การสื่อสารการตลาดในธุรกิจบริการสุขภาพในยุคดิจิทัล
สวัสดีครับ การที่โลกทุกวันนี้มีการเชื่อมโยงสื่อสารกันมากขึ้น ทำให้การเข้าถึงผู้บริโภคไม่เป็นปัญหาอีกต่อไป เป้าหมายสำหรับนักการตลาดทุกวันนี้จึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับการสื่อสารกับผู้บริโภคให้เข้ามามีส่วนร่วม ด้วยขีดความสามารถที่เพิ่มขึ้นในด้านการสื่อสารการตลาดและปฏิสัมพันธ์กับผู้บริโภค การมีส่วนร่วมจึงได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมการตลาดบริการสุขภาพ การเปิดรับสื่อใหม่ๆ ของผู้บริโภคในตลาดบริการสุขภาพ
ซึ่งการเติบโตของโซเซียลเน็ตเวิร์ค (social network) นอกจากจะส่งผลต่อแบรนด์ในด้านความโปร่งใสและจริงใจแล้ว ยังมีผลต่อการวางแผนกลยุทธ์ของแบรนด์ด้วย เพราะผู้บริโภคมีความต้องการและมีพฤติกรรมการบริโภคสื่อใหม่ๆ ที่มีความหลากหลายมากขึ้น ทำให้แบรนด์ไม่สามารถมุ่งเน้นเฉพาะสื่อดั้งเดิมเหมือนแต่ก่อนได้ หากแต่ต้องมีการวิเคราะห์พฤติกรรม
การเปิดรับสื่อแต่ละสื่อของผู้บริโภคเพื่อพิจารณาใช้สื่ออย่างเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย เช่น การสื่อสารการตลาดในสังคมออนไลน์ โซเชียลมีเดีย (social media) ถ่ายทอดแนวคิดด้านการดูแลสุขภาพ โดยเปิดโอกาสให้ผู้บริโภคมีส่วนร่วมในการถ่ายทอดเรื่องราวประสบการณ์ด้านสุขภาพ ซึ่งอาจเป็นการใช้สื่ออย่างใดอย่างหนึ่งหรือสื่อผสมผสานก็ได้ หรือบางครั้งอาจหมายถึงการคิดหาวิธีการหรือนำนวัตกรรมใหม่ๆ เข้ามาใช้เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค และต้องมีการวางแผนสำหรับแต่ละสื่ออย่างเหมาะสมด้วยเพื่อให้เนื้อหาในแต่ละสื่อที่มีความสอดคล้องไปในแนวทางเดียวกันและเกิดประสิทธิผลสูงสุด
ขอแนะนำการใช้กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดในธุรกิจบริการสุขภาพในยุคดิจิทัลนี้ ผู้ประกอบการด้านสุขภาพ (Health entrepreneur)ต้องสร้างให้ผู้ใช้บริการเกิดทัศนคติที่ดีต่อการดูแลสุขภาพและภาพลักษณ์ที่ดีของธุรกิจ โดยผู้ประกอบการด้านสุขภาพควรเลือกใช้กลยุทธ์การสื่อสารการตลาด โดยการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการหรืที่เรียกว่า (IMC Marketing) ด้วยรูปแบบดังนี้
(1) ต้องมีการแนะนำและให้ข้อมูลด้านสุขภาพจากบุคลากรของธุรกิจด้านสุขภาพที่ดำเนินการ
(2) การสื่อสารผ่าน social media นั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องมีเพราะคนส่วนใช้กัน
(3) การตลาดทางตรงผ่านเว็บไซต์ (website) ของด้านสุขภาพก็ต้องมีเพราะสร้างความน่าเชื่อถือ
(4) การประชาสัมพันธ์ด้วยกิจกรรมในชุมชน สำหรับการใช้กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดควรใช้การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคลากรทางของธุรกิจด้านสุชภาพ เช่น การแพทย์ หมอ พยาบาล ให้เกิดสร้างความสัมพันธ์อันดีกับผู้ใช้บริการ จะทำให้เพิ่มการรับรู้ข้อมูลด้านสุขภาพของผู้ใช้บริการ การลดช่องว่างการบริการระหว่างสิ่งที่ลูกค้าคาดหวังและสิ่งที่ผู้บริหารธุรกิจสุขภาพรับรู้ความต้องการของลูกค้า ส่งผลให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจในการใช้บริการ
จากความต้องการของลูกค้า (customer driven) ด้านธุรกิจสุขภาพ นั่นคือต้องสามารถระบุความต้องการและความปรารถนา (need and desires) ของลูกค้าหรือผู้ใช้บริการได้และให้ความสำคัญกับการสื่อสารการตลาดกับลูกค้าเพื่อสร้างสัมพันธภาพในระยะยาว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปรับตัวของธุรกิจบริการสุขภาพในด้านการจัดการรูปแบบการบริการและการสื่อสารการตลาดแบบบูณรณาการผสมสารทั้งด้านออนไลน์และออฟไลน์กับพฤติกรรมผู้บริโภคในยุคปัจจุบันด้วย
อ.ต้นรัก ธวัชชัย สุขสีดา
ที่ปรึกษาการตลาดออนไลน์
ที่ปรึกษาการตลาดดิจิทัล
วิทยาการการตลาดออนไลน์
วิทยากรการตลาดดิจิทัล
อาจารย์สอนการตลาดดิจิทัลและการตลาดออนไลน์
รองคณบดี คณะนิเทศศาสตร์ ม.ธุรกิจบัณฑิตย์