ตามเยาวชนไปเรียนรู้เส้นทางนักวิทย์ทางทะเลรุ่นใหม่ สู่การรักษาสมดุลทุกชีวิตในมหาสมุทร กับค่ายนิเวศวิทยาทางทะเลภาคฤดูร้อนปีที่ 29

Share:
ตามเยาวชนไปเรียนรู้เส้นทางนักวิทย์ทางทะเลรุ่นใหม่ สู่การรักษาสมดุลทุกชีวิตในมหาสมุทร กับค่ายนิเวศวิทยาทางทะเลภาคฤดูร้อนปีที่ 29

ตามเยาวชนไปเรียนรู้เส้นทางนักวิทย์ทางทะเลรุ่นใหม่ สู่การรักษาสมดุลทุกชีวิตในมหาสมุทร กับค่ายนิเวศวิทยาทางทะเลภาคฤดูร้อนปีที่ 29

“กว่าร้อยละ 70 ของโลก คือท้องทะเล และสิ่งมีชีวิตอีกกว่าร้อยละ 80 ล้วนอาศัยอยู่ใต้ท้องมหาสมุทร ดังนั้นโลกใต้ผืนน้ำจึงเปรียบได้ดั่งต้นกำเนิดของทุกชีวิต รวมถึงเป็นแหล่งความมั่นคงทางอาหาร แหล่งกำเนิดเชื้อเพลิงพลังงาน และแหล่งผลิตออกซิเจนที่สำคัญของโลก ทว่า ทะเลที่เราเห็นอยู่ทุกวันนี้กำลังเผชิญภัยคุกคามทางระบบนิเวศมากมาย จึงเป็นหน้าที่ของพวกเราทุกคนที่จะเป็นผู้ปกป้อง ดูแล และฟื้นฟูมหาสมุทร รวมทั้งส่งเสริมพัฒนาบุคลากรรุ่นใหม่ในสาขาวิทยาศาสตร์ทางทะเล เพื่อเป็นกำลังในการขับเคลื่อนการอนุรักษ์ท้องทะเลอย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต ตามแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนที่สากลประเทศให้ความสำคัญ Sustainable development goals โดยเฉพาะ SDG ข้อที่ 14 life below water”

ตามเยาวชนไปเรียนรู้เส้นทางนักวิทย์ทางทะเลรุ่นใหม่ สู่การรักษาสมดุลทุกชีวิตในมหาสมุทร กับค่ายนิเวศวิทยาทางทะเลภาคฤดูร้อนปีที่ 29

ตามเยาวชนไปเรียนรู้เส้นทางนักวิทย์ทางทะเลรุ่นใหม่ สู่การรักษาสมดุลทุกชีวิตในมหาสมุทร กับค่ายนิเวศวิทยาทางทะเลภาคฤดูร้อนปีที่ 29

คำกล่าวของ ผศ.ดร.อมรศักดิ์ สวัสดี ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้ปลุก แรงบันดาลใจเหล่าเยาวชนในโครงการค่ายนิเวศวิทยาทางทะเลภาคฤดูร้อน หรือ Marine Ecology Summer Course ที่ปีนี้ดำเนินการมาถึงครั้งที่ 29 ให้เห็นถึงบทบาทสำคัญในฐานะนักวิทยาศาสตร์ทางทะเลในอนาคต โครงการดังกล่าวจัดขึ้นผ่านความร่วมมือระหว่าง มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และสถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ร่วมกับ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด โดยมุ่งฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและส่งเสริมการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน ผ่านกระบวนการการเรียนรู้วิจัยทางวิทยาศาสตร์ เพื่อเปิดมุมมองในการต่อยอดสายอาชีพของนักศึกษาระดับปริญญาตรี และบัณฑิตศึกษา เพื่อเป็นกำลังสมองที่สำคัญในการสร้างการเปลี่ยนแปลง พัฒนา และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมให้ดียิ่งขึ้นสู่เป้าหมายระดับโลกในการเพิ่มพื้นที่อนุรักษ์ทางทะเลร้อยละ 30 ภายในปี 2573

