ลดการปล่อยมลพิษทางดิจิทัล เพื่อโลกอนาคตที่ยั่งยืน

Share:
อ.ดร.ต้นรัก หนังสือพิมพ์ อปท.นิวส์

ลดการปล่อยมลพิษทางดิจิทัล เพื่อโลกอนาคตที่ยั่งยืน

สวัสดีครับทุกท่านบทความนี้มีเรื่องราวดี ๆ ของโลกมาแบ่งปันครับอ้างอิงจากข้อมูลมูลนิธิ My Climate จากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ประมาณการผู้คนทั่วโลกกว่า 5.3 พันล้านคนสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ จากการตรวจสอบความปลอดภัยทางอินเทอร์เน็ตทั่วโลก ผู้คนส่วนใหญ่มีการค้นหาข้อมูลในโลกดิจิทัล ใช้วิดีโอสตรีมจากสื่อสังคมออนไลน์ และประมวลผลข้อมูลจากระบบคลาวด์หลายพันล้านครั้ง ซึ่งทั้งหมดนั้นล้วนเป็นสาเหตุของการเกิดมลพิษจากการใช้พลังงานด้านดิจิทัลทั่วโลกที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ

คุณเชื่อหรือไม่ครับว่า…? การเปิดสมาร์ทโฟนเข้าสื่อสังคมออนไลน์ เปิดภาพ ดูคลิป ส่งข้อความ คุณกำลังทำให้อุณหภูมิของโลกเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเกิดจากการใช้พลังงานในกิจกรรมทางดิจิทัล จนสามารถเกิดเป็นมลพิษทางดิจิทัลให้กับโลกใบนี้ได้ 

ซึ่งการใช้งานด้านดิจิทัลส่งผลให้มีการปล่อยก๊าซคาร์บอน CO₂ เพิ่มขึ้นด้วย โดยการก๊าซปล่อยคาร์บอนทางดิจิทัลส่วนใหญ่เกิดจากการผลิต การใช้งานดิจิทัล และการทำลายอุปกรณ์ดิจิทัล เกิดเป็นมลพิษทำให้โลกร้อนขึ้น ทำให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพกายและสุขภาพใจของมนุษย์ที่อาศัยอยู่บนโลกใบนี้ เช่น มนุษย์เป็นโรคฮีทสโตรก (Heat Stroke) หรือโรคลมแดด เป็นภาวะวิกฤตที่ร่างกายไม่สามารถปรับตัวหรือควบคุมระดับความร้อนภายในร่างกายได้  ทำให้อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้เกิดอาการปวดศีรษะ หน้ามืด เพ้อ ชัก ไม่รู้สึกตัว หายใจเร็ว หัวใจเต้นผิดจังหวะ ช็อก ซึ่งมาจากอุณหภูมิของโลกสูงขึ้นจนไม่สามารถปรับตัวหรือควบคุมระดับความร้อนภายในร่างกายได้ 

อ้างอิงจากรายงานคณะทำงานโครงการ THANK THE SHIFT รายงานข้อมูลการปล่อยก๊าซคาร์บอน  CO₂ ทั่วโลกมีปริมาณจากการศึกษาเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปีตามกระแสของผู้ใช้ดิจิทัลทั่วโลก ถือเป็นเรื่องใหญ่ใกล้ตัวที่หลายคนยังไม่รู้หรืออาจมองว่ายังไกลตัว แต่ผลกระทบด้านมลพิษทางดิจิทัลกำลังรุนแรงขึ้นทุกขณะ
ดังนั้นในฐานะที่เราเป็นมนุษย์คนหนึ่งที่อาศัยอยู่บนโลกนี้ เราต้องช่วยกันหยุดปัญหานี้ และให้ความสำคัญตระหนักถึงความรุนแรงของมลพิษทางดิจิทัลที่กำลังเกิดขึ้น โดยเราต้องช่วยโลกในการลดการปล่อยมลพิษทางดิจิทัลด้วยวิธีง่าย ๆ ด้วยกิจกรรมออนไลน์ดังนี้

1. ลดการสตรีมลง โดยการสตรีมเท่าที่จำเป็น เพื่อลดการอัพโหลดรับส่งข้อมูลอย่างหนักของศูนย์ข้อมูลเซิฟเวอร์จากการรสตรีม ให้ใช้พลังงานที่น้อยลง แน่นอนว่าทุกกิจกรรมออนไลน์ที่ดูเหมือนฟรีแต่จริงๆ แล้วแลกมาด้วยราคาที่โลกต้องจ่าย นั้นก็ คือ การทำงานของเทคโนโลยีเซิฟเวอร์และศูนย์เก็บข้อมูลขนาดใหญ่ที่ใช้พลังงานไฟฟ้ามหาศาลตลอด 24 ชั่วโมงการ

2. ลดการใช้อุปกรณ์ สมาร์ทโฟน แล็ปท็อป สมาร์ททีวี หรืออุปกรณ์เชื่อมต่อเร้าเตอร์ที่ใช้พลังงานเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเชื่อมต่อกันหลาย ๆ อุปกรณ์ เพื่อลดการใช้พลังงานหลายแหล่งลง

3. เล่นเพลงที่เป็นไฟล์เสียงแทนการสตรีมเป็นวิดีโอบน YouTube หรือรับชมวิดีโอในความละเอียดต่ำกว่าความละเอียดสูงที่ต้องใช้พลังงานมาก ๆ

4. ลบอีเมล์ในกล่องอีเมลที่ไม่จำเป็นหรือที่เป็นอีเมล์ขยะออกเพื่อลดพื้นที่ในจัดเก็บข้อมูลให้น้อยลง

5. จัดเก็บข้อมูลในเครื่อง ในไดรฟ์ เพื่อลดการใช้งานการเก็บข้อมูลจากระบบคลาวด์ให้น้อยที่สุด

6. ใช้เครือข่ายสายแลน WLAN แทนเครือข่ายมือถือบ้างเพื่อลดการปล่อยสัญญานการทำงานของเร้าเตอร์อยู่ตลอดเวลา

7. หันไปใช้พลังงานหมุนเวียนแบบผสมผสานในการใช้ชีวิตประจำวันจากการทำกิจกรรมทางดิจิทัล เช่น พลังงานโซล่าเซลล์ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานน้ำ พลังงานลม พลังงานชีวมวล)

8. ใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีดิจิทัลที่ใหม่ ๆ ทันสมัย โดยงดใช้หรือยกเลิกการอุปกรณ์เทคโนโลยีรุ่นเก่า ๆ เพราะกินไฟ ใช้พลังงานเยอะ

ท้ายที่สุดนี้ผมอยากขอความร่วมมือให้ทุกท่านที่ใช้ชีวิตติดดิจิทัล หันมาช่วยกันปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ให้ความสำคัญกับปัญหาสิ่งแวดล้อม ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน CO₂ ในการสร้างมลพิษให้โลกใบนี้แล้วเราจะมีโลกที่ดีเพื่อลูกหลานของเราในอนาคตต่อไปครับ เครดิตภาพจาก freepik

บทความหนังสือพิมพ์ อปท.นิวส์ : หนังสือพิมพ์รายปักษ์ ประจำปลายเดือน 16-31 ก.ค 67 เพื่อการปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อพัฒนาประเทศ สู่ความเข้มแข็งและมั่นคง. โดย อ.ดร.ต้นรัก ธวัชชัย สุขสีดา อาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญการตลาดออนไลน์ดิจิทัล คอลัมนิสต์บทความหนังสือพิมพ์ อปท.นิวส์

อ.ดร.ต้นรัก หนังสือพิมพ์ อปท.นิวส์
อ.ดร.ต้นรัก หนังสือพิมพ์ อปท.นิวส์
Share: