สร้างคอนเทนต์ยังไงให้ปังบนโซเชียล ด้วยหลักจิตวิทยาของการตลาด Social Proof
สร้างคอนเทนต์ยังไงให้ปังบนโซเชียล ด้วยหลักจิตวิทยาของการตลาด Social Proof
ทุกวันนี้การทำคอนเทนต์สำหรับเหล่าคอนเทนต์ครีเอเตอร์มักจะต้องมาคู่กับการตามเทรนด์โซเชียลอยู่เสมอ ซึ่งการแข่งขันนี้ก็สูงขึ้นเรื่อย ๆ เพราะไม่ว่าใครต่างก็อยากทำคอนเทนต์ที่ถูกพูดถึง หรือเป็นภาพจำทั้งนั้น
‘Social Proof’ หรือหลักจิตวิทยาของการตลาดที่นำเสนอโดย “Robert Cialdini” เรียกกันว่าเป็นหลักการที่แบรนด์มีไว้ใช้เพื่อโน้มน้าวกลุ่มเป้าหมายผ่านสังคมโซเชียลมีเดีย เพราะการทำตามสังคมจะทำให้มนุษย์รู้สึกถูกยอมรับ หรือหากเห็นว่าสังคมกำลังให้ความสนใจกับอะไร ก็ยิ่งมีความอยากรู้อยากเห็นในแบรนด์ด้วยนั่นเอง
หากจะพูดให้เห็นภาพง่าย ๆ ก็เปรียบเสมือนการที่เราเห็นคนในโซเชียล ไม่ว่าจะเป็นดาราคนดัง ผู้คนที่เราติดตามก็อยากใช้อยากมีแบบเขา หรือคนใกล้ตัว เช่น ครอบครัว, เพื่อน แม้กระทั่งคนที่ไม่รู้จักแต่พวกเขาเป็นทั้งนาโนอินฟลู (Nano Influencer) และไมโครอินฟลู (Micro Influencer) ที่ลงคอนเทนต์เกี่ยวกับแบรนด์นั้น ๆ แล้วทำให้เรารู้สึกสนใจหรือการที่เราสนใจจะซื้อของอะไรบางอย่างก็ต้องไปหารีวิวอ่านจากพันทิปหรือไม่ก็ทวิตเตอร์ เพื่อเพิ่มความมั่นใจของแบรนด์ในการตัดสินใจซื้อด้วย ซึ่งแต่ละช่องทางต่างก็มีอิทธิพลในการโน้มน้าวเราทั้งนั้น
ในทางจิตวิทยา ‘Social Proof’ ไม่ใช่แค่การเรียกความสนใจจากกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อแบรนด์เพียงอย่างเดียว แต่ยังทำให้อยากรู้จักกับแบรนด์มากขึ้นด้วยว่าทำไมถึงบูมจนเป็นกระแสในโซเชียลแต่การจะทำให้สังคมโซเชียลสนใจได้ ก็ต้องครีเอทคอนเทนต์ที่ขายได้อย่างน่าสนใจเช่นกัน ทาง RiANMAKER เลยจะนำ ‘Social Proof’ มาประยุกต์ใช้กับการสร้างคอนเทนต์ ดังนี้
1. รู้ว่าเรามีอะไร
ก่อนที่จะขายคอนเทนต์ให้ดึงดูดความสนใจผู้คนจนเกิดโซเชียลอิมแพคได้ ต้องทำความเข้าใจแบรนด์ของเราก่อนว่ามีของอะไรที่น่าโชว์ เพราะถ้ารู้จุดขายหรือจุดเด่นของตัวเองแล้วก็จะทำให้การเล่าเรื่องในคอนเทนต์ง่ายขึ้น
2.เข้าใจแพลตฟอร์มโซเชียล
หลังจากเข้าใจในแบรนด์แล้ว ต้องเข้าใจในแพลตฟอร์มที่จะลงด้วยว่าคอนเทนต์ที่เราอยากขายนั้นมีเหล่าอินฟลูแบบไหนอยู่ เพราะช่องทางที่จะลงก็เปรียบเสมือนอินฟลูที่นำเสนอแบรนด์ของเราให้น่าสนใจ
ช่องทางที่ 1 Facebook : อินฟลูสายรีวิวเล่าเรื่องเป็นพารากราฟ
เป็นแพลตฟอร์มที่คนในโซเชียลชอบอ่านรีวิว และแชร์ความคิดเห็นหรือความรู้สึกของตัวเองในลักษณะบรรยาย ซึ่งคอนเทนต์บนแพลตฟอร์มนี้สามารถใส่รายละเอียดของแบรนด์ได้ดี
ช่องทางที่ 2 อินฟลูสายเล่าเรื่องด้วยภาพ
เป็นแพลตฟอร์มที่จะทำให้คนในโซเชียลรับรู้ถึงรูปแบบ และผลลัพธ์ของแบรนด์มากที่สุด เพราะนำเสนอคอนเทนต์เป็นภาพเคลื่อนไหว ทำให้รู้ว่าแบรนด์มีจุดเด่นที่เป็นเอกลักษณ์ยังไงบ้าง
ช่องทางที่ 3 Instagram อินฟลูสายไลฟ์สไตล์ เล่าเรื่องด้วยความครีเอทีฟ
เป็นแพลตฟอร์มที่แข่งขันกันด้านไลฟ์สไตล์ และใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการนำเสนอแบรนด์ให้แตกต่างบนโลกโซเชียล ซึ่งต้องนำเสนอแบบสั้น กระชับ และทำให้เกิดภาพจำแบรนด์เยอะ ๆ
ช่องทางที่ 4 Twitter อินฟลูสายแฮชแท็ก และคอมมูนิตี้
เป็นแพลตฟอร์มรวมคนที่มีความสนใจคล้ายกันบนโลกโซเชียลมาอยู่ในคอมมูนิตี้ด้วยแฮชแท็ก และหากได้รับความสนใจมากพอจนขึ้นเทรนด์ทวิตเตอร์ได้ แบรนด์นั้นก็จะยิ่งมีกลุ่มเป้าหมายใหม่ ๆ เข้ามามากด้วยเช่นกัน โดยคอนเทนต์ต้องใช้ Copywriter ในการคิดแฮชแท็ก และแคปชั่นให้สะดุดตาจนต้องกดเข้าไปส่อง
ช่องทางที่ 5 อินฟลูสาย Multi-skill
เป็นแพลตฟอร์มที่มาแรงในยุคนี้ โดยจะมีอินฟลูที่ทำคอนเทนต์สำหรับแบรนด์ตามจุดเด่นของช่องแตกต่างกันไป เช่น การถ่ายคลิปทีละสเต็ปเพื่อบอกวิธีใช้, การพูดรีวิวตามความรู้สึก หรือการทำคอนเทนต์ให้มีเรื่องราว (Storytelling) เป็นต้น
1.นำเสนอให้แตกต่าง
การจะทำคอนเทนต์เพื่อนำไปสู่ Social Proof ได้ต้องกล้าที่จะแตกต่าง เพราะก่อนจะมีอินฟลูที่ใช่ ต้องมีคอนเทนต์ที่ทำให้คนชอบก่อน และการเล่าเรื่องต้องเล่าให้ครบจบในสูตรเดียวจนทำให้คนที่ไม่เคยรู้จักแบรนด์มาก่อนเริ่มรู้สึกสนใจได้ ด้วยการนำเสนออกมาในรูปแบบใหม่ ๆ เสมอเพื่อต่อยอดเป็นไวรัลในโซเชียล
2.ติด #แฮชแท็ก เพิ่มคอมมูนิตี้บนโซเชียล
การสร้างแฮชแท็กบนโซเชียลที่พิมพ์ง่าย และจดจำง่าย นอกจากจะช่วยรวมคนที่มีความสนใจในแบรนด์มารวมอยู่ในคอมมูนิตี้เดียวกันแล้ว ยังสามารถตกกลุ่มเป้าหมายใหม่ ๆ ให้เข้ามาส่องได้ภายในที่เดียวด้วย เรียกได้ว่ายิงปืนนัดเดียว ได้นกสองตัวเลยนั่นเอง
จากการประยุกต์ 4 ทริคข้างต้น บ่งบอกได้ว่าพลังโซเชียลสำคัญกับเหล่าคอนเทนต์ครีเอเตอร์ แค่ไหน และความสร้างสรรค์ไม่ควรมีแค่ในคอนเทนต์เพียงอย่างเดียว แต่ต้องสามารถต่อยอดลูกเล่นของคอนเทนต์ไปสู่การนำเสนออย่างสร้างสรรค์ให้คนรู้สึกอยากแชร์ด้วย เพราะนอกจากจะทำให้กลุ่มเป้าหมายเดิมมีความเชื่อมั่นในแบรนด์แล้ว ยังสามารถตกกลุ่มเป้าหมายใหม่ ๆ ได้อีก เพราะคอนเทนต์ยิ่งมีโลกโซเชียลพูดถึงมากเท่าไหร่ คนก็จะยิ่งสนใจมากขึ้นเท่านั้น
ขอบคุณที่มา : Buffer Library