“ปีนี้เป็นปีที่สองที่เราได้สานต่อโครงการค่ายนิเวศวิทยาทางทะเลในรูปแบบออนไลน์ โดยปีนี้มีนักศึกษาจาก 16มหาวิทยาลัยที่มีการเรียนการสอนทางด้านทะเลหรือด้านที่เกี่ยวข้องในทุกระดับทั้งปริญญาตรี โท และเอก เข้าร่วมถึง 41 คน ซึ่งเรามีมหาวิทยาลัยใหม่ๆ มาร่วมมากขึ้น อีกทั้งยังมีนักศึกษาปริญญาเอกจากประเทศเยอรมันอีกด้วย สะท้อนให้เห็นว่าหลักสูตรนิเวศวิทยาทางทะเลกำลังเป็นที่นิยม ซึ่งเรายังคงพัฒนาทักษะที่จำเป็นได้อย่างเข้มข้นไม่แตกต่างจากการเรียนรู้แบบ On-site”

สานต่อหลักสูตรออนไลน์ เพิ่มโอกาสใหม่ๆ แก่นักวิทย์ทางทะเลในอนาคต

อีกหนึ่งความพิเศษของการปรับรูปแบบเป็นการอบรมแบบออนไลน์คือ ผู้เชี่ยวชาญในวงการวิทยาศาสตร์ทางทะเลระดับประเทศสามารถเข้าร่วมเป็นวิทยากรได้สะดวกขึ้น โดยหัวข้อการเรียนรู้ยังเน้นไปในเรื่องที่อยู่ในกระแสสังคม แปลกใหม่ และทันต่อสถานการณ์ในปัจจุบัน สำหรับไฮไลท์ของโครงการคือการจัด Special Talk ที่ได้เชิญบุคลากรที่มีชื่อเสียงระดับประเทศร่วมถ่ายทอดความรู้ และเปิดโลกของเส้นทางนักวิทยาศาสตร์ทางทะเลในหลากหลายมิติมากขึ้น อาทิ หัวข้อ การถ่ายทอดประสบการณ์การถ่ายภาพทางทะเล ที่สอดคล้องกับการวิจัย และการเล่าเรื่องทางวิทยาศาสตร์ จาก ทีมช่างภาพใต้น้ำมือรางวัลระดับโลก และหัวข้อ เรียนวิทยาศาสตร์ทางทะเล ได้อะไรมากกว่าที่คุณคิด ที่ให้ผู้เข้าร่วมได้เห็นเส้นทางของอาชีพนี้ทั้งในสายวิชาการและสายธุรกิจจากผู้ทำงานจริง

สาธิตภาคปฏิบัติแบบ Virtual เสมือนลงพื้นที่จริง

“ที่หนูชอบที่สุดคือวันที่ออกภาคสนาม ตอนแรกหนูไม่คิดว่าจะมีการออกภาคสนามแบบออนไลน์ด้วย” หรือ น้องไพลิน นักศึกษาชั้นปีที่ 3 จากคณะเทคโนโลยีทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี ได้แลกเปลี่ยนความประทับใจเกี่ยวกับภาคปฏิบัติในรูปแบบออนไลน์ว่า “วิทยากรได้สาธิตการลงพื้นที่ในรูปแบบไลฟ์สด เราก็จะเห็นตั้งแต่การเตรียมตัวที่ศูนย์ การแต่งตัวที่เน้นใส่สีสว่าง การถ่ายรูป และการใช้อุปกรณ์แบบละเอียดมากเหมือนไปสำรวจที่ตรงนั้นจริงๆ ทำให้เห็นกระบวนการทำงานจริงและนำกลับไปใช้ได้ค่ะ”

นำเสนอประเด็นสัมมนาสอดคล้องสถานการณ์โลก ผ่านสายตาเยาวชนรุ่นใหม่

“สำหรับหัวข้อเสวนาหนูได้เลือกเป็นพันธุศาสตร์ประชากร โดยศึกษาความแตกต่างของพันธุศาสตร์ประชากรสัตว์ทะเลฝั่งอันดามัน ทำให้ได้เรียนรู้การนำเอาพันธุศาสตร์มาเป็นเครื่องมือทดสอบและนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ต่อการอนุรักษ์และจัดการทรัพยากร” หรือ น้องดีม นักศึกษาชั้นปีที่ 4 จากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ กล่าวถึงกิจกรรมส่งท้ายที่ได้เปิดพื้นที่ให้ผู้เข้าร่วมโครงการ

โดยประเด็นที่แต่ละกลุ่มเลือกมานำเสนอค่อนข้างน่าสนใจ มีทั้งการประยุกต์ใช้สิ่งที่เรียนรู้จากค่ายมาผสานกับหัวข้อที่กำลังเป็นที่สนใจของคนในสังคม อาทิ หัวข้อสภาวะความเป็น

กรดของมหาสมุทร และซาชิมิปลอดภัยจริงไหม ซึ่งเหล่านักวิทยาศาสตร์ทางทะเลตัวจริงสามารถต่อยอดองค์ความรู้เพื่อสร้างความยั่งยืนให้แก่ทะเลของเราต่อไป

ในฐานะบริษัทผู้อยู่เบื้องหลังโครงการค่ายนิเวศวิทยาทางทะเลภาคฤดูร้อนมากกว่า 20 ปี นางสาวพรสุรีย์ กอนันทา รองประธานกรรมการบริหาร ฝ่ายกิจการองค์กร บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ได้กล่าวถึงโครงการดังกล่าวว่า “เชฟรอนภูมิใจที่ได้ให้การสนับสนุนค่ายนิเวศวิทยาทางทะเลภาคฤดูร้อนอย่างต่อเนื่อง เพื่อวางรากฐานการพัฒนาบุคลากรรุ่นใหม่ในสาขาวิทยาศาสตร์ทางทะเล ตลอดจนพัฒนาขีดความสามารถในการวิจัย และถ่ายทอดเทคโนโลยีทางทะเล สอดรับเจตนารมณ์ในการผลักดันด้านการศึกษาและสร้างความยั่งยืนแก่สิ่งแวดล้อม ซึ่งนับเป็นความภาคภูมิใจของเราที่ได้มีส่วนร่วมในการสนับสนุนกิจกรรมตลอด 29 ปีที่ผ่านมา และยังคงมุ่งมั่นสานต่ออย่างต่อเนื่องในอนาคต”

เส้นทางของนักวิทยาศาสตร์ทางทะเลเป็นอาชีพที่ทำให้ผู้เรียนได้รู้จักและเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติอย่างแท้จริง โดยสำหรับค่ายปีนี้ เป็นอีกครั้งที่ท้องทะเลได้พาเมล็ดพันธุ์เหล่าเยาวชนรุ่นใหม่ไปสู่การเรียนรู้ในสิ่งที่ยิ่งใหญ่เกินกว่าที่เห็นในห้องเรียน พร้อมปลูกจิตสำนึกการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและท้องทะเล เพื่อเปลี่ยนมหาสมุทรที่เรามีให้กลายเป็นมหาสมุทรที่ห้อมล้อมด้วยระบบนิเวศอันอุดมสมบูรณ์ที่เราอยากให้เป็นต่อไป ทั้งนี้ สำหรับบุคคลภายนอกที่สนใจเรียนรู้เกี่ยวกับนิเวศวิทยาทางทะเลและเข้าฟัง Special talk ของโครงการ สามารถติดตามย้อนหลังได้ที่เฟซบุ๊กเพจ Marine Ecology Summer at Phuket

อ.ดร.ต้นรัก ธวัชชัย สุขสีดา อาจารย์การตลาดออนไลน์ ผู้เชี่ยวชาญการตลาดออนไลน์ ผู้เชี่ยวชาญการตลาดดิจิทัล ที่ปรึกษาการตลาด

อ.ดร.ต้นรัก ธวัชชัย สุขสีดา
อาจารย์การตลาดออนไลน์
ผู้เชี่ยวชาญการตลาดออนไลน์ ผู้เชี่ยวชาญการตลาดดิจิทัล
ที่ปรึกษาการตลาด

Share: