ปั้นเยาวชนพรีเมี่ยม สู่อาชีพเศรษฐกิจ 4.0 (ตอนจบ)

Share:

 


ต่อจากฉบับเดิม ฉบับที่แล้วผมได้นำเสนอเนื้อหาจากการบรรยายเรื่อง “เรื่องอาชีพแห่งอนาคตในยุคดิจิทัล” เพื่อให้เยาวชนได้เห็นแนวทางอาชีพแห่งอนาคตไปแล้ว 3 แนวทาง 1.อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ 2.อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ และ 3.อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในฉบับนี้จะมาขยายต่อครับ

4.อุตสาหกรรมเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ เยาวชนต้องมีความชอบและสนใจเกี่ยวกับการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ ชอบการสำรวจ เก็บข้อมูล ตรวจสอบและวิเคราะห์เกี่ยวกับสภาพสิ่งแวดล้อมต่างๆ

ซึ่งแนวทางอาชีพเศรษฐกิจ 4.0 ได้แก่ เจ้าหน้าที่เทคนิคด้านการเกษตรกรรม นักสัตววิทยา นักโรคพืช นักกีฏวิทยา นักวิเคราะห์สิ่งแวดล้อม นักวิจัย และที่ปรึกษาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม

5.อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร เยาวชนต้องมีความชอบและสนใจเกี่ยวกับอาหารการกิน เทคโนโลยีกาอาหาร จุลชีวิทย ชอบการวางแผนกระบวนการแปรรูปอาหาร ชอบวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร


ซึ่งแนวทางอาชีพเศรษฐกิจ 4.0 ได้แก่ นักวิทยาศาสตร์การอาหาร วิศวกรอาหาร นักวิทยาศาสตร์การอาหาร นักโภชนาการด้านอาหารและผู้จัดการฝ่ายวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์

6.หุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรม เยาวชนต้องมีความชอบและสนใจเกี่ยวกับหุ่นยนต์ ชอบวิเคราะห์และพัฒนาระบบซอฟแวร์ ชอบแก้ไขข้อมูลด้านซอฟแวร์ มีความเชี่ยวชาญในการเขียนโปรแกรม ชอบออกแบบ ทดสอบ ตรวจสอบ กระบวนการการทำระบบซอฟแวร์ มีความด้านภาษอังกฤษ ละเอียดรอบคอบ อดทน

แนวทางอาชีพเศรษฐกิจ 4.0 ได้แก่ วิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ ช่างเทคนิคควบคุมหุ่นยนต์  นักวิทยาศาสตร์วิศวกรซอฟต์แวร์ นักพัฒนาซอฟต์แวร์ โปรแกรมเมอร์ ผู้ออกแบบและวิเคราะห์ระบบและวิศวกรเครือข่ายคอมพิวเตอร์

7.อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ เยาวชนต้องมีความชอบและสนใจเกี่ยวกับเครื่องบิน การสร้างอากาศยาน การซ่อมเครื่องบิน อุปกรณ์ที่เกี่ยวกับการบิน การวางแผนจัดระบบและควบคุมระบบขนส่ง อบการคำนวน คิดค้น วิเคราะห์ สังเคราะห์สถิติและตัวเลข สนใจเทคโนโลยีใหม่ๆ

แนวทางอาชีพเศรษฐกิจ 4.0 ได้แก่ นักบิน แอร์โฮสเตส วิศวกรการบิน ผู้จัดการฝ่ายโลจิสติกส์ วิศวกรเครื่องกลอากาศยาน และวิศวกรขนส่ง

8.อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ เยาวชนต้องมีความชอบและสนใจเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ชีววิทยา เคมีปิโตรเลียม เชื้อเพลิง พลังงานทดแทน เทคโนโลยีชีวภาพ รวมถึงชอบค้นคว้าทอลอง ชอบสังเกต ความคิดสร้างสรรค์

แนวทางอาชีพเศรษฐกิจ 4.0 ได้แก่ นักชีววิทยา นักฟิสิกส์ นักเคมี นักวิจัยปิโตรเคมี นักอินทรีย์เคมีและนักสำรวจพลังงานทดแทน


9.อุตสาหกรรมดิจิทัล เยาวชนต้องมีความชอบและสนใจเกี่ยวกับดิจิทัล ชอบการวางแผนและจัดระบบความปลอดภัยในคอมพิวเตอร์ ระบบฐานข้อมูล ชอบออกแบบโปแกรมประยุกต์บนคอมพิวเตอร์ ชอบคิดค้นและพัฒนาวิธีเพิ่มประสิทธิภาพของระบบคอมพิวเตอร์

แนวทางอาชีพเศรษฐกิจ 4.0 ได้แก่ เว็บมาสเตอร์ นักออกแบบเว็บไซต์ ผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อสารข้อมูลผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยของไอที นักออกแบบและวิเคราะห์ระบบงานคอมพิวเตอร์ วิศวกรฮาร์ดแวร์และนักสื่อสารการตลาดดิจิทัล


10.อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร เยาวชนต้องมีความชอบและสนใจเกี่ยวกับชีวิตมนุษย์ สนใจด้านสุขภาพ ความงาม ชอบวิเคราะห์ วิจัยจากการใช้เทคโนโลยีเกี่ยวกับสุขภาพ มีความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ มีคุณธรรม จริยธรรม และใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย

แนวทางอาชีพเศรษฐกิจ 4.0 ได้แก่ นักเทคนิคการแพทย์ นักกิจกรรมบําบัด นักกายภาพบำบัด แพทย์แผนโบราณ แพทย์บูรณาการความงามและศัลยแพทย์


ทั้งหมดที่กล่าวมานี้คือตัวอย่างการวิเคราะห์แนวทางอาชีพเศรษฐกิจ 4.0 ตามนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจของชาติ 10 กลุ่มอุตสาหกรรมใหม่ (New S-Curve) ซึ่งสุดท้ายแล้วเมื่อเยาวชนมีความรู้ไม่ว่าจะเป็นอาชีพอะไรก็ตาม ขอแค่เยาวชนของเรารู้ตัวเองว่าชอบอะไร ทิศทางกระแสงานในอนาคตไปทางไหน ผมเชื่อว่าเขาจะวางแผนอนาคตของเขาได้เองและสามารถเติบโตประสบความสำเร็จในอนาคตได้ หากเขาไม่หยุดเรียนรู้พัฒนาตนเองพร้อมศึกษาแนวโน้มความเปลี่ยนแปลงของโลกควบคู่กันไปด้วย และผมเชื่อว่าเขาจะเป็นทรัพยากรพรีเมี่ยมของชาติที่สำคัญในการพัฒนาขับเคลื่อนเศรฐกิจของประเทศให้ก้าวไกลไปได้แน่นอน ดังนั้นทุกคนต้องช่วยกันแนะให้แนวสิ่งนี้แก่เยาวชนของเราครับ…..

 

คณบดีคณะนิเทศศาสตร์


.ธวัชชัย สุขสีดา (.ต้นรัก) 
รองคณบดีคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Share:

Leave a reply