ใช้เทคโนโลยีมากเกินไปทำให้ ความจำ คุณเสื่อมลง

Share:
ความจำเสื่อมในยุคดิจิทัล

ใช้เทคโนโลยีมากเกินไปทำให้ความจำคุณเสื่อมลง….

สวัสดีครับ ทุกวันนี้คุณเคยจำอะไรไม่ได้บ้างไหม….ลองนึก..คิด คิด คิด..??? ถ้าจำไม่ได้ ไม่ถือว่าแปลก เนื่องจากการใช้เทคโนโลยีมากเกินไปทำให้พัฒนาการทางสมองเสื่อมลง เพราะคุณใช้แต่สมองซีกซ้ายมากเกินไปในการควบคุมและจดจ่ออยู่แต่หน้าจอและละเลยการใช้สมองซีกขวาในการคิดและจำ ทำให้คุณมีอาการความจำเสื่อมลงในยุคดิจิทัลนี้

ความจำเสื่อมในยุคดิจิทัล (Digital Dementia) หมายถึง ความสามารถในการจำและการเรียนรู้ลดลง มีความจำไม่ดีหรือมีความจำเสื่อมลง อันเนื่องมาจาก การดำเนินชีวิตที่พึ่งพิงเทคโนโลยีมากเกินไป นักประสาทวิทยาศาสตร์ (Neuro scientist) ชาวเยอรมัน ชื่อ แมนเฟรด สพิทเซอร์ (Manfred Spitzer) ตั้งข้อสังเกตว่า การที่คนในยุคดิจิทัลใช้เทคโนโลยีต่างๆ ในการ ดำเนินชีวิตมากเกินไปทำให้ความสามารถของสมองในการสร้างความคิดรวบยอดลดลงทั้งส่งผล ต่อปัญหาความทรงจำ ระยะสั้น แม้แต่ในการใช้คำศัพท์ในการอ่านเขียน ก็ลดลงเพราะต้องใช้อุปกรณ์ช่วยในการค้นหาสิ่งต่างๆ อยู่ตลอดเวลา

ซึ่งลักษณะการใช้เทคโนโลยีของคนยุคดิจิทัลจะมีพฤติกรรมกวาดสายตา เพื่อหาข้อมูลบนหน้าจอแตกต่างจากการกวาดสายตาในการอ่านหนังสือ โดยที่ไม่สนใจที่จะจดจำการสนทนาและการเก็บข้อมูล การตอบคำถามกับผู้อื่นจะใช้ภาษาสั้น แบบที่พิมพ์ในโทรศัพท์ และมักจะหมกมุ่นอยู่กับข้อมูล ไม่ว่าจะในรูปแบบของไลน์ เฟซบุ๊ก อินสตาแกรม ฯลฯ  เมื่อไม่มีมือถือก็จะหงุดหงิด ประหนึ่งว่าอุปกรณ์ เหล่านั้นเป็นอวัยวะที่จำเป็นสำหรับชีวิตไปแล้วขาดไม่ได้ ทั้งความรู้สึกมีอิสระเสรีในการท่องไปในโลกกว้างเสาะหาข้อมูลที่ต้องการได้อย่างไร้ขีดจำกัด ซึ่งบ้างคนก็มักจะหมกมุ่นอยู่เพียงเรื่องเดียว ทำให้ขาดทักษะการเข้าสังคม และขาดความรู้พื้นฐานที่ควรมีโดยไม่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีเหล่านั้น แต่คนยุคดิจิทัลก็มีข้อดีคือการเปลี่ยนความคิดจากสิ่งหนึ่งไปยังอีกสิ่งหนึ่งอยู่ก็สามารถเปลี่ยนสลับไปทำอีกสิ่งหนึ่งได้และกลับมาทำสิ่งเดิมต่อไปได้อีก พูดง่ายๆคือสามารถทำ งานได้หลายอย่างในเวลาเดียวกันแต่ต้องได้รับการฝึกให้มีสมาธิจดจ่อกับงานจนเสร็จได้เป็นอย่างดีก่อน

อย่างไรก็ดีปัญหาสำคัญของการใช้เทคโนโลยีและอุปกรณ์ดิจิทัลมากเกินไปจะส่งผลให้ติดสื่ออุปกรณ์เหล่านั้นไม่ว่าจะเป็นในรูปของโซเชียลมีเดีย เกมต่างๆ การหมกมุ่นอยู่กับโลกออนไลน์ยังส่งผลเสีย ต่อพัฒนาการทางภาษาใช้คำสั้นๆ เพื่อความรวดเร็วจึงมีคำศัพท์แปลกๆ เกิดขึ้นมาก บางครั้งก็มีสัญลักษณ์เฉพาะในการสื่อสาร เมื่อต้องการข้อมูลใดก็จะสืบค้นได้รวดเร็วเพียงแค่ใช้มือสัมผัส ฉะนั้นการจดจำคำศัพท์เรื่องราวที่จะร้อยเรียงให้สละสลวยแทบจะไม่มี พึ่งแต่อุปกรณ์ใช้การค้นหาข้อมูลทำให้หน่วยความจำและการคิดวิเคราะห์แทบจะไม่ได้รับการพัฒนา แน่นอนเทคโนโลยีคือเครื่องมือที่มาช่วยอำนวยความสะดวกให้กับชีวิตดียิ่งแต่ การพึ่งพิงเทคโนโลยีมากเกินไปจนกลายเป็นทุกๆ เรื่องของชีวิตจะทำให้การทำงานของสมองส่วนหน้าลดน้อยลงจากการไม่ได้ใช้ไม่ได้รับการฝึกฝน ศักยภาพในการทำงานจึงลดน้อยลงทำให้การคิดแก้ปัญหาเองทำได้ช้าลง เพราะจำ อะไรไม่ได้สมาธิสั้น คิดไม่ออก เหมือนคนเป็นโรคความจำเสื่อมปัญหาเหล่านี้ของคนรุ่นใหม่เรียกว่า โรคความจำเสื่อมในยุคดิจิทัล (Digital Dementia) ซึ่งเป็นผลจากการใช้เทคโนโลยีมากจนเกินไป ส่งผลให้ความสามารถทางด้านการคิด การเรียนรู้ของสมองจะน้อยลงไปด้วย

ดังนั้นแนวทางปฏิบัติที่ควรตระหนักที่ไม่ให้สมองเสื่อม คือการใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสมเช่นใช้โทรศัพท์เฟซบุ๊ก ไลน์ ฯลฯ อย่างเหมาะสม มีการจำกัดเลา ใช้เมื่อมีความจำเป็น ไม่พร่ำ เพรื่อ จนไร้มารยาทในสังคม การหากิจกรรมอื่นๆมาช่วยเช่น การออกกำลังกาย ฟังเพลง หรือเล่นดนตรีหรืออ่านหนังสื่อ กิจกรรมเหล่านี้จะช่วยพัฒนาทักษะทางสมองและภาษาให้เป็นไปอย่างเหมาะสมและช่วยให้ไม่มีอาการความจำเสื่อมในยุคดิจิทัลได้ครับ 

 

 

คณบดีคณะนิเทศศาสตร์


.ธวัชชัย สุขสีดา (.ต้นรัก) 
รองคณบดีคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

Share: