รู้เท่าทันข้อควรปฏิบัติสำหรับการใช้งานเฟซบุ๊กอย่างสร้างสรรค์
รู้เท่าทันข้อควรปฏิบัติสำหรับการใช้งานเฟซบุ๊กอย่างสร้างสรรค์
ในปัจจุบันนี้เฟซบุ๊ก facebook เข้ามามีบทบาทสำคัญกับชีวิตของเรามากขึ้นกว่าแต่ก่อน แทบจะเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเราไปแล้ว แต่ก็ใช่ว่าคุณจะใช้ชีวิตอยู่บนโลกเฟซบุ๊กอยู่คนเดียว เพราะมันยังมีอีกหลานคนที่ใช้ชีวิตอยู่บนนั้นเหมือนกับคุณ และถ้าคุณรู้เท่าไม่ถึงการ คุณอาจจะโพสต์อะไรลงไปแล้วกลับมาทำร้ายตัวเองโดยไม่รู้ตัวก็ได้ ลองมาดูกันดีกว่าว่าอะไรที่ไม่ควรทำบนโลกเฟซบุ๊ก ถึงแม้ในนั้นจะเป็นแหล่งที่ใครๆก็สามารถแสดงความคิดเห็นหรือทำอะไรกันได้อย่างเสรี แต่ก็มีกฎเกณฑ์การใช้งานควบคุมอยู่ด้วยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 ในโลกเฟซบุ๊กนั้นมีใครทราบมั้ยว่า เฟซบุ๊ก ก็มีกฎระเบียบ ข้อปฎิบัติ ข้อห้ามในการใช้งานและการโพสต์ด้วย ซึ่งเค้าใช้มาตรฐานเดียวกันทั่วโลก ผู้ใช้ก็น่าจะทราบดีแต่จะปฎิบัติหรือไม่นั้นไม่ทราบแน่ แต่ที่ผ่านมาผมลองศึกษาและเก็บข้อมูลการใช้งานของตนเอง ไม่ใช่เป็นข้อบังคับกะเกณฑ์อะไร เลยเอามาแชร์กันเกี่ยวกับข้อควรปฏิบัติสำหรับการใช้งานเฟซบุ๊กอย่างสร้างสรรค์ ดังนี้
1. ควรใช้ถ้อยคำสุภาพในการโพสต์ หลีกเลี่ยงการใช้ถ้อยคำหยาบคายระดับรุนแรง คำด่าระดับรุนแรง หากจำเป็นต้องใช้ ควรเปลี่ยนเสียงพยัญชนะหรือใส่จุดแทนพยัญชนะบางตัว เช่น ค..ย ,เ.ี้ย, เป็นต้น
2. ควรใส่ข้อมูลให้แน่ชัดว่าในเฟซบุ๊กเป็นเพศหญิงหรือเพศชาย เพื่อแสดงตัวตนที่ชัดเจน3. เมื่อต้องการขอเป็นเพื่อนกับใครไป ถ้าเค้ารับเป็นเพื่อแล้ว ควรไปแสดงการขอบคุณ ยินดีที่ได้รู้จัก และแนะนำตัวเองกับเค้า หรือแม้แต่คนที่รู้จักกันอยู่แล้วก็ควรเข้าไปทักทายเค้าบ้าง
4. ไม่ควรขอเป็นเพื่อนกับใครสุ่มสี่สุ่มห้า ควรขอเป็นเพื่อนเฉพาะคนที่รู้จักกันมาก่อน หรือคนที่เป็นเพื่อนของเพื่อน หากเขาไม่รับเป็นเพื่อนก็อาจส่งข้อความ (หลังไมค์) ไปแนะนำตัว
5. ไม่ควรแอดเชิญใครไปยังกลุ่ม facebook group ใดๆโดยไม่ถามความสมัครใจของเจ้าตัวก่อน และเมื่อขอเข้ากลุ่มใดและผู้ดูแลกลุ่มอนุมัติแล้วควรเข้าไปขอบคุณ และแนะนำตัว หรือฝากตัวทันที การพูดคุยสนทนาในกลุ่มควรให้เกียรติและเคารพในความเห็นของบุคคลอื่นเพราะเป็นกลุ่มเฉพาะ
