วิธีเตรียมแผนกลยุทธ์การตลาดดิจิทัล
วิธีเตรียมแผนกลยุทธ์การตลาดดิจิทัล
สวัสดีครับจากข่าวการลบ Instagram ‘Like’ และการละเมิดข้อมูลใน Facebook ไปจนถึง TikTok ที่ต่อสู้กับคดีความในจีนที่เกี่ยวข้องกับใครๆก็ตามที่เถียงกันว่าแพลตฟอร์มเหล่านั้นกำลังจะถูกเข้าใจผิดอย่างมาก
ล่าสุดสถิติปี 2019 มีผู้ใช้โซเชียลมีเดียเพิ่มขึ้น 202 ล้านคนโดยเฉลี่ย และมีใช้โซเชียลมีเดียทุก ๆ 6.4 วินาที
ซึ่งแน่นอนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียยังคงเป็นสิ่งที่ผู้คนสนใจและเจ้าของแพลตฟอร์มมีการพัฒนาอยู่เรื่อยๆ
เป็นเรื่องสำคัญที่ธุรกิจจะต้องติดตามเรียนรู้ และมีการวางใช้แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียเหล่านั้นในการแผนกลยุทธ์การตลาดดิจิทัล ดังนั้นการเริ่มเตรียมกลยุทธ์โซเชียลมีเดียสำหรับปี 2020 ที่ธุรกิจควรทำมีดังนี้
1. สร้างวัตถุประสงค์ที่ต้องการบรรลุสำหรับธุรกิจ หมายถึงการกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จของงาน (Key performance indicator) เช่น การวัดผลด้านคุณภาพความถี่ที่ใช้ในการโพสต์ (Post Type and Frequency) ความถี่ จะส่งผลโดยตรงในการสร้างการรับรู้ ยิ่งความถี่ในการโพสต์มีความสม่ำเสมอเท่าไหร่ ผู้ที่ใช้งาน Facebook ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของคุณก็จะมีโอกาสที่ได้เห็นในสิ่งที่คุณโพสต์มากขึ้น ยกตัวอย่างเช่นใน 1 สัปดาห์จะมีการโพสทั้งหมด 4 คอนเทนต์คือ วันจันทร์ พุธ พฤหัสบดี และเสาร์
2. การใช้การตั้งเวลาโพสต์เนื้อหาบนโซเชียลมีเดียของธุรกิจ คือ การวางแผนในการเผยแพร่เนื้อหาล่วงหน้าโดยใช้เครื่องมือในการตั้งเวลา เช่นในการโพสต์ในเฟซบุ๊กจะมีเครื่องมือช่วยในการตั้งค่าการโพสต์ล่วงหน้าได้ เป็นการใช้วิธีตั้งเวลาโพสต์ หรือกำหนดวันเวลาในการเผยแพร่โพสต์แบบตามต้องการ นับเป็นวิธีที่สร้างความสะดวกในการจัดการด้านเนื้อหาในกับการดำเนินการทางการตลาดออนไลน์ให้กับธุรกิจ
3. แน่ใจว่าธุรกิจมีแพลตฟอร์มที่เหมาะสม นั้นหมายถึง ธุรกิจต้องแน่ใจว่าแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่ทางธุรกิจมีนั้นทางธุรกิจมีความรู้ ความเข้าใจในการใช้ และสามรถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าของตนเองได้ดี ซึ่งผู้ดำเนินการจะต้องรู้คุณประโยชน์ของเครื่องมือเหล่านั้น เช่น Facebook เป็นเครื่องมือที่ได้รับความนิยมมากที่สุด สามารถสร้างภาพลักษณ์ให้ธุรกิจได้ โดยสามารถโพสต์อัปเดตเนื้อหาและรูปภาพ สตรีมวิดีโอสด โต้ตอบกับลูกค้า และใช้ประโยชน์จาก Facebook Messenger เพื่อสนทนาแบบเรียลไทม์กับลูกค้าได้ หรือ Instagram เป็นแพลตฟอร์มที่ไว้สำหรับสื่อสารในการแสดงรูปภาพใช้ในการสร้างภาพลักษณ์ของแบรนด์ และเป็นแพลตฟอร์มใช้ประโยชน์จากแฮชแท็ก สร้างโอกาสของผู้มีอิทธิพล และการโฆษณาที่เสียค่าใช้จ่ายเพื่อค้นหาจุดเริ่มต้นของธุรกิจ
4. ตั้งงบประมาณการตลาดโซเชียลมีเดียของธุรกิจ นั้นคือ การกำหนดดูว่าเป้าหมายในแต่ละไตรมาสเป็นอย่างไร เป้าหมายในปี้มีคืออะไร จำนวนผลิตภัณฑ์ จำนวนพนักงานขายหรือช่องทางการจำหน่ายมีความสัมพันธ์กับรายรับและรายจ่ายหรือไม่ ซึ่งธุรกิจขนาดเล็กที่มีรายได้น้อยกว่า 5 ล้านบาท จะจัดสรรงบประมาณด้านการตลาดจากรายรับประมาณ 7-8 % โดยนำมาใช้เป็นต้นทุนในการพัฒนาการตลาดให้กับแบรนด์ เช่น เว็บไซต์ บล็อก โซเชียลมีเดีย การบริการหลังการขายอย่างการรับประกันสินค้า และการส่งเสริมการขาย
5. การคำนึงถึงเวลาในการสร้างและดำเนินการตามแผนกลยุทธ์การตลาดดิจิทัลของธุรกิจ แน่นอนจะต้องมีจุดเริ่มต้นและจุดจบของการวางแผนตามสิ่งที่ตั้งเป้าหมายไว้ โดยมีเวลาเป็นตัวกำหนดในการดำเนินงานในแต่ละช่วงแต่ละขั้นตอนว่าช่วงเวลานี้จะ ใช้กลยุทธ์อะไร เช่น กลยุทธ์ลดแลกแจกแถมทางออนไลน์ กลยุทธ์สมัครสมาชิก vip member online หรือกลยุทธ์ช่วงเวลา เหมือนแคมเปญ “Lazada 11.11 Biggest One Day Sale วันเดียวได้ทุกดีล เป็นกลยุทธ์ที่ใช้เวลามาใช้เป็นจุดขาย
ซึ่งจากที่กล่าวมานั้นการเริ่มเตรียมกลยุทธ์โซเชียลมีเดียของธุรกิจนั้น จะต้องมีการวางแผนจากบนลงล่าง (top-down) : ผู้บริหารระดับสูง -ระดับกลาง-ระดับปฏิบัติ โดยดูจากกระแสหรือเทรนด์ของการทำการตลาดว่าตอนนี้ทิศทางไปทางไหน ใช้กลยุทธ์และวิธีการอย่างไร เพราะทุกวันนี้โลกเปลี่ยน สื่อเปลี่ยนและพฤติกรรมคนเปลี่ยนการวางแผลกลยุทธ์ธ์โซเชียลมีเดียจึงเป็นสิ่งที่ควรทำ