี้ได้ที่ www.digitalgreen.org

ประเทศไทยเราน่าจะเอาแนวทางนี้ไปใช้กับชุมชนและเกษตรกรของเราบ้างโดยเอาเทคโนโลยี สร้างองค์ความรู้ผ่านวิดีโอและเผยแพร่ออนไลน์แบ่งปันกัน ผมเชื่อในศักยภาพของเกษตรกรไทย ทั้งมีความรู้ ความสามารถที่ไม่แพ้ชาติใดในโลก ถ้าแบ่งปันองค์ความรู้ซึ่งกันและกันได้ผ่านเทคโนโลยี ผมเชื่อเกษตรกรไทยจะก้าวไกลระดับโลก


อ.ธวัชชัย สุขสีดา (อ.ต้นรัก)
รองคณบดีคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

Share:

Leave a reply