ยุคของ “สังคมก้มเงย” บทความหนังสือพิมพ์ อปท.นิวส์ อ.ดร.ต้นรัก ธวัชชัย สุขสีดา

Share:
ยุคของ “สังคมก้มเงย” บทความหนังสือพิมพ์ อปท.นิวส์ อ.ดร.ต้นรัก ธวัชชัย สุขสีดา

ยุคของ “สังคมก้มเงย”

สวัสดีครับทุกท่าน ทุกวันนี้สังคมก้มเงยกำลังระบาดไปท่ัวโลก สังเกตเห็นได้ชัดเลยว่าคนสมัยน้ีไม่ว่าจะข้ึนรถนั่งกินอาหาร เดินตามท้องถนน หรือแม้แต่คุยกับเพื่อนที่นั่งอยู่ข้างกันแท้ ๆ ก็ยังคุยผ่านหน้าจอสี่เหลี่ยม ซึ่งพฤติกรรมเช่นนี้ ทำให้หลาย ๆ คนมีปัญหาสุขภาพจิตตามมาอย่างคาดไม่ถึง จึงมีผลกระทบตามมาในเรื่องต่าง ๆ เช่น สุขภาพกาย-จิต ผลกระทบด้านสังคม ไม่ค่อยรู้เรื่องภายนอก ไม่คุยกับคนรอบข้าง ซึมเศร้าอยู่แต่ในโลกความฝันของตัวเอง แต่ละ คนเอาแต่ก้มหน้าก้มตา อยู่หน้าจอ ผมจึงขอเรียกว่า สังคมก้มเงย เดี๋ยวก็ก้มดูจอ เดี๋ยวก็เงยดูหน้า ไม่มีใครสนใจใคร เอาแต่ก้มหน้าอยู่ที่หน้าจอ เงยเมื่อสะกิดตัว 

สาเหตุที่ทำให้เกิดสังคมก้มเงย คือ เราเห็นว่า เครื่องมือเหล่านี้ ทำให้เราสื่อสารกับคนอื่นได้อย่างง่ายขึ้น ทำให้เราได้รับข้อมูล อะไรบางอย่างได้ง่ายขึ้น สะดวกขึ้น เราก็เลยใช้ แต่ปัญหาคือใช้แล้วเสพติดจนลืมการพูดคุยกับคนในชีวิตจริงไป สิ่งนี้มาจากความสะดวกสบาย มาจากติดสมาร์ทโฟนและติดโซเชี่ยลเน็ตเวิร์ก ซึ่งแนวโน้มจะแย่ลงหรือจะดีขึ้นมันจะเป็นสังคมก้มเงยแบบนี้ต่อไป

แนวทางการแก้ไขผู้ที่ติดสมาร์โฟนในยุค “สังคมก้มเงย” นั้นแม้ว่าข้อมูลทางสื่ออย่างโซเชียลมีเดีย จะดีตรงที่ช่วยให้เราได้อัพเดทข้อมูลข่าวสารของจากทั่วทุกมุมโลก รวมทั้งช่วยให้การติดต่อระหว่างเพื่อนที่ไม่ได้เจอกันนาน ๆ ได้ติดต่อกันอยู่เสมอแม้ไม่ต้องพบหน้า แต่ถ้าติดมากจนนั่งจ้องหน้าจอ ตลอดทั้งวัน หรือแม้กระทั่งเวลาจะไปไหนก็ต้องหยิบโทรศัพท์มือถือมา คอยเช็ดก็คงไม่ไหว เหมือนกัน เพราะมันทำให้คนรอบข้างระอาจากการที่เวลานัดเจอแต่ละที แทนที่จะได้คุยกัน ให้หายคิดถึง กลับต้องมานั่งดูคนเล่นโทรศัพท์แบบนี้ ก่อนที่เพื่อน ๆ จะหายหน้าไปซะหมด ก็มาแก้นิสัยติดโซเชียลมีเดียของ ตัวเองดังต่อไปนี้

