ยุทธวิธีการสื่อสารเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นในปัจจุบัน
ยุทธวิธีการสื่อสารเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นในปัจจุบัน
สวัสดีครับสำหรับบทความประจำเดือนนี้การสื่อสารเป็นส่วนหน่ึงของชีวิตและสังคม ซึ่งส่งผลให้ชีวิตและสังคมดํารงอยู่และดําเนินต่อไปได้ เมื่อใดที่ไม่มีการสื่อสาร เมื่อนั้นก็ไม่มีสังคม และในทางตรงกันข้าม หากไม่มีสังคมก็ไม่มีการสื่อสาร นอกจากการสื่อสารและสังคมจะเป็นเสมือนเงาของกันและกันแล้ว การสื่อสารยังถูกนํามาใช้เป็นเครื่องมือเพ่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ก่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้าในด้านต่างๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจการเมืองสังคมวัฒนธรรม ทําให้ประชาชนได้รับข้อมลูข่าวสารที่จําเป็นแก่ การดํารงชีวิตมีความรู้ความเข้าใจถึงความจําเป็นในการพัฒนา จึงถือได้ว่าการสื่อสารเป็นปัจจัยที่สําคัญปัจจัยหนึ่งในการพัฒนาสังคมและพัฒนาท้องถิ่น
ดังนั้นในการพัฒนาท้องถิ่นจึงจําเป็นต้องพึ่งพายุทธวิธีการสื่อสารเพื่อมุ่งสู่การมีเครือข่าย การเรียนรู้ ทั้ง ภายในและภายนอกชุมชน มีกระบวนการเสริมสร้างศักยภาพชุมชน ให้สามารถพัฒนาต่อยอดให้เกิดประโยชน์แก่ชชุมชนในการนําไปสู่การพึ่งตนเองรวมทั้งการสร้างภูมิคุ้มกันให้ชุมชนพร้อมเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงโดยยุทธวิธีการสื่อรเพื่อการพัฒนาท่ีสามารถช่วยให้ประชาชนเกิดการเปลี่ยนแปลงความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรม เพื่อให้ประชาชนสามารถ ปรับเปลี่ยนตัวเองให้เข้ากับการพัฒนาได้ในปัจจุบัน ดังนี้
1.การวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายควรคํานึงถึง ปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคม เช่น งาน อาชีพ อายุเพศ ปัจจัยด้านสังคมและพัฒนธรรม เช่น การนับถือศาสนา ความเชื่อ ปัจจับทางจิตวิทยา เช่น ความต้องการ รสนิยม ความปรารถนาในชีวิต และปัจจัยการสื่อสาร เช่น การรับข่าวสารทางสื่อต่างๆรสนิยมการรับข่าวสาร ช่วงเวลารับข่าวสาร ทัศนคติ ความเชื่อ
2. การออกแบบสาร ควรออกแบบเพื่อการพัฒนาการคิดสร้างสรรค์ วัจนภาษา และอวัจนภาษาท่ีสามารถสื่อความหมาย แนวคิดของการพัฒนาจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสารเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตามวัตถุถประสงค์ของผู้ส่งสาร
3. การใช้สื่อ เมื่อทราบว่ากลุ่มเป้าหมายคือใครแล้วนักสื่อสารต้องหาวิธีการและวางแผนการใช้สื่อที่เหมาะสม สื่อท่ีนํามาใช้ในการพัฒนา ได้แก่ สื่อบุคคล สื่อมวลชน สื่อเฉพาะกิจ ซึ่งในอดีตที่ผ่านมานักสื่อสารจะใช้สื่อเพื่อการพัฒนาโดยเลือกใช้สื่อใดสื่อหน่ึงเท่านั้น จึงทําให้ข้อมลู ข่าวสารเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ไม่ทั่วถึง
4. การมีส่วนร่วมของประชาชน จะต้องให้ประชาชนได้มีโอกาสเข้าร่วมในทุกขั้นตอนของกระบวนการร่วมตัดสินใจ ร่วมปฏิบัติ ร่วม รับผิดชอบในผลการพัฒนาท่ีจะเกิดขึ้น กล่าวคือการมีส่วนร่วมเป็นกระบวนการอย่างหน่ึงในการพัฒนา
กล่าวสรุปการสื่อสารเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น เป็นการนําเอาการสื่อสารทุกรูปแบบมาช่วยส่งเสริมสนับสนุนกระบวนการพัฒนาท้องถิ่น เพื่อทําให้การดําเนินชีวิตของหมู่คน สามารถดํารงอยู่ได้ควบคู่ไปกับการพัฒนาในลักษณะการพัฒนาที่ยังยืน ตลอดจนการสื่อสารมีบทบาทหน้าที่ต่อการพัฒนาท้องถิ่นทั้งการให้ข่าวสาร การชักจูงใจและการให้การศึกษา ซึ่งสามารถนำไปใช้พัฒนาท้องถิ่นได้
อ.ดร.ตันรัก ธวัชชัย สุขสีดา อาจารย์ วิทยากรด้านออนไลน์และที่ปรึกษาด้านดิจิทัล ผู้เชี่ยวชาญการตลาดออนไลน์ ผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ บทความหนังสือพิมพ์ อปท.นิวส์ : หนังสือพิมพ์รายปักษ์ เพื่อการปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อพัฒนาประเทศ สู่ความเข้มแข็งและมั่นคง. ประจำเดือน 1-15 พฤศจิกายน 2565 เรื่อง ยุทธวิธีการสื่อสารเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นในปัจจุบัน