นิเทศศาสตร์ แนวดิจิทัล ยุค Thailand 4.0 เน้นเทคโนโลยี ไอที ดิจิทัล และ ความคิดสร้างสรรค์เป็นพื้นฐาน
นิเทศศาสตร์ แนวดิจิทัล
เรียนนิเทศศาสตร์ยุค Thailand 4.0 เน้นเทคโนโลยี ไอที ดิจิทัล และ ความคิดสร้างสรรค์เป็นพื้นฐาน
ตอนนี้โลกเราได้เข้าสู่ยุค 4.0 ความเปลี่ยนแปลงของโลกเกิดขึ้นจากเทคโนโลยีดิจิทัลมากลืนกินสภาพเก่าๆ เดิมๆ ไปจนหมดสิ้น เทคโนโลยีใหม่ๆ ถูกต่อยอดจากอุปกรณ์ดิจิทัลเดิมและไหลบ่าเข้ามาครอบงำเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมต่างๆ โดยเฉพาะการสื่อสาร และ การทำงานของมนุษย์ ทำให้ทุกคนในสังคมกับเทคโนโลยีไม่สามารถแยกออกจากกันได้ มนุษย์จากนี้ไปจึงคือ ”มนุษย์ดิจิทัล” แม้จะเต็มใจหรือไม่ก็ตาม โดยมนุษย์ดิจิทัลเหล่านี้ มีผู้บัญญัติศัพท์แยกย่อยเป็นสองกลุ่มว่า กลุ่มคนที่เป็นดิจิทัลโดยกำเนิดเรียกว่า Digital Native และ กลุ่มคนที่จำใจหรือเป็นผู้อพยพเข้าสู่โลกดิจิทัลเรียกว่า Digital Immigrant ซึ่งทั้งสองกลุ่มนี้คือถือเป็น “คน” ที่นักนิเทศศาสตร์ต้องเข้าใจความเป็นไปของเขาในฐานะบริบทหนึ่งของการสื่อสารมวลชน เพื่อที่จะได้สร้างสรรค์ ปรับเปลี่ยน เนื้อหา รูปแบบ ช่องทาง และ ลักษณะการนำเสนอ
เดิมโลกเราชอบแยกศาสตร์ต่างๆ ออกจากกัน ออกเป็นคณะหรือสาขาวิชา เช่น คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน สาขาวิชาสังคมศาสตร์ สาขาวิชาการตลาด สาขาวิชาคอมพิวเตอร์เพื่อการสื่อสาร แล้วก็มองทุกอย่างแบบแยกส่วนออกจากกัน ซึ่งกลับเป็นสิ่งที่ตรงข้ามกับความเป็นจริงในโลก ที่ทุกอย่างหลอมรวมกันมากขึ้น
สำหรับศาสตร์ที่มีความเป็นสหวิทยาการสูงอย่าง “นิเทศศาสตร์” เพราะเป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสาร ซึ่งเทคโนโลยีดิจิทัลมีอิทธิพลเข้ามาเปลี่ยนแปลงรูปแบบการสื่อสารไปมาก ทำให้องค์ความรู้รูปแบบเดิมไม่เพียงพออีกต่อไป นักนิเทศศาสตร์ในยุคใหม่ หากไม่มีความเจนจัดในโลกไอที ไม่คล่องแคล่วในการใช้สื่อ ก็จะถูกทิ้งไว้เบื้องหลัง ไม่มีขีดความสามารถในการแข่งขันเหลืออีกต่อไป นักนิเทศศาสตร์ในยุค 4.0 นี้ จึงต้องชอบศึกษาข้ามศาสตร์ เปิดกว้างต้อนรับการมาเยือนของเทคโนโลยีใหม่ๆ บนพื้นฐานการใช้ความคิดสร้างสรรค์เดิมที่มักจะมีอยู่แล้ว และต้องยึดมั่นในหลักการสื่อสารมวลชน มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม ในฐานะสื่อ
เมื่อวงการนิเทศศาสตร์ ได้เปลี่ยนจากยุคอนาล็อกเป็นยุคดิจิทัล ยุคสมัยเปลี่ยน หลักสูตรก็ต้องเปลี่ยนตาม บทบาทหน้าที่ของสถาบันการศึกษาก็ไม่ต่างอะไรกับนักวิชาชีพ ที่ต้องตามโลกให้ทัน เพื่อที่จะไม่ผลิตบัณฑิตที่ขาดขีดความสามารถในการแข่งขันในโลกดิจิทัล สำหรับคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ มหาวิทยาลัยเอกชนชั้นนำของประเทศ เราเชื่อมโยงองค์ความรู้ทางด้านนิเทศศาสตร์ยุคใหม่ เน้นไอที เน้นดิจิทัลในทุกสาขา แล้วจึงสร้างจุดเด่นด้วยการมอบความรู้ทักษะการประกอบธุรกิจสมัยใหม่ (New Business DNA) และการมุ่งเน้นความเข้าใจในกลุ่มประเทศอาเซียนและจีน (AEC + China) ลงไปในหลักสูตรด้วยเพื่อให้ผลผลิตของสถาบันการศึกษาไม่แคบ ไม่ตีบตัน สามารถแสวงหาโอกาสใหม่ๆได้
