เลือก “ถูก ชีวิตเปลี่ยน” สินค้าชุมชนขายออนไลน์เปลี่ยนชีวิตผู้ประกอบการชุมชน
เลือก “ถูก ชีวิตเปลี่ยน” สินค้าชุมชนขายออนไลน์เปลี่ยนชีวิตผู้ประกอบการชุมชน
จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีซึ่งได้มีการพัฒนาการสื่อสารข้อมูลให้สามารถเข้าถึงผู้คนในปัจจุบัน ได้อย่างทั่วถึงและรวดเร็ว ช่องทางการขายสินค้าในสื่อออนไลน์ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงเพราะง่ายในการสื่อสารระหว่างผู้ซื้อผู้ขาย สามารถสร้างผลตอบแทนที่คุ้มค่าโดยไม่จำเป็นต้องทำการซื้อขายสินค้าผ่านพ่อค้าคนกลางเหมือนแต่ก่อนสามารถเปิด ดําเนินงานได้ตลอดเวลาไม่มีข้อจํากัดเรื่องของเวลาและสถานที่ และทำให้สามารถเข้าถึงลูกค้ากลุ่มเป้าหมายได้โดยตรงและรวดเร็ว
ในฐานะที่เป็นอาจารย์สอน วิทยากรอบรมของหน่วยงานรัฐด้านการตลาดออนไลน์ที่มีโอกาสเดินทางไปอบรมแบ่งความรู็ให้แก่ชุมชนทั่วประเทศ ผมเล็งเห็นว่าควรส่งเสริมผู้ประกอบการชุมชนในการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลให้เกิดประโยชน์กับการค้าขายออนไลน์สินค้าชุมชนของพวกเขา
แต่สิ่งหนึ่งที่ผู้ประกอบการชุมชนหลายคนยังขาดอยู่อย่างมาก เมื่อต้องการเริ่มต้นขายสินค้าชุมชนผ่านออนไลน์คือ หลักในการพิจารณาสินค้าที่จะนำมาขายดังนั้น ในบทความนี้ ผมขออนุญาตแนะนำดังนี้
ผู้ประกอบการชุมชนจะต้องพิจารณาสินค้าและบริการ ที่ตนเองนั้นมีอยู่ว่าเป็นสืนค้าประเภทใด เหมาะสมกับผู้ซื้อกลุ่มใด บรรจุภัณฑ์มีลักษณะเป็นอย่างไร เพื่อสามารถกำหนดแนวทางการขายของตนเองได้ อีกทั้งสิ่งสำ คัญของสินค้าและบริการ คือ การตั้งราคาที่เหมาะสมกับสินค้าและผู้ซื้อ เพื่อสร้างโอกาส ทางการขายให้มากยิ่งขึ้นได้ ตัวอย่าง เช่น คุณลุงแดงทำหน่อไม้ดอง แล้วนำไปขายที่ตลาดใกล้บ้าน โดยบรรจุใส่ถุงมัดยาง ขายโดยไม่ได้ชั่งน้ำหนัก ราคาถุงละ 20 บาท ฉะนั้น ประเภทของสินค้าที่ลุงแดงเป็นผู้ผลิตและจำหน่าย คือประเภท อาหารแปรรูป ซึ่งมีคุณสมบัติ เก็บรักษาหน่อไม้ให้สามารถรับประทานได้นาน ดังนั้น บรรจุภัณฑ์จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง
ฉะนั้น ลุงแดง ขายสินค้ำสำหรับบริโภค วัตถุดิบหลัก คือ หน่อไม้ และบรรจุภัณฑ์หลัก คือ ถุง โดยจากกรณีตัวอย่าง ของลุงแดงนั้น จะต้องพิจารณาสิ่งต่าง ๆ ต่อไปนี้ เพื่อให้สามารถนำสินค้าเข้าสู่ร้านค้าออนไลน์ได้ ด้วยการสร้างข้อมูลของสินค้า ประกอบด้วย ชื่อสินค้า คุณลักษณะสินค้า ส่วนผสม ราคา จุดเด่นของสินค้า รวมทั้งประเภทสินค้า เพื่อจัดกลุ่มสำหรับการจัดจำหน่ายบนช่องทางออนไลน์ได้
ดังนั้น ผู้ประกอบการชุมชนจะต้องพิจารณาสินค้าของตนเอง หากพัฒนาสินค้า บรรจุภัณฑ์แล้ว จะทำให้มีโอกาสทางการขายให้มากยิ่งขึ้น เช่น ลุงแดงต้องศึกษาและปรับปรุงสินค้า ออกแบบ ตราสัญลักษณ์ของสินค้าและบรรจุภัณฑ์ใหม่ เพื่อให้สินค้ามีความเหมาะสมกับการจำหน่ายสินค้าแบบออนไลน์
นอกจากการปรับปรุงสินค้าและบริการที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพแล้ว ผู้ประกอบการชุมชนจะต้องส่ง สินค้าเข้าสู่ตลาดออนไลน์ และขายสินค้าให้กับผู้บริโภคได้ ผู้ประกอบการชุมชนจึงจะต้องพิจารณาคุณสมบัติ ของสินค้าตามหลักการพิจารณาสินค้า โดยผมอ้างอิงจากคู่มือสำหรับวิทยากร E-Commerce ชุมชน จากสำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ดังนี้ครับ
ถ้าเป็นสินค้าอุปโภคบริโภค (Consumer product) เป็นสินค้าที่ใช้รับประทาน หรือสำหรับร่างกาย โดยจจำแนกออกเป็นกลุ่มดังนี้ สินค้าสะดวกซื้อ สินค้าเลือกซื้อ สินค้าเจาะจงซื้อ และสินค้าไม่แสวงซื้อ ซึ่งแสดงคำ อธิบายความถี่ของโอกาสในการซื้อของลูกค้าและระดับราคาที่เหมาะสม
1. สินค้าสะดวกซื้อ หมายถึง สินค้าหรือบริการที่ผู้บริโภคจะต้องซื้อบ่อยครั้ง โดยเป็นสินค้าที่ใช้ใน ชีวิตประจำวันทุกวัน เช่น ผัก ผลไม้ อาหารแปรรูป สบู่ ยาสระผม ยาสีฟัน ฯลฯ โดยมีความถี่ของการซื้อ สินค้าเป็นจำนวนมากต่อวัน และระดับราคาที่ขายได้อยู่ในระดับราคาต่ำ-ปานกลาง
2. สินค้าเลือกซื้อ หมายถึง สินค้าหรือบริการที่ผู้บริโภคต้องมีการเปรียบเทียบคุณสมบัติด้านต่าง ๆ จากผู้ขายหลายรายก่อนซื้อ เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า อาหารเสริม สินค้าบำรุงร่างกาย ฯลฯ โดยมีความถี่ของการซื้อ ซื้อสินค้าระดับปานกลาง และระดับราคาที่ขายได้อยู่ในระดับราคาปานกลาง-สูง
3. สินค้าเจาะจงซื้อ เป็นสินค้าหรือบริการที่มีลักษณะเป็นเอกลักษณ์ หรือมีตราที่มีชื่อเสียง ซึ่งเป็นเหตุให้ผู้ซื้อเต็มใจที่จะซื้อสินค้านั้น เช่น โทรศัพท์สมาร์ทโฟน สินค้าแบรนด์เนม สินค้าประจำตำบล เครื่องนุ่งห่มที่มีเอกลักษณ์ โดยมีความถี่ของการซื้อ สินค้าระดับปานกลาง และระดับราคาที่ขายได้อยู่ใน ระดับราคาปานกลาง-สูง
4. สินค้าไม่แสวงซื้อ เป็นสินค้าหรือบริการที่ผู้บริโภคอาจรู้จักหรือไม่รู้จักก็ได้ แต่ไม่เคยคิดที่จะซื้อ มีลักษณะ 2 ประการคือ (1) เป็นสินค้าใหม่ที่ผู้บริโภคยังไม่รู้จัก (2) สินค้าซึ่งผู้บริโภคไม่มีความต้องการ โดยสินค้าประเภทนี้จะมีลักษณะเฉพาะ โดยมีความถี่ของการซื้อระดับต่ำและระดับราคาที่ขายได้อยู่ใน ระดับราคาเฉพาะตัว
ดังนั้น ผู้ประกอบการชุมชนจะต้อง “เปลี่ยน” วิธีการขายไม่่ใช่มีสินค้าอะไรนำไปขายออนไลน์ได้เลย ต้องพิจารณาสินค้าให้ “ถูก” หลักว่าที่ตนเองต้องการที่จะนำสินค้ามาขายในช่องทางออนไลน์นั้นจัดอยู่ในกลุ่มใด เพื่อประเมินระดับความถี่ของการซื้อสินค้าและการตั้งราคาที่เหมาะสมกับสินค้านั้น และเมื่อพิจารณาได้เท่ากับผู้ประกอบการชุมชนเลือกสินค้าที่ “ถูก” ตรงกับความต้องการสินค้าของกลุ่มตลาด รายได้ของกำลังการซื้อก็ตามมาทำให้ “เปลี่ยนชีวิต” ของผู้ประกอบการชุมชนไปได้เลย
บทความหนังสือพิมพ์ อปท.นิวส์ : หนังสือพิมพ์รายปักษ์ เพื่อการปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อพัฒนาประเทศ สู่ความเข้มแข็งและมั่นคง. โดย อ.ดร.ต้นรัก ธวัชชัย สุขสีดา อาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญการตลาดออนไลน์ดิจิทัล คอลัมนิสต์บทความหนังสือพิมพ์ อปท.นิวส์