เสพติดเทคโนโลยี ภัยเงียบทำให้เกิด โรคอ้วนในยุคดิจิทัล
เสพติดเทคโนโลยี ภัยเงียบทำให้เกิด “โรคอ้วนในยุคดิจิทัล“
ปัจจุบันนี้ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของสังคมเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล ส่งผลให้รูปแบบการดำเนินชีวิตเปลี่ยนไป มีกิจกรรมทางกายน้อยลงประกอบกับกระแสบริโภคนิยมทำให้มีโรควิถีชีวิตเกิดขึ้นและแพร่ระบาดไปทั่วโลก หนึ่งในนั้นคือภาวะน้ำหนักเกินหรือที่เรียกว่าโลกอ้วนจากงานวิจัยหนึ่งที่ผมไปอ่านมาเขียนไว้ว่า “โรคความอ้วน” ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำเกิดโรคเรื้อรังและเสียชีวิต ได้แก่ โรคหลอดเลือดหัวใจ อัมพฤกษ์ อัมพาต ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง มะเร็งลำไส้ ข้อเข้าเสื่อมและโรคซึมเศร้า จากการรายงานของกระทรวงสาธารณสุขพบว่า โรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือดเป็นสาเหตุของการเจ็บ ป่วยมากที่สุด โดยสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคดังกล่าวยังคงเป็นผลมาจากโรคอ้วน พฤติกรรมที่เหมาะสมในยุคดิจิทัลที่จะช่วยลดโรคอ้วนและโรคต่างๆได้นั้นควรปฏิบัติดังนี้
1. การหยุดพฤติกรรมการรับประทานอาหารหน้าจอทีวี จอคอมพิวเตอร์ หรือแม้กระทั่งการเล่น สมาร์ทโฟนระหว่างการรับประทานอาหาร เพราะจะทำให้เพลิดเพลินกับการรับประทานอาหารและรับประทานอาหารเกินความต้องการของร่างกายได้
2. หลีกเลี่ยงการนำอุปกรณ์เทคโนโลยีต่าง ๆ อาทิ คอมพิวเตอร์ ทีวี เข้าไปไว้ในห้องนอนเพราะปฏิกิริยาจากแสงสีน้ำเงินบนจอในเวลากลางคืน ส่งผลให้รบกวนการนอนหลับได้ และการนอนไม่พอมีผลให้ฮอร์โมนเกรลิน (ghrelin) ที่ควบคุมความหิวของมนุษย์เพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันจะไปลดฮอร์โมนเลปติน (leptin) ที่ควบคุมความอิ่มที่ชื่อว่า เลปติน (leptin) ทำให้ร่างกายมีความอยากอาหารอยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้สื่อโฆษณาต่าง ๆ เกี่ยวกับอาหารจะกระตุ้นความอยากอาหารอีกด้วย
3. การลดนำ้หนักที่ถูกต้อง คือกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ในแต่ละวัน แต่ไม่จำเป็นต้องกินให้ครบ 5 หมู่ใน 1 มื้อ และควรแบ่งมื้ออาหารโดยการกินครั้งละน้อย ๆ แต่บ่อยครั้งขึ้น ประมาณวันละ 4-5 มื้อ เพื่อเพิ่มอัตราการเผาผลาญในขณะพักซึ่งจะช่วยให้มีการเผาผลาญของร่างกายดีขึ้นช่วยเพิ่มการเผาผลาญไขมันในกายทำให้นำ้หนักที่ลดลงเกิดจากการลดไขมันที่แท้จริง
ดังนั้นแนวทางการป้องกันโรคอ้วนภาวะนำ้หนักเกินและโรคอ้วนเป็นปัญหาสุขภาพที่มีสาเหตุจากพฤติกรรมส่วนบุคคลที่ไม่เหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคดิจิทัลที่มีปัจจัยส่งเสริมต่างๆ ที่จะส่งผลให้เกิดภาวะน้ำาหนักเกินและโรคอ้วนได้ แนวทางการป้องกันภาวะนำ้าหนักเกินและโรคอ้วนในยุคดิจิทัลที่จึงควรเริ่มต้นจากตัวบุคล ที่จะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคและการทำกิจกรรมทางกาย รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสมบนพื้นฐานของความพอดีและพอเพียง เพื่อเป็นแนวทางในป้องกันภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน
อ้างอิงข้อมูลงานวิจัยโรคอ้วนภัยเงียบในยุคดิจิทัล
อ.ธวัชชัย สุขสีดา (อ.ต้นรัก)
รองคณบดีคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์