มาดีท็อกซ์ดิจิทัลเพื่อชีวิตที่ดีกันเถอะ…

Share:
บทความหนังสือพิมพ์ อปท.นิวส์ : หนังสือพิมพ์รายปักษ์ เพื่อการปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อพัฒนาประเทศ สู่ความเข้มแข็งและมั่นคง. โดย อ.ดร.ต้นรัก ธวัชชัย สุขสีดา อาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญการตลาดออนไลน์ดิจิทัล คอลัมนิสต์บทความหนังสือพิมพ์ อปท.นิวส์

มาดีท็อกซ์ดิจิทัลเพื่อชีวิตที่ดีกันเถอะ…!

ดีท็อกซ์ดิจิทัล หมายถึงช่วงเวลาที่เราเว้นจากการใช้อุปกรณ์เทคโนโลยี เช่น สมาร์ทโฟน โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต และเว็บไซต์โซเชียลมีเดีย เป็นการ “การล้างสารพิษ” จากอุปกรณ์ดิจิทัลมักถูกมองว่าเป็นวิธีหนึ่งในการมุ่งเน้นไปที่ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมในชีวิตจริงโดยไม่มีสิ่งรบกวนสมาธิ อย่างน้อยก็เป็นการชั่วคราวที่เราเว้นว่างจากการอยู่กับอุปกรณ์ดิจิทัลเพื่อลดความเครียดที่เกิดจากการเชื่อมกับโลกดิจิทัลอยู่อย่างต่อเนื่อง


ในโลกดิจิทัลและสังคมดิจิทัลก่อนที่เราจะตัดสินใจว่าการใช้อุปการณ์ดิจิทัลนี้เหมาะกับเราหรือไม่ ให้พิจารณาถึงประโยชน์ที่เป็นไปได้กับเรา การเชื่อมต่อและดื่มด่ำไปกับโลกดิจิทัลเป็นเพียงส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน จากการวิจัยของบริษัท Nielsen พบว่าผู้ใหญ่ชาวอเมริกันโดยเฉลี่ยใช้เวลาประมาณ 11 ชั่วโมงต่อวันในการฟัง ดู อ่าน หรือโต้ตอบกับสื่อในโลกออนไลน์ การใช้อุปกรณ์มากเกินไปเพิ่มความเครียดให้กับชีวิต
ในบางสถานการณ์ เราอาจรู้สึกเหมือนกำลังติดอุปกรณ์ดิจิทัลนั้นอยู่ แม้ว่าการติดเทคโนโลยีจะไม่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการว่าเป็นความผิดปกติ แต่ผู้เชี่ยวชาญหลายคนเชื่อว่าการใช้เทคโนโลยีและอุปกรณ์มากเกินไปแสดงถึงการเสพติดทางดิจิทัลเป็นพฤติกรรมอย่างแท้จริง ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาทางร่างกาย จิตใจ และสังคมได้ ซึ่งสัญญาณที่บ่งบอกว่าเราอาจต้องได้รับการดีท็อกซ์ดิจิทัลกันบ้างเมื่อเราอยู่ในโลกออนไลน์ให้เราลองสังเกตตัวเราดังนี้
1.เรารู้สึกวิตกกังวลหรือเครียดหากหาโทรศัพท์ไม่พบหรือไม่
2.เรารู้สึกว่าจำเป็นต้องตรวจสอบโทรศัพท์ของเราทุกๆ สองสามนาทีหรือไม่
3.เรารู้สึกหดหู่ วิตกกังวล หรือโกรธหลังจากมราเราใช้เวลากับโซเชียลมีเดียหรือไม่
4.เราหมกมุ่นอยู่กับจำนวนไลค์ แสดงความคิดเห็น หรือแชร์ต่อในโพสต์โซเชียลของเราหรือไม่
5.เรากลัวว่าเราจะพลาดบางสิ่งบางอย่างหากเราไม่ตรวจสอบอุปกรณ์ของเราต่อไปหรือไม่
6.เรามักจะพบว่าตัวเรานอนดึกหรือตื่นแต่เช้าเพื่อเล่นโทรศัพท์
7.เรามีปัญหาในการจดจ่อกับสิ่งหนึ่งโดยไม่ต้องตรวจสอบโทรศัพท์ของเราหรือไม่
แล้วถ้าเรามีสัญญานเหมือนข้อหนึ่งข้อใดแล้วเราควรจะทำอย่างไรลองมาดูวิธีการทำดีท็อกซ์ดิจิทัลกันครับ
1.ให้เราจำกัดเวลาที่เราจะให้เทคโนโลยีดิจิทัลในช่วงเวลาของแต่ละวัน เช่น ฟังเพลงจากเพลย์ลิสต์ในแอป ขณะออกกำลังกายเมื่อเสร็จ ลองตั้งโทรศัพท์ให้เป็นโหมดเครื่องบิน airplane mode จะได้ไม่ถูกกวนโดยข้อความหรือการแต้งเตือนจากแอปต่าง ๆ 
2. ตัดสิ่งรบกวนใจโดยเราลองเลือกปิดการแจ้งเตือนแบบพุชบนโทรศัพท์หรือจากแอปโซเชียลมีเดีย เช่น Facebook, Instagram, Twitter, Pinterest และเว็บไซต์ข่าวต่าง ๆ ที่จะส่งการแจ้งเตือนทุกครั้งที่โพสต์ใหม่
3.  เราอาจต้องอดใจใช้อุปกรณ์ดิจิทัลไปสักระยะหนึ่ง ทั้งโทรทัศน์ โทรศัพท์มือถือ และโซเชียลมีเดีย โดยวางแผนว่าเราจะเลือกใช้วันไหนแล้วหยุดใช้วันไหน ในหนึ่งสัปดาห์เราลองเลือกหยุดสักวัน เป็นวันที่ไม่ใช้อุปกรณ์ดิจิทัลเลย หรือถ้าเราจำเป็นต้องใช้เราก็พยายามจำกัดเวลาในการใช้สิ่งนั้น ๆ 