7. ไม่ควรแท็ก tag รูป หรือ ข้อความไปยังหน้าเฟซบุ๊ก ของผู้อื่นเพราะจำทำให้เค้ารำคาญใจ หรือถ้าต้องการจะแท็กก็ให้แจ้งเค้าก่อน
8. ไม่ควรอยากรู้เรื่องผู้อื่น สอดรู้สอดเห็นเรื่องส่วนตัว เรื่องงาน เรื่องแฟนหรือเรื่องในครอบครัวของเพื่อนในเฟซบุ๊ก เว้นแต่เจ้าตัวไม่ประสงค์จะปกปิด คุณจัดการได้เต็มที่
9. ไม่ควรส่งคำเชิญหรือคำขอต่าง ๆ เกี่ยวกับเกมส์ไปยังเพื่อนที่ไม่ได้เล่นเกมส์นั้น หรือแม่แต่พวกกิจกรรมที่เค้าไม่ได้สนใจไปให้เค้าเพราะจะสร้างความรำคาญอย่างมาก
10. การกดไลค์ like หรือ ถูกใจ เมื่อคุณชอบ การแสดงความคิดเห็นควรดูกระแสของการแสดงความคิดเห็นนั้นให้ดีเสียก่อน เพราะการแสดงความเห็นต่างสามารถทำได้ แต่ควรระวัง อาจมีพวกเห็นต่างมาถล่มเราก็ได้
11. การแชร์ share หรือ แบ่งปัน link โพสต์รูปภาพ ข้อความหรือคลิปของผู้อื่นควรบอกกล่าวขอแชร์ก่อน หรืออย่างน้อยที่สุดควรกด like ให้เค้าก่อนเพราะบางครั้งเจ้าของโพสต์ต้องการให้รับรู้เฉพาะกลุ่มเพื่อนใน
โปรดระลึกไว้เสมอว่าทุกอย่างในโลกเฟซบุ๊กมี “ขอบเขต” มี “เส้นแบ่ง” การคบกันเป็นเพื่อนนั้นไม่ควร “ล้ำเส้น” กัน ซึ่งข้อควรปฎิบัติที่กล่าวมานี้เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น สรุปแล้วคือ ไม่ว่าจะเป็นโลกเฟซบุ๊กหรือโลกความเป็นจริง เราก็ควรจะรักษามารยาทในการสื่อสารในทางที่ดีไว้ คิดก่อนโพสต์ทุกครั้ง คิดถึงใจเค้าใจเราแล้วสังคมจะเป็นสุข ด้วยความปรารถนาดี
จากบทความ มารยาทในสังคมดิจิทัล คอลัมน์ DigiC ประจำวันที่ 1-15 มิถุนายน 2566 ผู้เขียนประมาทรู้เท่าไม่ถึงการในการคัดลอกเนื้อหาโดยมิได้อ้างอิงที่มาของเนื้อหาทางผู้เขียนขอน้อมรับในความผิดพลาดที่เกิดขึ้นและต้องกราบขอโทษ คุณฐิตินันทน์ ผิวนิล เจ้าของบทความวิจัย เรื่อง มารยาทดิจิทัลและมารยาทในการสื่อสารออนไลน์ที่พลเมืองดิจิทัลไทยควรตระหนัก ในวารสารวิชาการ กสทช. ประจำปี 2564 เป็นอย่างสูง มา ณ ที่นี้
บทความหนังสือพิมพ์ อปท.นิวส์ : หนังสือพิมพ์รายปักษ์ เพื่อการปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อพัฒนาประเทศ สู่ความเข้มแข็งและมั่นคง. โดย อ.ดร.ต้นรัก ธวัชชัย สุขสีดา อาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญการตลาดออนไลน์ดิจิทัล คอลัมนิสต์บทความหนังสือพิมพ์ อปท.นิวส์