“มารยาทในสังคมดิจิทัล” ที่มนุษย์ในโลกออนไลน์ต้องมี…!

การสื่อสารออนไลน์เข้ามาเป็นส่วนหน่ึงของกิจกรรมในชีวิตประจำวันแบบรอบด้านของคนไทย ท้ังด้านการเรียนรู้ การทำงาน การปฏิสัมพันธ์ทางสังคม และการสร้างสรรค์กิจกรรมต่างๆ โดยการสื่อสาร ออนไลน์เปรียบเสมือนโลกอีกหนึ่งใบท่ีคู่ขนานไปกับโลกจริง หรือโลกออฟไลน์ ผู้ใช้งานแต่ละคนสามารถ สร้างตัวตนได้อย่างหลากหลาย ลักษณะสำคัญของการสื่อสารออนไลน์คือการแบ่งปัน (Share) ข้อมูล ผู้ใช้งาน หลายคนมีความเต็มใจจะเปิดเผยตัวตนและข้อมูลส่วนตัวให้ผู้อื่นได้รับรู้เกี่ยวกับเรื่องราวของตนผ่านโลกออนไลน์ การสื่อสารออนไลน์ช่วยก่อให้เกิดความสัมพันธ์ทางสังคมแบบดิจิทัล (Digital) ท้ังที่มีการปฏิสัมพันธ์แบบ ทางเดียว เช่น การติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลกับคนอื่นๆ ในรูปแบบการขอเป็นเพื่อน (Add friend) หรือการขอติดตามข้อมูลบุคคลอื่น (Follow) สิ่งเหล่าน้ีถือเป็นความสัมพันธ์ที่เกิดข้ึนโดยไม่จำเป็นต้อง พบเจอและรู้จักตัวตนคู่สื่อสารโดยตรง การสื่อสารออนไลน์จึงเป็นเครื่องมือที่ทำให้คนได้สื่อสารกันได้ตลอดเวลา
โดยเงื่อนไขสำคัญประการหนึ่งของการสื่อสารระหว่างบุคคลแม้ว่าจะเป็นการสื่อสารในโลกออนไลน์ท่ีมี อิสระในการใช้งานค่อนข้างมาก แต่ก็ยังมีเงื่อนไขทางสังคมและวัฒนธรรมเป็นตัวกำหนดที่สำคัญ กรอบการกระทำ ประการหนึ่งท่ีแต่ละบุคคลยึดถือแตกต่างกันในการติดต่อสื่อสารนั้น คือ “มารยาทในการสื่อสาร” ซึ่งในมิติทางสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาอาจมองว่า มารยาทถือเป็นขนบธรรมเนียมที่มีแบบแผน บางประการที่กำหนดพฤติกรรมที่ “เหมาะสม” โดยเป็นตัวกลางในการสื่อสารของบุคคล ซึ่งการสื่อสาร ในโลกออนไลน์และโลกออฟไลน์น้ันอาจแบ่งแยกออกจากกันได้ยากเพราะท้ังสองส่วนถือว่าเป็นส่วนหน่ึงของวิถีชีวิตผู้คน อีกทั้งการที่ผู้คนเข้าไปใช้งานสังคมออนไลน์เกิดการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน ทำให้เกิดการเรียนรู้และนำไปสู่การสร้างกติกาแบบแผนใหม่ๆ ในการใช้งานการสื่อสารออนไลน์ด้วย ดังน้ันการทำความเข้าใจเรื่องมารยาทต่าง ๆ จะทำให้เข้าใจในกระบวนการการปฏิสัมพันธ์แบบออนไลน์ของชาวดิจิทัลได้มากยิ่งข้ึน
มารยาทดิจิทัลหรือมารยาทออนไลน์มีรากฐานมาจากข้อกำหนดมารยาทในการใช้ อินเทอร์เน็ตที่มีพัฒนาการมาจากหลายส่วนประกอบกัน โดยภาพรวมมารยาทที่ใช้ในการสื่อสารออนไลน์ จะเป็นมารยาทโดยทั่ว ไปเช่นเดียวกับมารยาทในการสื่อสารและมารยาทในการใช้ชีวิตประจำวันได้ปฎิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ท้ัง มารยาทในโลกออนไลน์มีนัยครอบคลุมถึงกฎ กติกา มารยาท และมาตรฐานทางจริยธรร ซึ่งถือว่าเป็นกรอบการปฏิสัมพันธ์และกำกับดูแลพฤติกรรมของผู้งานใช้อินเทอร์เน็ต โดยระเบียบมารยาทนี้อาจเกิดจากกลุ่มผู้ใช้อินเทอร์เน็ตร่วมกันกำหนด หรืออาจเกิดจากการกำหนดด้วยผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตตั้งกรอบมารยาทขึ้นมา
สำหรับประเทศไทยมีการศึกษาการพัฒนามารยาทของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในโลกดิจิทัล โดยคุณนวรัตน์ คุปตานนท์ พบว่า มารยาทของคนไทยพึงมีเมื่ออยู่ในโลกดิจิทัล