ในยุค Thailand 4.0 เป็นยุคที่ทุกคนมีความรู้ความสามารถเสมอกัน เพราะโลกแห่งความรู้ไม่ใช่เกิดจากการจดจำอีกต่อไป คนเราต้องการรู้อะไรก็สามารถหาข้อมูลได้ในพริบตา แต่ที่คนเราขาดกันมากคือ ทักษะการสื่อสารที่ดี และ ทักษะความชำนาญเจนจัดในการเป็นมนุษย์ดิจิทัล ภาคธุรกิจ ภาครัฐ ภาคอุตสาหกรรมต่างๆ จึงต้องการใช้คนนิเทศศาสตร์มาเป็นส่วนสำคัญในการสื่อสารองค์กร สื่อสารการตลาด รวมถึงประกอบวิชาชีพสื่อสารมวลชนแบบดิจิทัลออกไป โดยสถาบันการศึกษาที่มีวิสัยทัศน์จะนำเอาเรื่องเทคโนโลยี ไอที ดิจิทัล ผสมผสานเข้าไปในหลักสูตรทั้งหมด
นิเทศศาสตร์ แนวดิจิทัล กรณีศึกษา คณะนิเทศศาสตร์ ม.ธุรกิจบัณฑิตย์
คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ได้เปิดหลักสูตรการเรียนการสอนด้านนิเทศศาสตร์มาเกือบ 30 ปี จากยุคที่ไม่มีใครรู้จักคำว่าดิจิทัล จนถึงยุคที่หลักสูตรหริญญาตรีทั้งหมด มีคำว่า “ดิจิทัล” ต่อท้าย โดยปัจจุบันหลักสูตรปริญญาตรีของทางคณะฯ มี 4 สาขาคือ สาขาสื่อสารการตลาดดิจิทัล สาขาสื่อดิจิทัลและการสร้างสรรค์ สาขาภาพยนตร์และสื่อดิจิทัล และ สาขาการสื่อสารการแสดงดิจิทัล โดยแนวทางการเรียนการสอนของคณะฯ ในยุคดิจิทัลจะปรับการเรียนการสอนเป็นระบบโค้ชนักศึกษา ให้ทำโปรเจคย่อย โปรเจคใหญ่ แบบนักธุรกิจ startup ที่มี Mentor คอยดูแล ต้องนำเสนอหรือเรียกว่า Pitching ทุกๆ เดือน โดยโค้ชจะเป็นคนให้คำแนะนำ และจำลองสถานการณ์การการทำธุรกิจมาเป็นกรณีศึกษาให้นักศึกษาฝ่าฟัน นักศึกษาจะได้เรียนรู้จากการทำงานจริงด้วยโจทย์จริงจากภาคอุตสาหกรรมสื่อ ทำให้มีโอกาสได้ทดลองปฏิบัติและเรียนรู้ปัญหาที่เกิดขึ้นจริง อันจะนำไปสู่ความริเริ่มสร้างสรรค์ ได้ทำงานจริงในทักษะที่แต่ละคนชอบและถนัด จนเกิดเป็นธุรกิจจริงที่ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเป็นตัวขับเคลื่อน หรือที่เรียกว่า Startup ขึ้นมาตั้งแต่ปี 2 และปี 3 ที่เรียนในมหาวิทยาลัย
รูปแบบการศึกษาของคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์เป็นกรอบแนวคิดใหม่ (DPU Way) ที่ปรับการเรียนการสอน ให้เป็นกิจกรรมผลักดันให้นักศึกษาสามารถสร้างความสำเร็จด้านการทำงานและประกอบธุรกิจจริงตั้งแต่อยู่ในรั้วมหาวิทยาลัย “ความสำเร็จ ไม่ต้องรอให้เรียนจบ” คณะฯ จะเป็นผู้สร้าง Ecosystem ทั้งระบบ อุปกรณ์ เครื่องมือ และบุคลากร พร้อมทั้งเปลี่ยนจากการให้ความสำคัญกับการวัดผลจากเกรด การจบการศึกษาหรือปริญญาบัตร (Graduation) มาเป็นการสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาและสร้างธุรกิจให้เกิดขึ้นจริงมากกว่าการยึดมั่นถือมั่นที่เกรด
นอกจากนี้ ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ ยังเปลี่ยนห้องเรียนเป็นห้องปฎิบัติการ หรือ Makerspace โดยจะเป็นสถานที่ที่นักศึกษาจากหลากหลายคณะ หลากหลายพื้นฐานความรู้ รวมถึงบุคคลภายนอก มาร่วมกันสร้างธุรกิจหรือสร้างโครงการร่วมกันเพื่อสร้างนวัตกรรมต่างๆ Makerspace ของมหาวิทยาลัยจะสนันสนุนทั้งด้านการสร้างพัฒนาไอเดีย การสนับสนุนเงินทุน การเชี่อมโยงเครือข่ายมืออาชีพ การให้ใช้อุปกรณ์ทั้ง Hardware และ Software เช่น 3D Printers, 3D Scanners, Laser Cutters, 3D Design Software, Web Hosting รวมไปถึงการมี mentor คอยให้การสนับสนุน และช่วยเหลือเพื่อให้นักศึกษาสามารถนำโครงการที่วางแผนไว้มาสร้างได้สำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม
อ.ธวัชชัย สุขสีดา (อ.ต้นรัก)
รองคณบดีฝ่ายสื่อสารการตลาดและพัฒนาแบรนด์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์