ทักษะที่สำคัญของ Digital Literacy ในยุควิถีใหม่ New Normal อ.ต้นรัก ธวัชชัย สุขสีดา
ปัจจุบันโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จากยุคแอนะล็อกไปสู่ยุคดิจิทัล ซึ่งสามารถค้นหาข้อมูลต่างๆ ได้รวดเร็วจากทั่วทุกมุมโลก ทำให้เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีบทบาทในชีวิตของเราในหลาย ๆ ด้านอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งการ ติดต่อสื่อสาร การทำงาน การทำธุรกิจ การทำธุรกรรม การเงิน การธนาคาร การซื้อสินค้า ฯลฯ เราจึงต้องปรับตัวให้ทัน ต่อการเปลี่ยนแปลงในยุควิถีใหม่ New Normal ที่เรากำลังเผชิญอยู่นี้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาเรื่องการปรับตัวจากการเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยี (Culture Shock) และเพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดจากการใช้เทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสม เช่น การสูญเสียความเป็นส่วนตัว ความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน การโจรกรรมข้อมูล การโจมตีทางไซเบอร์ เป็นต้น หากพูดถึงคำว่า Digital Literacy หลายคนอาจเคย ได้ยินคำนี้ แต่ไม่แน่ใจว่าหมายถึงอะไรและมีความสำคัญกับชีวิตของเรายังไง ลองไปทำความเข้าใจกันครับ
Digital Literacy หรือการรู้ดิจิทัล หมายถึง ทักษะความ เข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่มีอยู่ในปัจจุบัน เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ แท็บเล็ต โปรแกรมคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต และสื่อสังคมออนไลน์ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการสื่อสาร การปฏิบัติงาน และการทำงานร่วมกัน หรือ ใช้เพื่อพัฒนากระบวนการทำงาน หรือระบบงานในองค์กร ให้มีความทันสมัยและมีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยทักษะ ต่างๆ นั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการใช้ชีวิตในสังคมยุค ปัจจุบัน ซึ่งเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ที่นับวันจะมีความยุ่งยาก และซับซ้อนมากยิ่งขึ้น แต่ถ้าเราเข้าใจและใช้เทคโนโลยีอย่าง สร้างสรรค์ ใช้ความรู้ด้านไอทีให้ได้มากกว่าแค่ความบันเทิง ก็จะเป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคม ทั้งนี้เพื่อเตรียมความพร้อมก้าวสู่การเป็นประเทศไทยดิจิทัลในยุควิถีใหม่ New Normal ที่เราต้องมีทักษะที่สำคัญของ Digital Literacy ดังนี้
1.การใช้ (Use) คือทักษะและความสามารถในการใช้โปรแกรม คอมพิวเตอร์ เช่น โปรแกรมประมวลผลคำ (Word processor) เว็บเบราว์เซอร์ (Web Browser) อีเมล (e-mail) และเครื่องมือ สื่อสารอื่นๆ ไปสู่เทคนิคขั้นสูงขึ้นสำหรับการเข้าถึงและการใช้ ความรู้ เช่น โปรแกรมที่ช่วยในการสืบค้นข้อมูล หรือ เสิร์ชเอนจิน (Search Engine) และฐานข้อมูลออนไลน์ รวมถึงเทคโนโลยี ที่เกิดใหม่ เช่น Cloud Computing และ Internet of Things (IoT)
2.การเข้าใจ (Understand) คือทักษะที่ทำให้เราเข้าใจบริบทและประเมินสื่อ ดิจิทัล เพื่อให้สามารถตัดสินใจเกี่ยวกับอะไรที่ทำและพบบน โลกออนไลน์ เป็นทักษะที่สำคัญและจำเป็นเมื่อเริ่มเข้าสู่โลกออนไลน์ ทำให้เข้าใจและตระหนักว่าเทคโนโลยีเครือข่ายมี ผลกระทบต่อพฤติกรรม ความเชื่อและความรู้สึกเกี่ยวกับ โลกรอบตัวของเราอย่างไร เราควรพัฒนาทักษะการจัดการ สารสนเทศเพื่อค้นหา ประเมิน และใช้สารสนเทศอย่างมี ประสิทธิภาพเพื่อติดต่อสื่อสาร ประสานงานร่วมมือ และ แก้ไขปัญหา
3.การสร้าง (Create) คือทักษะในการผลิตเนื้อหาและการสื่อสารอย่างมี ประสิทธิภาพผ่านทางสื่อดิจิทัลประเภทต่างๆ การสร้างเนื้อหา ด้วยสื่อดิจิทัลเป็นมากกว่าการรู้วิธีการใช้โปรแกรมประมวล ผลคำหรือการเขียนอีเมล แต่ยังรวมถึงความสามารถในการ ดัดแปลงสื่อสำหรับผู้ชมที่หลากหลาย ความสามารถในการ สร้างและสื่อสารด้วยการใช้ Rich Media เช่น ภาพ วิดีโอ และเสียง ตลอดจนความสามารถในการมีส่วนร่วมกับ Web 2.0 อย่างมีประสิทธิภาพและมีความรับผิดชอบ เช่น การเขียน Blog การแชร์ภาพหรือวิดีโอ รวมถึงการใช้ Social Media รูปแบบต่าง ๆ
ซึ่งตัวอย่างของการพัฒนาทักษะ Digital Literacy
- ในการใช้โปรแกรมสำนักงานสำเร็จรูป ได้แก่ Microsoft Word ในการทำรายงาน Microsoft Excel สำหรับการคำนวณ และ Microsoft Power Point เพื่อการ ทำงาน Presentation ซึ่งเป็นพื้นฐานในการผลิตผลงานใน การเรียนและการทำงาน
- การใช้งานอีเมล เพื่อติดต่อสื่อสาร และรับส่ง จดหมาย รวมถึงไฟล์ประเภทต่างๆ ได้ทุกเวลา
- การใช้งานเว็บเบราว์เซอร์ เพื่อสืบค้นข้อมูล ความรู้ต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วโดยไม่มีขีดจำกัด
สรุปได้ว่าประโยชน์ของ digital literacy สามารถช่วยสร้างสรรค์ตนเองและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในการทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถระบุทางเลือกและตัดสินใจ สามารถบริหารจัดการงานและเวลาได้ดีมากขึ้น และช่วยสร้างสมดุลในชีวิตและการทำงาน มีเครื่องมือช่วยในการเรียนรู้และเติบโตอย่างเหมาะสม โดยถ้าเป็นคนที่มีทักษะ digital literacy จะยอมรับว่ามีความทันสมัย เปิดกว้าง ซึ่งจะช่วยดึงดูดและรักษาคนรุ่นใหม่ที่มีศักยภาพสูง มาทำงานกับองค์กรด้วยหน่วยงานได้รับความเชื่อมั่นและไว้วางใจจากประชาชนและผู้รับบริการมากขึ้น
อ.ตันรัก ธวัชชัย สุขสีดา อาจารย์วิทยากรด้านออนไลน์ดิจิทัล ผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ
บทความหนังสือพิมพ์ อปท.นิวส์ : หนังสือพิมพ์รายปักษ์ เพื่อการปกครองส่วนท้องถิ่น ได้ถือกำเนิดขึ้นเพื่อพัฒนา
ฉบับเดือน 16-31 กรกฎาคม 2564 เรื่อง “ทักษะที่สำคัญของ Digital Literacy ในยุควิถีใหม่ New Normal ”