ไม่ตกเป็นเหยื่อ รู้เท่าทันข่าวปลอม (Fake News) บนโลกออนไลน์ 


Share:
ไม่ตกเป็นเหยื่อ ! รู้เท่าทันข่าวปลอม (Fake News) บนโลกออนไลน์ 



สวัสดีครับ ทุกวันนี้สื่อสังคมออนไลน์มีประโยชน์ในการช่วยให้เราสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้ง่ายดายและรวดเร็ว ในการใช้สื่อสังคมออนไลน์ผู้บริโภคข่าวสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อรับทราบความเคลื่อนไหวเหตุการณ์ต่าง ๆ อย่างสูงทั้งนี้อาจเนื่องมาจากว่าในแต่ละวันมีเหตุการณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมายจึงเป็นผลให้แต่ละบุคคลจำเป็นที่จะต้องมีการติดตามหรืออ่านข่าวผ่านสื่อสังคมออนไลน์อย่างเฟซบุ๊ก ซึ่งมีความรวดเร็วในการรายงานข่าวอันจะทำให้บุคคลต่าง ๆ สามารถรับทราบความเคลื่อนไหวของเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที แต่ต่ปัญหาในสังคมที่เกิดขึ้นจากการพึ่งพาสื่อสังคมออนไลน์ในการบริโภคข้อมูลข่าวสารมากจนเกินไปก็คือ การที่คนปักใจเชื่อ ข่าวสารทั่วไป รวมถึงข่าวลือข่าวปลอมต่างๆ บนเฟซบุ๊กถูกนำมาเผยแพร่โดยไม่คำนึงว่าข้อมูลนั้นมีความถูกต้องมากน้อยเพียงใด เพราะข่าวสารบนเฟซบุ๊กนอกจากถูกเผยแพร่โดยสื่อมวลชนกระแสหลักที่หันมาทำเพจเฟซบุ๊กเพื่อเพิ่มช่องทางสื่อสารข่าวให้มากขึ้น ยังมีการเผยแพร่ข่าวสารได้โดยผู้ใช้งานเฟซบุ๊กทั่วไปได้เช่นกัน ดังนั้นผู้ส่งสารจึงสามารถดัดแปลงแก้ไขเนื้อหาก่อนส่งออกไปได้ จนทุกวันนี้มีปัญหาข่าวปลอม (Fake News) ในดลกออนไลน์เกิดขึ้นอย่างมากมาย

ผมจึงขอแนะนำวิธีตรวจสอบและการรู้เท่าทันข่าวปลอม (Fake News) บนโลกออนไลน์ โดยชี้ให้เห็นว่าข่าวปลอมมีลักษณะอย่างไร และข่าวแบบไหนที่น่าจะเป็นข่าวปลอมบน ให้ดังนี้

1. การพาดหัวข่าวจะสะดุดตามากกว่าข่าวทั่วไป เช่นการพาดหัวข่าวที่ใช้เครื่องหมายตกใจ (!) หรือข้อความที่พาดหัวข่าวมีความหวือหวาและไม่น่าเป็นไปได้ ให้สันนิษฐานเลยว่าข่าวนั้นน่าจะเป็นข่าวปลอมครับ

2. สังเกตที่รูปภาพประกอบข่าวว่ามีความเกี่ยวข้องกับข่าวหรือไม่

เช่น ถ้าเป็นข่าวปลอมมักจะประกอบด้วยภาพหรือวิดีโอที่ถูกปรับแต่งให้เวอร์เกินจริง โดยที่รูปภาพนั้นอาจเป็นรูปภาพที่แท้จริง แต่ถูกนำมาปรับแต่ง เปลี่ยนแปลง บริบท ท่าทางให้ต่างจากเดิมไป

