รู้เท่าทันโฆษณาชวนเชื่อหลอกขายสินค้าชวนลงทุนทำธุรกิจผิดกฎหมาย บทความหนังสือพิมพ์ อปท.นิวส์ โดย อ.ดร.ต้นรัก ธวัชชัย สุขสีดา อาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญด้านออนไลน์

Share:
อ.ดร.ต้นรัก ธวัชชัย สุขสีดา ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการตลาดออนไลน์ การสื่อสารและการสร้างแบรนด์ วิทยากรด้านการตลาดออนไลน์ วิทยากรหลักสูตร PDPA คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และที่ปรึกษาผู้ประกอบการยุคใหม่ ที่ปรึกษาผู้ประกอบการ SMEs นักเขียนคอลัมนิสต์หนังสือพิมพ์ อปท.นิวส์ กูรูที่ปรึกษาด้านดิจิทัล SCB Business Center ธนาคารไทยพาณิชย์ อดีตรองคณบดีการสื่อสารการตลาดและพัฒนาแบรนด์ คณะนิเทศศาสตร์ อดีตประธานศูนย์ดิจิทัลศึกษาคณะนิเทศศาสตร์

รู้เท่าทันโฆษณาชวนเชื่อหลอกขายสินค้าชวนลงทุนทำธุรกิจผิดกฎหมาย

สวัสดีครับวันนี้คงได้เห็นข่าวคราวกระแสของการที่มีผู้คนเสียหายจากการโฆษณาหลอกลวงขายสินค้าและชวนไปลงทุนมีเกิดขึ้นในสังคมเป็นจำนวนมาก เลยอยากให้ทุกท่านได้รู้จักกับการโฆษณาชวนเชื่อ นั้นคือ การเผยแพร่ข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นข้อเท็จจริง ข้อโต้แย้ง ข่าวลือ ความจริงครึ่งเดียว หรือคำโกหก เพื่อโน้มน้าวความคิดเห็นของสาธารณชน โดยอาจกล่าวได้ว่า การโฆษณาชวนเชื่อหรือการโฆษณาเกินจริงใกล้เคียงกัน คือการพยายามทำให้คน ‘เชื่อ’ ในสิ่งที่อาจจะไม่เป็นจริงโดยหวังผลอะไรบางอย่างซ่อนอยู่เบื้องหลัง มันคือการโกหกเพื่อให้คนส่วนใหญ่เชื่อ


จะเห็นได้จากข่าวในช่วงเดือนที่ผ่านมา ที่มีการใช้ดาราและบุคคลที่มีชื่อเสียงมารับบทบาทเป็นพรีเซ็นเตอร์โฆษณาโน้มน้าวจูงใจผู้บริโภคที่เกินความเหมาะสมโดยการโฆษณาแฝงขายสินค้าหรือผลิตภัณฑ์และชักชวนลงทุนทำเครือข่ายธุรกิจ ซึ่งแน่นอนว่าดาราคือจุดดึงดูดผู้บริโภคที่มีส่วนสำคัญทำให้ผู้บริโภคชื่นชอบตัดสินใจลงทุน แต่การทำธุรกิจนั้นใช่ว่าผู้ที่ตัดสินใจลงทุนนั้นจะประสบความสำเร็จทุกคน บางคนได้บางคนเสียเพราะไม่ใช่ผู้บริโภคที่จะมองออกถึงการโฆษณาแฝงนี้ได้ทุกคน ซึ่งความรักความชื่นชอบในความเป็นดาราและบุคคลที่มีชื่อเสียงย่อมมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ ดังนั้น ธุรกิจแบบนี้จึงนำภาพลักษณ์ของดาราบุคคลที่มีชื่อเสียงมาเป็นเครื่องมือทางธุรกิจ
ซึ่งถ้าไม่อยากหลงกลตกเป็นเหยื่อพฤติกรรมของการหลอกลวงทำธุรกิจที่ผิดกฎหมาย ต้องรู้เท่าทันกลโกงของมิจฉาชีพเกี่ยวกับการป้องกันภัยแชร์ลูกโซ่ออนไลน์ ขออ้างอิงข้อมูลจากกองคดีธุรกิจการเงินนอกระบบ กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)

ซึ่งเป็นภัยใกล้ตัวประชาชนที่ต้องรู้แล้วจะไม่ตกเป็นเหยื่อ กลโกงที่ 1 หลอกให้เกิดความอยากได้ โดยการใช้ผลตอบแทนเป็นเครื่องจูงใจ/ล่อใจ ว่ามีการให้ผลตอบแทน กำไร การปันผล ในจำนวนเงินที่สูงเกินความเป็นจริง กลโกงที่ 2 เชิญชวนโดยทำให้เรารู้สึกว่า ชีวิตนี้โคตรโชคดีเหลือเกินที่ได้มาพบเจอบริษัทหรือกิจการนั้น ๆ กลโกงที่ 3 ใช้วิธีโชว์สร้างภาพความรวย โชว์การใช้ชีวิตหรูหรา (กินหรูอยู่สบาย) ใช้รถหรูบ้านหรู โชว์เงินสดจำนวนมากเป็นปึก ๆ กลโกงที่ 4 สร้างภาพให้เห็นว่า บริษัทหรือกิจการนั้น ๆ มีความน่าเชื่อถือ เป็นอย่างมาก ประสบความสำเร็จในการดำเนินงานในเวลาอันรวดเร็ว แบบก้าวกระโดดหรือแบบฉับพลัน กลโกงที่ 5 ทำให้เรารู้สึก/เข้าใจว่า เป็นการลงทุนกับบริษัทหรือกิจการที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก อายุน้อยพันล้าน เป็นต้น กลโกงที่ 6 มีการเชิญชวนให้เข้าร่วมงานสัมมนา เขาจะแสดงว่ามีแผนธุรกิจ ที่สามารถทำให้ลงทุนแล้วเติบโตอย่างรวดเร็วได้กำไรงาม กลโกงที่ 7 สร้างภาพว่าเป็นกิจการที่ช่วยเหลือสังคม ได้รับรางวัลมากมาย กลโกงที่ 8 มีการรับประกัน หรือการันตี (guarantee) ว่าเมื่อลงทุนแล้วจะได้รับผลตอบแทน 100% ไม่มีเสียโอกาส หรือไม่มีการขาดทุนเด็ดขาด กลโกงที่ 9 เชิญชวนว่าหากชอบทำงานสบาย งานง่าย ๆ ไม่ลำบาก ไม่ยาก ทำงานได้โดยไม่กระทบต่องานประจำที่ทำอยู่ ลงทุนน้อย ได้รับผลตอบแทนสูง และได้รับแน่นอน ไม่มีความเสี่ยงใด ๆ ทั้งสิ้น กลโกงที่ 10 โฆษณาว่า เป็นการทำธุรกิจแนวใหม่ หรือเป็นการลงทุนแบบใหม่ (Start Up) หรือลงทุนในสินทรัพย์/หลักทรัพย์ตัวใหม่ ๆ หรือสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีความทันสมัย มีแนวโน้มหรือเทรน (Trend) มาแรง ลงทุนแล้วจะได้ผลตอบแทนสูง กลโกงที่ 11 แสดงให้เราเห็นว่า เมื่อเข้ามาเป็นสมาชิกกับบริษัทหรือกิจการของเขาแล้วจะทำให้มีชีวิตที่ดีขึ้นจากเดิม กลโกงที่ 12 จูงใจด้วยการจ่ายผลตอบแทนตามที่โฆษณาเชิญชวน ในอัตราที่สูงโดยจ่ายแค่ครั้งแรก ๆ ก่อนที่จะหอบเงินเหยื่อหนีหายไป กลโกงที่ 13 อ้างว่าต้องใช้สกุลเงินดิจิทัลในการลงทุนและต้องเปิดกระเป๋าอิเล็กทรอนิกส์ในการลงทุน สุดท้ายก็เชิดหนี กลโกงที่ 14 แอบอ้างว่า มีการจัดตั้งบริษัทหรือกิจการที่ถูกต้องตามกฎหมาย แต่ในความเป็นจริงยังไม่ได้รับการอนุญาต จากสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.), สำนักคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.), หรือธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กลโกงที่ 15 หลอกให้เราโอนเงินไปลงทุน แล้วจูงใจแจ้งเราว่ารอรับผลตอบแทนอย่างเดียวไม่มีขาดทุน กลโกงที่ 16 มีการให้เราเชิญชวนบุคคลอื่น แล้วให้ค่าแนะนำเชิญชวนบุคคลอื่นมาเข้าร่วมในลักษณะแม่ทีมลูกทีม กลโกงที่ 17 เชิญชวนเราไปในพื้นที่ส่วนตัว หรือในโซเชียลมีเดีย (Social Media) เช่นการชวนเข้าไลน์ (Line) เฟซบุ๊ก (Facebook) กลุ่มที่เป็นห้องลับ ไม่ใช่สาธารณะ ซึ่งเป็นห้องสนทนาส่วนตัว ที่มีแต่ทีมมิจฉาชีพเกี่ยวกับแชร์ลูกโซ่ เพื่อชักจูงให้เราเกิดความอยากลงทุน อยากได้รับผลตอบแทนสูง ๆ กลโกงที่ 18 อุปโลกน์ตัวอย่างคนที่ได้รับผลตอบแทน ให้เห็นว่าได้รับผลตอบแทนสูงจริงเพื่อจูงใจ กลโกงที่ 19 มีการเปิดให้ทุกคนสามารถเข้ามาลงทุนได้ หรือเป็นสมาชิกในบริษัทหรือกิจการได้ไม่อั้น ไม่จำกัดจำนวนหรือไม่จำกัดสถานสภาพหรืออายุ ใคร ๆ ก็สามารถนำเงินมาลงทุนได้ กลโกงที่ 20 แอบอ้างว่า มีการจดทะเบียนหรือร่วมลงทุน หรือนำเงินไปลงทุนกับธุรกิจ ที่อยู่ในต่างประเทศ กลโกงที่ 21 แสดงให้เราเห็นว่าเขามีบริษัทหรือกิจการในเครืออีกหลายแห่ง เพื่อให้เห็นว่าเขามีธุรกิจและมีเครือข่ายกว้างขวาง กลโกงที่ 22 มีวิธีการทำให้เราตรวจสอบทางการเงินไม่ได้ มีการทำธุรกรรมทางการเงินที่ทำให้เราเกิดความงง และให้เราเข้าใจว่าสาเหตุที่คนอื่นๆที่เข้ามาลงทุนร่ำรวยมากขึ้นเพราะเกิดจากการเข้ามาลงทุนนี้ กลโกงที่ 23 อ้างว่าจะมีการนำเงินสด (เงินบาท) ของเรา ไปลงทุนหรือแลกเปลี่ยนเป็นหน่วยลงทุนที่บริษัทหรือกิจการกำหนดขึ้นมาเอง (เอาเงินจริงไปแลกเป็นเงินสมมุติที่ทางเขากำหนดขึ้นมา) กลโกงที่ 24 มีการสร้างโปรแกรมสำเร็จรูป ซึ่งเหมือนจริงทุกประการ มาเป็นหน้าจอแสดงผลหรือรายงานผลการลงทุน ผลตอบแทน มีการแสดงกราฟแบบเรียลไทม์ (Real Time) ดูเหมือนจริงโดยไม่มีที่ติ กลโกงที่ 25 ให้เราไปชักชวนคนใกล้ชิดหรือคนสนิทของเรา หรือในทางกลับกันอาจเป็นคนใกล้ชิดหรือคนสนิทของเรามาชวนเราให้เข้ามาลงทุนหรือให้เข้ามาติดกับดัก เช่น คนในครอบครัว พี่น้อง ญาติ หรือเพื่อน ว่าเข้ามาลงทุนแล้วได้รับผลตอบเทนสูงลองเข้ามาคุยด้วยกัน (ลองซิเค้าได้รับผลตอบแทนสูง ๆ กันมาแล้ว)

สุดท้ายนี้จะเห็นได้ว่าการโฆษณาชวนเชื่อนั้นมีกลอุบายที่หลากหลายในโลกปัจจุบันจะมีข้อมูลข่าวสารที่ท่วมท้นดังนั้นต้องไม่เชื่ออะไรง่าย ๆ ต้อง “เอ๊ะ” ไว้ก่อน ตั้งคำถามอยู่เสมอมันจริงหรือ แล้วหาข้อมูลจากหลายแหล่ง มองปัญหาจากหลายมุม ที่สำหรับต้องไม่โลภ อยากได้ อยากมีและอยากเป็นนะครับแล้วจะปลอดภัย ขอบคุณภาพประกอบจาก Pakawoot Pixabay

บทความหนังสือพิมพ์ อปท.นิวส์ : หนังสือพิมพ์รายปักษ์ ประจำต้นเดือน 1-15 พ.ย 67 เพื่อการปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อพัฒนาประเทศ สู่ความเข้มแข็งและมั่นคง. เรื่อง “รู้เท่าทันโฆษณาชวนเชื่อหลอกขายสินค้าชวนลงทุนทำธุรกิจผิดกฎหมาย”โดย อ.ดร.ต้นรัก ธวัชชัย สุขสีดา อาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญการตลาดออนไลน์ดิจิทัล คอลัมนิสต์บทความหนังสือพิมพ์ อปท.นิวส์ วิทยากรหลักสูตร PDPA คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และที่ปรึกษาผู้ประกอบการยุคใหม่ ที่ปรึกษาผู้ประกอบการ SMEs อดีตกูรูที่ปรึกษาด้านดิจิทัล SCB Business Center  ธนาคารไทยพาณิชย์ 

คลิก โหลดอ่านฉบับเต็มหนังสือพิมพ์ อปท.นิวส์ ฟรี คอลัมนีสต์ อ.ดร.ต้นรัก

ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการตลาดออนไลน์ การสื่อสารและการสร้างแบรนด์ วิทยากรด้านการตลาดออนไลน์ วิทยากรหลักสูตร PDPA คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และที่ปรึกษาผู้ประกอบการยุคใหม่ ที่ปรึกษาผู้ประกอบการ SMEs นักเขียนคอลัมนิสต์หนังสือพิมพ์ อปท.นิวส์ กูรูที่ปรึกษาด้านดิจิทัล SCB Business Center  ธนาคารไทยพาณิชย์ อดีตรองคณบดีการสื่อสารการตลาดและพัฒนาแบรนด์ คณะนิเทศศาสตร์ อดีตประธานศูนย์ดิจิทัลศึกษาคณะนิเทศศาสตร์
Share: