นำเสนอบทความวิชาการ การสร้างอัตลักษณ์ในสื่อโซเชียลมีเดียของวัยรุ่น ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์กรมหาชน)
วิทยากรนำเสนอบทความวิชาการ
“การสร้างอัตลักษณ์ในสื่อโซเชียลมีเดียของวัยรุ่น”
การสร้างอัตลักษณ์ตัวตนในสังคมโซเชียลมีเดียของวัยรุ่น
Creating identity in social media for teenagers
ธวัชชัย สุขสีดา รองคณบดีฝ่ายสื่อสารการตลาดและพัฒนาแบรนด์
คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
บทคัดย่อ
บทความนี้เป็นการกล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างสื่อโซเชียลมีเดียกับการสร้างอัตลักษณ์ของวัยรุ่น เนื่องจากทุกวันนี้มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย 57 ล้านคน (82% ของประชากรทั้งหมด) โดยเป็นผู้ใช้สื่อโซเชียลมีเดีย 51 ล้านคน ส่วนใหญ่เป็นวัยรุ่นในช่วงอายุ 18-24 ปี ใช้เวลาเฉลี่ย 9 ชั่วโมง 38 นาทีต่อวัน (Hootsuite, 2018) ในการสื่อสารเพื่อสร้างอัตลักษณ์ของตนเองผ่านการใช้สื่อโซเชียลมีเดียโดยเป็นพื้นที่สําหรับติดตามข่าวสารในรูปแบบเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่นํามา
ซึ่งวัยรุ่นสามารถสร้างอัตลักษณ์ของตนเองผ่านทางภาษาที่เข้าใจกันในกลุ่มวัยรุ่นในการใช้สื่อโซเชียลมีเดีย นอกจากนี้วัยรุ่นยังใช้สัญญะต่างๆ เพื่อสร้างอัตลักษณ์ที่สื่อสารกัน เช่น รูปภาพหรือสติกเกอร์เพื่อส่ือ ความหมายให้ผู้ใช้งานได้รับรู้ความหมายหรือเนื้อหาในการแสดงความคิดเห็นโดยสามารถแบ่งอัตลักษณ์ของวัยรุ่นได้ เป็นอัตลักษณ์ส่วนบุคคล อัตลักษณ์ที่บ่งบอกถึงเพศ และอัตลักษณ์ที่บ่งบอกถึงอารมณ์ความรู้สึกโดยที่อำนาจทางอัตลักษณ์ของวัยรุ่นที่ปรากฎมาพร้อมกับสื่อนั้นไม่เพียงแต่ทรงอิทธิพลในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของสารแล้วแต่ยังส่งอิทธิพลของสารนั้นไปยังสภาพแวดล้อมและสังคมที่ใกล้เคียงอยู่ตลอดเวลาและสม่ำเสมอซึ่งวัยรุ่นจะใช้อำนาจที่มีอยู่ในตัวตนในการสร้างอัตลักษณ์นั้นไปในทิศทางใดและให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในความพึงพอใจในสารเหล่านั้นจะขึ้นอยู่กับสังคมเป็นผู้หยิบยื่นและกำหนดให้ในการยอมรับ
โดยในบทความวิชานี้เกี่ยวกับสื่อโซเชียลมีเดียและแนวคิดทางด้านการสร้างอัตลักษณ์ตัวตนของวัยรุ่นซึ่งใช้ทฤษฎีและกรอบแนวคิดของมีแชลฟูโก (Michel Foucault, 1988) มาทำการอธิบายปรากฎการณ์ให้มีความเข้าใจถึงกระบวนการการสร้างอัตลักษณ์เพื่อเชื่อมโยงกับบริบทของสื่อโซเชียลมีเดียในยุคปัจจุบัน โดยผลการวิเคราะห์สรุปได้ว่า “มนุษย์” โดยเฉพาะวัยรุ่นสามารถสร้างอัตลักษณ์ตัวตนในสังคมโซเชียลมีเดียที่ได้จากการค้นหา “วัตถุดิบ” ในร่างกายที่ตัวตนมีมาแล้วแสดงออกในโซเชียลมีเดียเพื่อนำผลสะท้อนกลับมาปรุงแต่งอัตลักษณ์ในการแสดงออกเพื่อให้ได้รับการยอมรับจากสังคมภายใต้วาทกรรมของอำนาจ (Power Discourse) หรือแนวปฏิบัติตามบริบททางสังคมเป็นผู้กำหนดให้
คำสำคัญ : อัตลักษณ์, สื่อโซเชียลมีเดีย, วัยรุ่น
ขอบคุณที่ได้รับการตอบรับให้ได้ไปแบ่งปัน
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์กรมหาชน)