“ที่ไหน ใครๆ ก็เรียนได้” นักเรียนรู้ตลอดชีวิต
“ที่ไหน ใครๆ ก็เรียนได้” นักเรียนรู้ตลอดชีวิต
การทำงานให้ประสบความสำเร็จ ได้รับการยอมรับจากหัวหน้าและเพื่อนร่วมงานนอกจากความรู้ ความสามารถ และ การมี Soft Skill ที่สำคัญอย่าง ความคิดสร้างสรรค์ การบริหารเวลา หรือการทำงานร่วมกับผู้อื่นแล้ว อีกหนึ่งทักษะที่คุณต้องให้ความสำคัญและทำความรู้จักคือ ทักษะของการเรียนรู้ตลอดชีวิต “Lifelong Learning” ท่ามกลางความรู้ที่เกิดขึ้นใหม่ในทุก ๆ วัน และสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จึงปฏิเสธแนวคิดหรือทักษะนี้ไปไม่ได้เลย และถ้าอยากเป็นนักเรียนรู้ตลอดชีวิต หรือเป็นคนที่มีวิธีคิดแบบ “Lifelong Learning” ต้องทำอย่างไร
ขั้นแรก สิ่งที่เราต้องทำคือการปลดล็อคความคิดของตัวเอง ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่ยังคิดว่า สิ่งที่ตัวเองทำอยู่นั้นดีแล้ว หรือความรู้ที่ตัวเองมีนั้นเพียงพอต่อการทำงาน คุณก็ไม่สามารถก้าวมาเป็นคนที่มีความคิดแบบ “Growth Mindset” ได้ เพราะความคิดแบบ “Growth Mindset” จำเป็นต้องหลุดออกจากพื้นที่ทางความคิดเดิม ๆ เปิดรับความคิดใหม่ ๆ มีความยืดหยุ่น เชื่อในศักยภาพของคนและองค์ความรู้ต่าง ๆ รวมถึงมีวิสัยทัศน์ในการสร้างการพัฒนาทั้งต่อตัวเองและองค์กร การมีแนวคิดแบบ “Growth Mindset” จึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการเป็นนักเรียนรู้ตลอดชีวิตหรือเป็นคนที่มี “Lifelong Learning”
การเรียนรู้มีหลายรูปแบบ โดยในแต่ละรูปแบบก็จะมีเป้าหมายที่แตกต่างกัน แต่สำหรับการเป็นนักเรียนรู้ตลอดชีวิต ก็ต้องเลือกรูปแบบการเรียนรู้ในรูปแบบของตัวเอง (Self-directed learning) เพราะการกำหนดเป้าหมายและวิธีการด้วยตัวเองจะตอบโจทย์ชีวิตของคุณมากที่สุด โดยในการสร้างการเรียนรู้ในรูปแบบตัวเอง คุณจำเป็นต้องวิเคราะห์และพิจารณาตัวเองว่ามีเป้าหมายในการเรียนเพื่ออะไร ใช้ทรัพยากรอะไรบ้างในการเรียนรู้ เช่น ค่าใช้จ่าย อุปกรณ์ต่าง ๆ เราก็ต้องคำนวณ รวมถึงเลือกรูปแบบในการเรียน เช่น เรียนผ่านเวิร์กชอป, คอร์สออนไลน์ หรือหนังสือ องค์ประกอบนี้ก็ต้องวางแผนให้ดี และที่สำคัญที่สุดคือ การเรียนนั้นจะต้องประเมินผลได้ เพราะการประเมินผลจะทำให้รู้ว่า ตัวเรามีศักยภาพมากน้อยแค่ไหนตามเงื่อนไขที่ได้ตั้งไว้
การเป็นนักเรียนรู้ตลอดชีวิต แน่นอนว่าคุณจะไม่อยู่ในกรอบของสถานศึกษาอีกต่อไป ทำให้ไม่มีการปลุกเร้าของคนอื่น ๆ เหมือนกับตอนคุณเป็นนักเรียน นักศึกษา การสร้าง Motivation ให้กับตัวเองจึงเป็นสิ่งจำเป็น และในการสร้างแรงบันดาลใจในการเรียนรู้ที่ดีคือการนำตัวเองไปอยู่ในบรรยากาศของการเรียนรู้ ซึ่งยุคสมัยนี้เปิดกว้างให้กับทุกคนมาก มีงานเสวนา งาน Meet up อยู่หลากหลายงานและสามารถเข้าถึงข่าวสารเหล่านี้ได้ง่าย ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการทำธุรกิจ การออกแบบ การพัฒนาซอฟต์แวร์ ล้วนมีพื้นที่ให้คุณได้แลกเปลี่ยนและกอบโกยความรู้เก็บเข้าตัวเอง แต่ถ้าคุณเป็นคนที่ไม่ชอบพบปะผู้คน การเข้าไปอยู่ในออนไลน์คอมมูนิตี้ตามที่คุณสนใจก็เป็นอีกตัวเลือกที่ดี ซึ่งไม่ว่าจะอยู่ในบรรยากาศแบบไหน สิ่งสำคัญที่คุณต้องคิดไว้ก็คือ คุณกำลังศึกษาสิ่งเหล่านี้ไปเพื่ออะไร
การเรียนรู้ด้วยการลงมือทำ หรือ “Active Learning” เป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่ช่วยพัฒนาศักยภาพของตัวเองอย่างสมบูรณ์แบบ เพราะเป็นการเชื่อมโยงความรู้ที่ได้เคยศึกษามาในอดีตและที่เพิ่งได้เรียน มาประยุกต์ใช้จริงและเห็นถึงองค์ประกอบอื่นในความรู้นั้น ๆ เพื่อนำไปต่อยอดในการทำงานต่อไปได้ แต่สำหรับความรู้ในศาสตร์ที่ลงมือทำได้ยาก อย่าง ประวัติศาสตร์ ปรัชญา เราก็สามารถสร้างการเรียนรู้แบบ Active Leaning กับองค์ความรู้นั้นได้โดยการสร้างการปฏิสัมพันธ์กับความรู้นั้น ๆ เช่น การจดโน้ตเพื่อบันทึก หรือเขียนบทความ วิธีการนี้จึงเป็นอีกวิธีการหนึ่งที่ช่วยให้เราไปถึงเป้าหมายในการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การเป็นนักเรียนรู้ตลอดชีวิต “Lifelong Learning” จึงเป็นวิธีคิดที่ไม่ใช่เรื่องยาก ขอเพียงคุณมีเป้าหมายและตั้งมั่นอยากจะพัฒนาตนเองและองค์กรที่คุณอยู่ คุณจะพบว่า “ตัวคุณเองมีศักยภาพในการเรียนรู้ที่ไม่รู้จบ” ลองเปิดตา เปิดใจ และปรับวิธีคิดใหม่ เพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตไปด้วยกันครับ
และหนึ่งในการเรียนรู็ได้ตลอดชีวิตผมขอแนะสาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช “ที่ไหน ใคร ๆ ก็เรียนได้” กับหลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต แขนงวิชาการสื่อสารดิจิทัล กับนักวิชาการ นักวิชาชีพ ที่มีคุณวุฒิและประสบการณ์ตรงด้านการสื่อสารดิจิทัล การสร้างคอนเทนต์ การเป็นผู้ประกอบการดิจิทัลที่พร้อมให้ความรู้ ประสบการณ์เพื่อสร้างนักนิเทศศาสตร์ อย่างมืออาชีพที่ใคร ๆ ก็เรียนได้ ทุกที่ทุกเวลา ด้วยการเรียนการสอนทางไกลที่พร้อมด้วยสื่อการเรียนการ สอนทุกรูปแบบ และพร้อมด้วยหลักสูตรที่ตอบโจทย์ความต้องการของยุคดิจิทัล ดังนี้
1. หลักสูตรประกาศนียบัตร (1 ปี*)
1.1 หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพนิเทศศาสตร์ (ประกอบด้วยกลุ่มวิชา ได้แก่ ภาพยนตร์ โทรทัศน์ วิทยุกระจายสียง การโฆษณา การประชาสัมพันธ์ วารสารศาสตร์)
1.2 หลักสูตรประกาศนียบัตรนวัตกรรมการสื่อสารสร้างสรรค์ (พลเมืองดิจิทัล)
1.3 หลักสูตรประกาศนียบัตรนวัตกรรมการสื่อสารสร้างสรรค์ (สุขภาวะสร้างสรรค์)
1.4 หลักสูตรประกาศนียบัตรการประกอบกิจการสื่อสารในยุคดิจิทัล
1.5 หลักสูตรประกาศนียบัตรกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดในยุคดิจิทัล
1.6 หลักสูตรประกาศนียบัตรการสื่อสารชุมชน
*ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษาอาจเรียนน้อยกว่า 1 ปี ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขตามมหาวิทยาลัยกำหนด
2. หลักสูตรปริญญาตรี นิเทศศาสตรบัณฑิต (การสื่อสารดิจิทัล)
3. หลักสูตรปริญญาโท
3.1 นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต (นิเทศศาสตร์)
3.2 นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต (นวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น)
4. หลักสูตรปริญญาเอก
4.1 ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (นิเทศศาสตร์)
4.2 ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (นวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น)
ดังนั้นการเรียนรู้ตลอดชีวิตเกิดขึ้นจากตัวคุณต้องการปรับเปลี่ยนตัวเองเพื่อสร้างโอกาส เพราะโลกกําลังก้าวหน้ามากขึ้นทุกวัน วิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีเข้ามามีอิทธิพลต่อสังคม ดังนั้น การศึกษาหาความรู้ไม่มีวันหยุดนิ่ง เราต้อพัฒนาอยู่ตลอดทั้งชีวิตไม่งั้นคุณจะคุยกับเขาไม่รู้เรื่อง
อ.ดร.ตันรัก ธวัชชัย สุขสีดา อาจารย์ วิทยากรด้านออนไลน์และที่ปรึกษาด้านดิจิทัล ผู้เชี่ยวชาญการตลาดออนไลน์ ผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ บทความหนังสือพิมพ์ อปท.นิวส์ : หนังสือพิมพ์รายปักษ์ เพื่อการปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อพัฒนาประเทศ สู่ความเข้มแข็งและมั่นคง. ประจำเดือน 16-28 กุมภาพันธ์ 2566 เรื่อง “ที่ไหน ใครๆ ก็เรียนได้” นักเรียนรู้ตลอดชีวิต