1.ต้องยอมรับว่าตัวเองติดโซเชียลมีเดียเป็นอันดับแรกก่อน เป็นคนติดโซเชียลมีเดียจริง ๆ ไม่ใช่ อ้างว่าใคร ๆ เขาก็เล่นกันทุกวันหรือถือเป็นเรื่องปกติ เพราะไม่ได้หมายความว่าต้องไปติดเหมือนอย่างคนอื่นเขา สักหน่อย ดังนั้นถ้ารู้ตัวว่าเป็นคนที่ต้องคอยเข้าเว็บพวกนี้ทุกวัน อย่างน้อยวันละชั่วโมง

2. ต้องเข้าใจว่ามันไม่ได้มีผลกับชีวิตการที่มีตัวตนในโลกออนไลน์ อาจไม่ได้แปลว่า มีชีวิตจริงที่ดีเสมอไป เพราะเพื่อนในโลกออนไลน์เขาอาจไม่ได้เป็นคนที่ช่วยปลอบใจเวลาที่เศร้า เหงา ไม่มีใครเหมือนเพื่อนสนิทที่เจอหน้ากันอยู่ทุกวันก็ได้ นอกจากนี้ พวกเกมทั้งหลาย ที่ทำให้ติดนักหนาก็ไม่ได้ทำให้เงินในกระเป๋าของคนงอกเงยด้วย เหมือนกัน เพราะฉะนั้นเล่นพอประมาณ แล้วเอาเวลาไปทำอย่างอื่นดีกว่า

3. จำกัดเวลาเล่นในเมื่อเลิกไม่ได้ ก็ไม่จำเป็นต้องถึงกับตัดขาดจากเว็บไซต์ แต่เพื่อไม่ให้ติดจนเกินไป ควรจัดเวลาว่า จะเล่นวันละกี่ชั่วโมง โดยค่อย ๆ ลดลงมาเรื่อย ๆ ตามความเหมาะสม เพียงเท่านี้ก็จะไม่ติดอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์หรือมือถือทั้งวัน

4.หางานอดิเรกใหม่ ๆ ทำเพื่อเบนความสนใจของตัวเอง มองหางานอดิเรกใหม่ ๆ มาทำแทนดู โดยจะ ไปเข้าคอร์สเรียนพิเศษสิ่งที่ตัวเองสนใจ หรือจะหันไปออกกำลังกายเล่นกีฬากับเพื่อน ๆ เผื่อจะได้เพื่อนใหม่เพิ่ม และช่วยให้มีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ไปในตัวด้วย

5.อย่าจดจ่อมากนัก คนบางคนก็ทุ่มเทชีวิตจดจ่อกับโซเชียลมีเดีย ชนิดที่ว่าหลังโพสต์รูปอัพเดทสเตตัสไปแล้ว ก็ต้องนั่งเฝ้าอยู่หน้าจอคอมทั้งวัน เพื่อจะได้รู้ว่ามีใครมากดไลค์หรือคอมเม้นท์ให้ตัวเองบ้าง แบบนาทีต่อ นาที ทั้ง ๆที่มันก็ไม่ได้มีผลอะไรกับชีวิต แถมยังทำให้เราไม่รู้ตัวอีกต่างหาก

6.อยู่กับปัจจุบัน อย่าพยายามทาอะไรหลายอย่างพร้อมกัน ในขณะที่คุณอยู่ในที่ประชุมหรือมีการ สนทนากับผู้อื่น และในทุกที่ที่คุณคิดว่าคุณมีส่วนร่วมอยู่ด้วยแม้คุณจะเป็นเพียงแค่ผู้ฟังก็ตาม คุณไม่จาเป็นจะต้อง คอยเช็คโทรศัพท์มือถือทุกครั้งที่มีคนส่งข้อความบางครั้งการเปิด airplane mode หรือการปิดโทรศัพท์ไปเลย อาจเป็นทางออกที่ดีที่สุด

7. มีสติและใจเย็น หากคุณอยู่ในที่สาธารณะและจำเป็นต้องรับโทรศัพท์หากบทสนทนามีแนวโน้มที่จะ ใช้อารมณ์ในการพูดคุยคุณควรใช้สติและใจเย็นๆ อย่าแสดงอารมณ์โกรธเพราะมันไม่เป็นผลดีกับตัวคุณเองและ อาจเป็นการรบกวนผู้อื่นอีกด้วย

8. เปิดโทรศัพท์เป็นระบบสั่น หรือปิดเสียงไปเลยเมื่อคุณต้องเข้าร่วมการประชุมหรืออยู่ในสถานที่ สำคัญต่างๆเช่น วัด โรงเรียน โรงหนัง เพื่อไม่เป็นการรบกวนผู้อื่น

9. หลีกเลี่ยงการตะโกน ควรใช้โทนเสียงปกติเมื่อคุณคุยโทรศัพท์ ผู้คนมักจะพูดเสียงดังกว่าปกติและ มักจะไม่รู้ตัวซะด้วยว่าสร้างความรำคาญให้ผู้อื่น

10. หลบไปคุยที่อื่น ในขณะที่คุณรับประทานอาหารหรืออยู่ในที่ประชุมและจำเป็นต้องรับโทรศัพท์ควร บอกกล่าวให้คนบนโต๊ะทราบก่อนจะลุกออกไปคุยที่อื่น ทางที่ดีคุณควรให้ความสำคัญกับคนที่อยู่ตรงหน้าก่อนเป็นอันดับแรก

11. รับผิดชอบต่อการขับขี่รถยนต์ ไม่ควรรับโทรศัพท์หรือส่งข้อความขณะขับรถ ควรใช้แฮนด์ฟรีเสมอ คุณจะได้มีสมาธิในการขับขี่ เพื่อความปลอดภัยของตัวคุณเองและผู้อื่นบนท้องถนนด้วย

12. เก็บให้พ้นมือบ้าง เมื่อคุณต้องใช้เวลาอันมีค่ากับครอบครัวหรือเพื่อนฝูงบ้าง ควรเก็บโทรศัพท์ของ คุณไว้ให้ห่างตัวบ้างและพยายามไม่ตรวจเช็คโทรศัพท์เกิน 2-3 ครั้งต่อวัน

ดังนั้นสิ่งที่กล่าวนั้น คือแนวทางของคนที่มีนิสัยรติดโซเชียลมีเดียจนทำให้เกิดยุค “สังคมก้มเงย” วิธีปรับแก้ง่ายๆที่ใครๆก็ทำได้ถ้าเคารพสิทธิของผู้อื่น ช่วยกันเสริมสร้างนิสัยและการอยู่ร่วมกันทางสังคม เชื่อว่าจะได้ประโยชน์กลับคืนมาอีกมากมาย และบางทีอาจทำให้นิสัยการติดโทรศัพท์ตลอดเวลาลดน้อยลง จนถึงการเกิดอุบัติเหตุที่อาจไม่คาดคิดไปได้ด้วย ถึงอย่างไรก็ตาม ผู้ใช้สมาร์ทโฟนคงเลี่ยงการใช้ไม่ได้ เนื่องจากต้องการความยอมรับจากสังคมแต่ ควรแบ่งเวลาให้เหมาะสมและรู้ประโยชน์และโทษที่จะไม่ทำร้ายกันในสังคมทุกวันนี้ และนี้คือยุคของ “สังคมเงย” ที่เรากำลังพบเจอ..

อ.ดร.ตันรัก ธวัชชัย สุขสีดา อาจารย์ วิทยากรด้านออนไลน์และที่ปรึกษาด้านดิจิทัล ผู้เชี่ยวชาญการตลาดออนไลน์ ผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ บทความหนังสือพิมพ์ อปท.นิวส์ : หนังสือพิมพ์รายปักษ์ เพื่อการปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อพัฒนาประเทศ สู่ความเข้มแข็งและมั่นคง. ประจำเดือน  1-15 กุมภาพันธ์ 2566 เรื่อง  ยุคของ “สังคมก้มเงย” 

บทความหนังสือพิมพ์ อปท.นิวส์ อ.ดร.ต้นรัก ธวัชชัย สุขสีดา

บทความหนังสือพิมพ์ อปท.นิวส์ อ.ดร.ต้นรัก ธวัชชัย สุขสีดา

 

ยุคของ “สังคมก้มเงย” บทความหนังสือพิมพ์ อปท.นิวส์ อ.ดร.ต้นรัก ธวัชชัย สุขสีดา

ยุคของ “สังคมก้มเงย” บทความหนังสือพิมพ์ อปท.นิวส์ อ.ดร.ต้นรัก ธวัชชัย สุขสีดา

 

 

 

Share: