ซื้อของออนไลน์แล้วโดนโกงอย่าตกใจ วิธีได้เงินคืนจากการโกงออนไลน์

Share:
ซื้อของออนไลน์แล้วโดนโกงอย่าตกใจ วิธีได้เงินคืนจากการโกงออนไลน์

ซื้อของออนไลน์แล้วโดนโกงอย่าตกใจ ทำตามวิธีนี้แล้วมีสิทธิ์ได้เงินคืน คนที่ชอบซื้อของออนไลน์บ่อยๆ คงไม่มีใครอยากเจอร้านค้าโกงแน่ๆ แต่ถ้าหากบังเอิญโชคร้ายโดนโกงขึ้นมาต้องทำอย่างไ อาจารย์รวมรูปแบบการโกงพร้อมวิธีรับมือกับการซื้อของออนไลน์แล้วโดนโกงมถ้าซื้อของแล้วของไม่ตรงปกได้เงินคืน ทำตามนี้

ซื้อของออนไลน์แล้วโดนโกงอย่าตกใจ วิธีได้เงินคืนจากการโกงออนไลน์

ซื้อของออนไลน์แล้วโดนโกงอย่าตกใจ วิธีได้เงินคืนจากการโกงออนไลน์

1.ถ่ายรูปของที่ได้รับ พร้อมแคปหน้าจอสินค้าที่สั่ง แล้วส่งไปถามคนขายว่าทำไมจึงส่งของสิ่งนี้มาให้ เพราะเหตุใดจึงไม่ใช่สินค้าตามที่สั่งซื้อ หากร้านค้าไม่ได้ตั้งใจโกง แต่ด้วยความผิดพลาดทางเทคนิคทำให้ส่งของมาผิด ก็จะมีการเจรจาเพื่อส่งสินค้ามาให้ใหม่
2.หากเป็นกรณีที่ร้านค้าตั้งใจโกง มักจะตอบกลับมาในรูปแบบคล้ายๆ กันว่า ของที่เราได้รับเป็นของแถม ส่วนสินค้าที่เราสั่งไปนั้นตอนนี้ของหมดสต๊อก ถ้ายังอยากได้สินค้านี้อยู่ให้เราโอนเงินค่าส่งไปให้เพิ่ม ถ้าเจอแบบนี้ให้ตอบกลับร้านค้าว่าขอเงินคืนเท่านั้น อย่าไปหลงกลโอนเงินให้เป็นอันขาด
3.แคปหน้าจอการสนทนากับร้านค้าไว้เป็นหลักฐาน หากเป็นการซื้อสินค้าผ่านแพลตฟอร์มช็อปปิ้งออนไลน์อย่าง Lazada, Shopee, JD Central จะมีศูนย์บริการไว้รองรับเรื่องร้องเรียนจากลูกค้า ให้เราติดต่อเจ้าหน้าที่พร้อมด้วยหลักฐานสำคัญคือ รูปสินค้าที่สั่งกับของที่ได้รับ และหน้าจอการสนทนากับร้านค้า เพื่อเป็นหลักฐานให้ทางระบบไปเจรจากับร้านค้าและทำการคืนเงินให้เรา แต่ถ้าเป็นการซื้อสินค้าผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์กอย่าง เฟซบุ๊ก อินสตาแกรม ไลน์ ติ๊กต๊อก ให้รวบรวมหลักฐานทั้งหมด ทั้งของที่ส่งมาผิด รูปสินค้าที่สั่ง สลิปการโอนเงิน ชื่อร้านค้าหรือเจ้าของบัญชี ไว้เพื่อดำเนินการแจ้งตำรวจใน

แล้วถ้าโอนเงินแล้วทำเฉย ของก็จะขาย แต่ไลน์ไม่ตอบ
ให้แคปหน้าจอทั้งหมดแล้วปรินต์ออกมา เจอคนขายขี้โกงเราอย่านิ่งเฉย เก็บหลักฐานต่อไปนี้ให้ครบ อย่าให้ขาดดังนี้นะครับ
1.หน้าเว็บไซต์ที่ขายของ รูปโปรไฟล์ของร้านค้า หากไม่มีเว็บไซต์ก็แคปรูปเพจเฟซบุ๊ก อินสตาแกรม ไลน์ ติ๊กต๊อก ของร้านค้ามาให้ครบ
2.ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ เลขที่บัญชีของร้านค้า
3.ข้อความในแชตที่เราพูดคุยกับผู้ขาย ไม่ว่าจะเป็นการสอบถาม สั่งซื้อ ยืนยันการชำระเงิน ฯลฯ
4.หลักฐานการโอนเงินเข้าบัญชี เช่น สลิปโอนเงิน
5.สมุดบัญชีธนาคาร
6.สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของเรา

แล้วไปแจ้งตำรวจเพื่อดำเนินคดีและออกคำสั่ง “อายัดบัญชี” นำหลักฐานทั้งหมดเข้าแจ้งความได้ 2 ทางเลือก ดังนี้

สถานีตำรวจในท้องที่เกิดเหตุ เช่น เหตุเกิดที่บ้านก็แจ้งที่ สน.ใกล้บ้าน ให้เร็วที่สุดหรือภายใน 3 เดือนตั้งแต่วันที่รู้ว่าถูกโกง
หรือเข้าแจ้งความที่กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.) ที่ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ถนนแจ้งวัฒนะ ซึ่งจะมีความสามารถทางด้านเทคโนโลยีในการติดตามหาตัวคนร้ายได้รวดเร็ว อย่าลืมระบุว่าต้องการ “แจ้งความเพื่อดำเนินคดีจนถึงที่สุด” เท่านั้น ไม่ใช่แค่ลงบันทึกประจำวัน พร้อมทั้งให้ตำรวจออกคำสั่งอายัดบัญชีด้วย

และอย่าลืมด้วยว่าต้องติดต่อธนาคารเพื่อทำการอายัดบัญชี โดยเอกสารที่ต้องใช้ ประกอบด้วย
1.ใบแจ้งความ
2.คำสั่งอายัดบัญชี
3.สมุดบัญชีต้นทาง
4.สำเนาบัตรประชาชน
5.หลักฐานที่รวบรวมไว้

เจ้าหน้าที่ธนาคารจะทำการติดต่อเจ้าของบัญชีปลายทาง และแจ้งให้โอนเงินคืน ไม่เช่นนั้นจะเป็นการดำเนินคดี ข้อหาฉ้อโกง ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ตามประมวลกฎหมายอาญา (ยกเว้นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนที่มีเจ้าทุกข์มากกว่า 1 คน)

อย่างไรก็ตาม การจะได้เงินคืนหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับหลายๆ ปัจจัย ทั้งในเรื่องกระบวนการและขั้นตอนของเจ้าหน้าที่ แต่อย่างน้อยการที่เราได้ดำเนินการตามขั้นตอนเหล่านี้ก็ช่วยให้คนผิดไม่ลอยนวล หรือไปทำการหลอกลวงอีก

 

 

 

Share: