กระบวนการเรียนรู้ทักษะใหม่จาก Reskilling และ Upskilling คือทางรอดในยุคของการเปลี่ยนแปลง

Share:
อ.ต้นรัก วิทยาการที่ปรึกษาการตลาดออนไลน์ กระบวนการเรียนรู้ทักษะใหม่จาก Reskilling และ Upskilling

กระบวนการเรียนรู้ทักษะใหม่จาก Reskilling และ Upskilling คือทางรอดในยุคของการเปลี่ยนแปลง

เนื่องจากความต้องการความสามารถใหม่ ๆ จากพนักงานเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว องค์หรือบริษัททั่วโลกต้องการให้พนักงานมีทักษะที่เพิ่มขึ้นในด้านต่างๆ กระบวนการ reskilling และ upskilling เป็นการเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ ที่ต่างจากเดิม ซึ่งพนักงานที่มีทักษะใหม่ๆ จะสามารถช่วยให้องค์กร บริษัท พัฒนาและสามารถแข่งขันทางธุรกิจในยุคปัจจุบันได้

คงสงสัยว่าทำไมต้องเรียนรู้และเพิ่มทักษะ Upskilling และ Reskilling ด้วย ก็เพราะว่าในปัจจุบันนี้โลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วมากทั้งในด้านเทคโนโลยี เช่น เรื่องปัญญาประดิษฐ์ หรือที่ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า Artificial Intelligence (AI) หรือการเกิดขึ้นของระบบการเรียนรู้ของปัญญาประดิษฐ์ Machine Learning และ ระบบ Automation ซึ่งถูกนำเข้ามาใช้มากขึ้นในหลาย ๆ ภาคส่วนทั้งอุตสาหกรรมหนักและอุตสาหกรรมเบา รวมถึงใน SMEs เพื่อพัฒนาคุณภาพของสินค้าและบริการและที่สำคัญคือถูกนำมาใช้แทนที่แรงงานคน ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่พนักงานหรือคนทั่วไปต้องเรียนรู้ ปรับตัวและพัฒนาทักษะเพิ่มเพื่อให้ทันกับลักษณะงานที่เปลี่ยนไป

โดยความหมายของ Reskilling และ Upskilling คือ Reskilling นั้นคือ กระบวนการเรียนรู้ทักษะใหม่เพื่อที่จะให้เราทำงานที่แตกต่างไปจากเดิมได้ หรือกระบวนการในการฝึกฝนผู้คนเพื่อให้ทำงานที่ต่างไปจากเดิมได้ และ Upskilling นั้นคือ กระบวนในการพัฒนาทักษะให้คนทำงาน ซึ่ง Upskilling จริงมีหมายถึง การให้ความรู้เกี่ยวกับทักษะใหม่หรือทักษะที่สูงขึ้นให้กับพนักงานเพื่อปิดช่องว่างความต่างระหว่างทักษะที่พนักงานมีกับทักษะที่บริษัทต้องการ โดยการอัพสกิลจะเป็นการให้ความรู้อย่างต่อเนื่องเพื่อช่วยพัฒนาทักษะควบคู่ไปกับเส้นทางการทำงานปัจจุบัน พนักงานที่ได้รับการอัพสกิลอาจจะเป็นผู้ที่ทำงานในองค์กรมานานและมีความเข้าใจเชิงลึกเกี่ยวกับเจ้าขององค์กร, วัฒนธรรมองค์กร และลูกค้าขององค์กร

ซึ่งโมเดลรูปแบบกระบวนการเรียนรู้ที่ดีมีประสิทธิภาพด้วยเทคโนโลยีคือ 70:20:10 เป็นสูตรวิเศษสำหรับการเรียนรู้ขององค์กร ที่นักวิจัย Morgan McCall, Micheal M. Lombardo และ Robert A. Eichinger ได้คิดค้นและพัฒนาในช่วงกลางทศวรรษ 1990s ซึ่งได้ผลการสำรวจว่า การเรียนรู้ควรมาจากหลากหลายแหล่งที่ประกอบไปด้วยสูตร 70:20:10 ดังนี้ 70% มาจากงานที่ได้รับมอบหมายที่ท้าทาย (Challenging Assignments) 20% มาจากความสัมพันธ์ที่พัฒนาขึ้น (Developmental Relationships) และ 10% มาจากหลักสูตรฝึกอบรมต่างๆ (Coursework and Training) โดยถ้ามองในสภาพความเป็นจริงของการทำงานแล้วนั้น 70% มาจากเรียนรู้จากปรสบการณ์การทำงานนั้นเอง 20% มาจากการเรียนรู้จากการปฎิสัมพันธ์กับผู้อื่น และ 10% นั้นมาจากการเรียนรู้ด้วยตัวเอง

ดังนั้นจากโมเดลรูปแบบการเรียนรู้ที่ดีมีประสิทธิภาพด้วยเทคโนโลยี สูตร 70:20:10 ที่เกิดขึ้นมานั้นเป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็นที่ทำให้เกิดกระบวนการ Reskilling และ Upskilling เพื่อเพิ่มทักษะให้กับพนักงาน คนทำงานและคนทั่วไป ที่จะต้องปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงและเพิ่มทักษะอยู่ตลอดเวลา ซึ่งทักษะที่เกิดขึ้นอาจจะไม่ใช่ทางเลือกแต่เป็นทางรอดได้ ในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านเทคโนโลยี และ โรคระบาดที่มีอยู่ในขนาดนี้

อ้างอิงข้อมูล
https://talentguard.com/reskilling-upskilling-strategic-response-changing-skill-demands/
https://www.ispringsolutions.com/blog/70-20-10-learning-model

บทความ อปท. นิวส์ หนังสือพิมพ์รายปักษ์ เพื่อการปกครองส่วนท้องถิ่น ได้ถือกำเนิดขึ้นเพื่อพัฒนาประเทศสู่ความเข้มแข็งและมั่นคง. ประเทศไทยได้มีการปฏิรูปการเมืองการปกครองท้องถิ่น 

อ.ต้นรัก วิทยาการที่ปรึกษาการตลาดออนไลน์ กระบวนการเรียนรู้ทักษะใหม่จาก Reskilling และ Upskilling

อ.ต้นรัก วิทยาการที่ปรึกษาการตลาดออนไลน์ กระบวนการเรียนรู้ทักษะใหม่จาก Reskilling และ Upskilling

 

คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ อ.ต้นรัก ธวัชชัย สุขสีดา ที่ปรึกษาการตลาดออนไลน์ ที่ปรึกษาการตลาดดิจิทัล วิทยาการการตลาดออนไลน์ วิทยากรการตลาดดิจิทัล อาจารย์สอนการตลาดดิจิทัลและการตลาดออนไลน์ รองคณบดี คณะนิเทศศาสตร์ ม.ธุรกิจบัณฑิตย์

อ.ธวัชชัย สุขสีดา อ.ต้นรัก รองคณบดีคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ อ.ต้นรัก ธวัชชัย สุขสีดา
ที่ปรึกษาการตลาดออนไลน์
ที่ปรึกษาการตลาดดิจิทัล
วิทยาการการตลาดออนไลน์
วิทยากรการตลาดดิจิทัล
อาจารย์สอนการตลาดดิจิทัลและการตลาดออนไลน์
รองคณบดี คณะนิเทศศาสตร์ ม.ธุรกิจบัณฑิตย์

 

Share:

Leave a reply