ซึ่งวิธีการดีท็อกซ์ดิจิทัลที่ได้กล่าวไปนั้น บางคนอาจมองว่าง่ายบางคนอาจมองว่ายาก สิ่งที่จะทำให้เราประสบความสำเร็จกับการดีท็อกซ์ดิจิทัลได้ เราต้องหันมาให้ความสัมพันธ์กับคนในครอบครัว เพื่อนและคนใกล้ชิดให้มากกว่าที่จะอยู่กับอุปกรณ์ดิจิทัล วิธีการดีท็อกซ์ดิจิทัลที่ดีคือความสัมพันธ์ตรงหน้า เพราะเป็นการสร้างความสุขอย่างแท้จริงจากการปฎิสัมพันธ์กันด้วยคำพูด น้ำเสียง แววตา ท่าทาง เสียงหัวเราะที่แสดงออกมาซึ่งเป็นยาชั้นดีของชีวิตในโลกดิจิทัลทุกวันนี้เลยครับ การแบ่งปันในบทความนี้เรียบเรียงสรุปและแปลจาก https://www.verywellmind
.com ต้องขอขอบคุณข้อมูลดี ๆ มา ณ ที่นี้ด้วยครับ

บทความหนังสือพิมพ์ อปท.นิวส์ : หนังสือพิมพ์รายปักษ์ เพื่อการปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อพัฒนาประเทศ สู่ความเข้มแข็งและมั่นคง. โดย อ.ดร.ต้นรัก ธวัชชัย สุขสีดา อาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญการตลาดออนไลน์ดิจิทัล คอลัมนิสต์บทความหนังสือพิมพ์ อปท.นิวส์

อ.ดร.ต้นรัก ธวัชชัย สุขสีดา อาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญการตลาดออนไลน์ดิจิทัล คอลัมนิสต์บทความหนังสือพิมพ์ อปท.นิวส์
อ.ดร.ต้นรัก ธวัชชัย สุขสีดา อาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญการตลาดออนไลน์ดิจิทัล คอลัมนิสต์บทความหนังสือพิมพ์ อปท.นิวส์
Share:

Leave a reply