เรียนรู้ “ข่าวปลอม” ในยุคสังคมดิจิทัล
ข่าวปลอม หรือ Fake News นั้นเป็นสิ่งที่มาพร้อมกับความแพร่หลายของการใช้อินเทอร์เน็ตและโซเชียลมีเดียในยุคดิจิทัลนี้ ข่าวปลอมมีอิทธิพลสูงต่อความคิดความเชื่อของผู้คนในสังคม และกลายเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงในสังคมไทยในวันนี้ โดยเฉพาะในสถานการณ์ความขัดแย้งแบ่งขั้วทางการเมืองหรือมีการแข่งขันช่วงชิงมวลชนกัน
ข่าวปลอมยังมีแรงจูงใจจากผลประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ เนื่องจากสื่อใหม่ (new media) ที่เป็นช่องทางหลักของข่าวปลอมนั้นมีรายได้หลักมาจากค่าโฆษณา ซึ่งแปรผันตามยอดคลิกอ่าน ยอดกดไลค์หรือแชร์ หากสามารถเพิ่มยอดคลิกหรือยอดแชร์เนื้อหาได้มากเท่าไหร่ก็หมายถึงค่าโฆษณายิ่งเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้นผู้ใช้งานเว็บไซต์หรือสื่อสังคมจึงมักเห็นพาดหัวข่าวที่หวือหวาเร้าใจหรือจงใจปลุกปั่นให้เกิดความไม่สงบสุขในสังคม
ดังนั้นวิธีการเรียนรู้และพิจารณาว่าข่าวใดเป็นข่าวปลอม
1.อย่าเชื่อข่าวที่อ่านเพียงแค่ครั้งแรกที่อ่าน
2.เมื่อได้รับข่าวอย่าเชื่อโดยทันที
3.ถ้าข่าวที่พบเจอไม่มีแหล่งที่มาหรือการอ้างอิง
4.หัวข้อและเนื้อหาของข่าวไม่ตรงกับภาพประกอบ
5.มีผู้คนแสดงความคิดเห็นขัดแย้งกันในข่าว
6.ใช้ภาษาหรือข้อความที่หวือหวาในข่าวเกินจริง
ดังนั้นในโลกดิจทัลที่กำลังเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วแบบนี้ เราจะเสพข้อมูลข่าวสารอะไร ควรรู้จัก “ตั้งข้อสงสัย” ให้อยู่เสมอนะครับ เมื่อเราสงสัยก็จะนำไปสู่การค้นหาคำตอบที่ถูกต้องต่อไปได้และเมื่อเรารู้เราจะไม่ตกเป็นเหยื่อของข่าวปลอมนั้นครับ
อ.ธวัชชัย สุขสีดา (อ.ต้นรัก)
รองคณบดีคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์