3. สังเกตว่ามีที่มาของข่าวมีจริงหรือไม่

เช่น โดยสังเกต URL ของเนื้อหาข่าวนั้น และตรวจสอบข่าวที่พบเห็นว่ามีเนื้อหาข่าวอื่นๆ ที่ถูกนำเสนออยู่บนเว็บไซต์นั้นมากพอน่าเชื่อถือเพียงใด แง่มุมในการนำเสนอข่าว และรายละเอียดติดต่ออื่นๆ ที่ปรากฎบนเว็บไซต์ที่ข่าวนั้นลงว่าน่าเชื่อถือในแหล่งที่มาหรือไม่ คุณอาจต้องระวังเว็บไซต์ปลอมที่บอกว่าเป็นองค์กรข่าวที่ดูน่าเชื่อถือ ซึ่งมักจะใช้วิธีเลียนแบบรูปแบบการจัดหน้าและการใช้ URL ที่มีชื่อเลี่ยนแบบกันตัวอย่างเช่น www.ไทยรัฐ.com กับ www.ไทยเล็ด.com

4. สังเกตถ้าข่าวปลอมวันที่ในข่าวไม่สมเหตุสมผลกันเหตุการณ์

เช่น ข่าวปลอมอาจมีลำดับเหตุการณ์ที่ไม่สมเหตุผลหรือมีการเปลี่ยนแปลงวันที่ของเหตุการณ์ เราจึงควรตรวจสอบข่าวอื่นๆ ประกอบเพื่อดูวันที่ของข่าวเดียวกันจากแหล่งอื่นด้วย

5. สังเกตการสะกดคำผิดและการจัดรูปแบบข่าวที่ดูแปลกๆ

เช่น ถ้าเป็นเว็บไซต์ข่าวปลอมหลายแห่งมักสะกดคำผิดหรือมีการจัดวางรูปแบบที่ดูไม่เป็นมืออาชีพ หากคุณเห็นลักษณะเหล่านี้ควรอ่านข่าวอย่างระมัดระวัง หรือตั้งข้อสงสัยไว้ก่อนว่าข่าวนั้นอาจเป็นข่าวปลอม

6. การรายงานในเนื้อหาข่าวต่างไปจากสำนักข่าวอื่นมากเกิน

เช่น หากไม่มีแหล่งข่าวอื่นที่รายงานข่าวเรื่องเดียวกัน ก็อาจเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าข่าวนั้นอาจเป็นข่าวปลอม ถ้าข่าวนั้นมีการรายงานจากหลายแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือ เป็นกระแสอยู่ ก็เป็นไปได้ว่าข่าวนั้นจะเป็นข่าวจริง

7. มีการอ้างอิงชื่อบุคคลอื่นหรือผู้เชี่ยสชาญที่ไม่มีอยู่จริงในข่าว

ดังนั้นเราควรตรวจสอบแหล่งข้อมูลของผู้เขียนเพื่อยืนยันว่าแหล่งข้อมูลนั้นว่าถูกต้องจริง ซึ่งข่าวที่ไม่มีหลักฐานหรืออ้างอิงผู้เชี่ยวชาญที่ไม่ระบุชื่อเสียงเรียงนาม อาจชี้ให้เห็นว่าข่าวดังกล่าวเป็นข่าวปลอม

ดังนั้นปัญหาข่าวปลอม (Fake News)ที่เราพบเห็นมากมายในโลกดิจิทัลทุกวันนี้ เราในฐานะผู้ที่เสพข่าว เสพตคอนเทนต์ ต้องคอยช่วยกันสอดส่อง เพื่อไม่ให้บรรดาข่าวปลอมทั้งหลายมาสร้างความวุ่นวายให้กับชีวิตเรา เราอาจจะไม่สามารถไปกำจัดที่มาของมันได้ แต่การที่เรารู้วิธีตรวจสอบและรู้เท่าทันข่าวปลอมนั้นก็ช่วยให้เราเตือนตัวเองและคนรอบข้างไม่ให้ตกเป็นเหยื่อในโลกยุคดิจิทัลได้ครับ



อ.ธวัชชัย สุขสีดา (อ.ต้นรัก) 
รองคณบดีคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

รู้เท่าทันข่าวปลอม (Fake News) บนโลกออนไลน์

รู้เท่าทันข่าวปลอม (Fake News) บนโลกออนไลน์

Share:

Leave a reply