รู้เท่าทันวาทกรรมทางการสื่อสารของ มิจฉาชีพ เพื่อการหลอกลวงทําธุรกรรมการเงินออนไลน์

Share:
digitalLiteracy วาทกรรมทางการสื่อสารของมิจฉาชีพ

รู้เท่าทันวาทกรรมทางการสื่อสารของมิจฉาชีพ
เพื่อการหลอกลวงทําธุรกรรมการเงินออนไลน์

 

รู้เท่าทันวาทกรรมทางการสื่อสารของ  มิจฉาชีพ เพื่อการหลอกลวงทําธุรกรรมการเงินออนไลน์

รู้เท่าทันวาทกรรมทางการสื่อสารของ มิจฉาชีพ เพื่อการหลอกลวงทําธุรกรรมการเงินออนไลน์

 

ปัจุบันนี้ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีเปรียบเสมือนดาบสองคม มีทั้งประโยชน์ที่มหาศาลและเป็นภัยที่ควรระวังตัว หากใช้แบบผิดๆ หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็อาจเป็นโทษได้  โดยเฉพาะการ นําเทคโนโลยีการสื่อสารทางโทรศัพท์มือถือหรือสมาร์ทโฟนมาใช้ในการหลอกลวงให้ทําธุรกรรมทางการเงินออนไลน์ของพวกมิจฉาชีพ ทุกวันนี้มีข่าวเกี่ยวกับการถูกหลอกลวงและการจับแก็งค์มิจฉาชีพพวกนี้อยู่เสมอๆ แต่ปัจจุบันก็ยังมีเหตุการณ์กรณีถูกหลอกลวงในลักษณะนี้อยู่เป็นประจํา

ประเด็นสำคัญนั้นมากจากการใช้เทคโนโลยีในการสื่อสารด้านมืดหลอกลวงกัน ซึ่งมีสาเหตุของปัญหามาจากวาทกรรมทางการสื่อสารเพื่อการหลอกลวงกันให้ทําธุรกรรมทางการเงินออนไลน์ ผ่านมือถือหรือสมาร์ทโฟน ความน่าเชื่อถือของการส่งสารของพวกมิจฉาชีพโดยส่วนใหญ่มักจะใช้วิธีการสร้างเรื่องราวหรือเหตุการณ์ให้น่าเชื่อ กระตุ้นความต้องการและตอบสนองความต้องการของเหยื่อในด้านผลประโยชน์ ด้านผลตอบแทนที่สูงกว่าและด้านกฎหมาย โดยใช้การพูดหรือใช้วาทกรรมที่ทําให้เหยื่อเห็นภาพในด้านลบ (ผลกระทบ) ภาพในด้านบวก (ผลประโยชน์ ) หากเหยื่อเชื่อและปฏิบัติตาม อันเนื่องมาจากความกลัว ความโลภ อํานาจทางกฎหมาย รวมถึงวัฒนธรรม สังคม เศรษฐกิจส่วนตัวของผู้รับสารหรือเหยื่อนั้นเป็นสิ่งสําคัญที่ส่งผลให้เหยื่อหลงเชื่อกลอุบายของมิจฉาชีพ และเป็นสิ่งที่กําหนดพฤติกรรมในการตัดสินใจทําธุรกรรมทางการเงินออนไลน์ออกไปโดยที่ไม่รู้ตัว 

ดังนั้นสิ่งที่ประชาชนควรต้องระวังตนเองให้ไม่ตกเป็นเหยื่อของการถูกหลอกลวง ประชาชนต้องระมัดระวังในการให้ข้อมูลทางการเงินกับบุคคลที่ไม่รู้จัก หากถูกหลอกลวงให้ทําธุรกรรมทางการเงิน ควรแจ้งความทันที และกล้าที่จะเปิดเผยเรื่องที่ถูกหลอกลวงเพื่อให้เป็นอุทาหรณ์ รวมถึงต้องเป็นคนช่างสังเกตพฤติกรรมของคนที่โทรเข้ามาสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลการเงินของเราและอย่าส่งหลักฐานทางการเงิน เช่น สมุดบัญชี รูปถ่ายบัตรเครดิต เดบิต บัตรประชาชน ให้แก่คนที่ไม่รู้จักโดยเด็ดขาด ที่สำคัญต้องมีสติ มีเหตุผลอยู่บนพื้นฐานของความป็นจริง ไม่หลงเชื่อ ไม่โลภอยากได้ของถูก ของดี ของฟรี หรืออะไรที่ง่ายและดีเกินความเป็นจริงเพราะสุดท้ายคุณอาจเป็นเหยื่อของพวกมิจฉาชีพหลอกลวงเงินทางออนไลน์ก็เป็นได้

 

คณบดีคณะนิเทศศาสตร์

.ธวัชชัย สุขสีดา (.ต้นรัก) 
รองคณบดีคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

Share:

Leave a reply