1) การติดต่อสื่อสารกับเครือข่าย ผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ควรใช้ช่ือบัญชีอินเทอร์เน็ตและรหัสผ่านของตนเอง และไม่ให้บุคคลอื่นใช้ช่ือบัญชีและรหัสผ่านของตน
2) ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตไม่ควรแอบอ้างนำผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนและไม่นำเรื่องส่วนตัวของผู้อื่นไปเผยแพร่ ก่อนได้รับอนุญาต
3) ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตไม่ควรนำความลับ เรื่องส่วนตัวของผู้อื่นมาเป็นหัวข้อในการสนทนา หลีกเลี่ยงการใช้ภาษาที่เป็นการดูถูก เหยียดหยาม ศาสนา วัฒนธรรม และความเช่ือของผู้อื่น
4) การใช้อินเทอร์เน็ตควรคำนึงถึงระยะเวลาในการติดต่อเครือข่ายและใช้เวลาในช่วงที่ต้องการใช้งานจริงเท่านั้น
5) การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ในอินเทอร์เน็ต ผู้ใช้งานควรตรวจสอบความถูกต้องและความเป็นจริงของข้อมูลก่อนหลีกเลี่ยงการนำเสนอข้อมูลที่อาจมีผลกระทบต่อบุคคลหรือขัดต่อศีลธรรมและจริยธรรมอันดีงาม
จะเห็นได้ว่าการกำหนดมารยาทการอยู่ในโลกดิจิทัลนั้น การใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์มีลักษณะการนำระเบียบทางสังคม ในสังคมจริงไปใช้ในโลกออนไลน์และมีความพยายามสร้างระเบียบมารยาทใหม่ๆ ตามรูปแบบพฤติกรรม การใช้งานท่ีแสดงออกบนเครือข่ายสังคมออนไลน์เสมอ เช่น มารยาทในการโพสต์ มารยาทการแชต มารยาท ในการส่งต่อข้อความ มารยาทในการแสดงความคิดเห็น (Comment) มารยาทการส่งสติกเกอร์ หรือ การกดถูกใจ เป็นต้น ซึ่งจากข้อกำหนดมารยาทอินเทอร์เน็ตในโลกดิจิทัลนี้ ได้กลายเป็นพื้นฐานสำคัญของข้อกำหนด มารยาทดิจิทัลซึ่งพัฒนาไปตามลักษณะการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบการสื่อสารที่เป็นระบบดิจิทัลในปัจจุบัน
🔴 จากการลงบทความเนื้อหาก่อนหน้านี้ที่ทางผู้เขียนไม่ได้อ้างอิงที่มาของข้อมูลและเครดิตจากผู้เขียนต้นฉบับ ทางผู้เขียนต้องขอโทษและขออภัย มา ณ โอกาสนี้ ซึ่งทางผู้เขียนไม่มีเจตนานำไปใช้แสวงหาผลประโยชน์ทางเชิงพาณิชย์ใด ๆ เพียงแต่ต้องการให้ความรู้แก่ผู้คน ทั้งนี้ทางผู้เขียนขออ้างอิงที่มาของบทความนี้มาจากวารสารวิชาการ กสทช. ประจำปี 2564 เรื่อง มารยาทดิจิทัลและมารยาทในการสื่อสารออนไลน์ที่พลเมืองดิจิทัลไทยควรตระหนัก ของนายฐิตินันทน์ ผิวนิล 🔴
บทความหนังสือพิมพ์ อปท.นิวส์ : หนังสือพิมพ์รายปักษ์ เพื่อการปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อพัฒนาประเทศ สู่ความเข้มแข็งและมั่นคง. ประจำเดือน 1-15 มิถุนายน 2566 เรื่อง โลกยุคดิจิทัลขับเคลื่อนด้วยความเร็ว คอลัมนิสต์ อ.ดร.ต้นรัก ธวัชชัย สุขสีดา บทความหนังสือพิมพ์ อปท.นิวส์


🔴 จากการลงบทความเนื้อหาก่อนหน้านี้ที่ทางผู้เขียนไม่ได้อ้างอิงที่มาของข้อมูลและเครดิตจากผู้เขียนต้นฉบับ ทางผู้เขียนต้องขอโทษและขออภัย มา ณ โอกาสนี้ ซึ่งทางผู้เขียนไม่มีเจตนานำไปใช้แสวงหาผลประโยชน์ทางเชิงพาณิชย์ใด ๆ เพียงแต่ต้องการให้ความรู้แก่ผู้คน ทั้งนี้ทางผู้เขียนขออ้างอิงที่มาของบทความนี้มาจากวารสารวิชาการ กสทช. ประจำปี 2564 เรื่อง มารยาทดิจิทัลและมารยาทในการสื่อสารออนไลน์ที่พลเมืองดิจิทัลไทยควรตระหนัก ของนายฐิตินันทน์ ผิวนิล 🔴