• อ.ต้นรัก รวมใจคนไทยไม่ทิ้งกัน NBT
    5
    Dec

    รายการ “รวมใจคนไทยไม่ทิ้งกัน” NBT Central โดยอ.ดร.ต้นรัก ธวัชชัย สุขสีดา ให้สัมภาษณ์

    รายการ “รวมใจคนไทยไม่ทิ้งกัน” NBT Central โดยอ.ดร.ต้นรัก ธวัชชัย สุขสีดา ให้สัมภาษณ์ ประเด็นสืบสานมรดกสมุนไพรไทยด้วยการใช้การสื่อสารผ่านออนไลน์สานพลังสมุนไพรเทรนด์สุขภาพคนไทยสู่ชาวโลก โดย อ.ดร.ต้นรัก ธวัชชัย สุขสีดา อาจารย์ วิทยากรการตลาดออนไลน์
  • อ.ต้นรัก พลัง Soft Power ไทยแลนด์”
    5
    Dec

    ออกอากาศสดให้สัมภาษณ์ ประเด็น “สืบสานสร้างมรดกสมุนไพรไทยสู่พลัง Soft Power ไทยแลนด์” อ.ดร.ต้นรัก ธวัชชัย สุขสีดา อาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญการตลาดออนไลน์ดิจิทัล

    ออกอากาศสดให้สัมภาษณ์ ประเด็น “สืบสานสร้างมรดกสมุนไพรไทยสู่พลัง Soft Power ไทยแลนด์” อ.ดร.ต้นรัก ธวัชชัย สุขสีดา อาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญการตลาดออนไลน์ดิจิทัล รายการคุยหลังข่าว ช่อง NBT 11 Central ประเด็น “สืบสานสร้างมรดกสมุนไพรไทยสู่พลัง Soft Power ไทยแลนด์” ตามแนวทาง Soft Power ของไทยที่ส่งเสริมวัฒนธรรม 5 รูปแบบ 1. อาหาร (Food) 2. ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ (Film) 3. การออกแบบแฟชั่นไทย (Fashion) 4. ศิลปะการป้องกันตัวแบบไทย (Fighting) 5. เทศกาล (Festival) ขับเคลื่อนการสื่อสารองค์ความรู้สมุนไพรไทยสู่สากลด้วยช่องทางออนไลน์ Soft Power สมุนไพรไทย คือ การใช้อิทธิพลทางวัฒนธรรมของวิถีชีวิตของคนไทยโบราณที่ใช้สมุนไพรในการช่วยรักษาสุขภาพรักษาชีวิตหรือความเชื่อ นำเสนอผ่านสื่อ หรือผลงานในรูปแบบต่างๆ เพื่อโน้มน้าวใจ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านความคิด หรือพฤติกรรมความชอบให้หันมาสนใจสมุนไพรมรดกไทย อ.ดร.ต้นรัก
  • บทความหนังสือพิมพ์ อปท.นิวส์ : หนังสือพิมพ์รายปักษ์ เพื่อการปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อพัฒนาประเทศ สู่ความเข้มแข็งและมั่นคง. โดย อ.ดร.ต้นรัก ธวัชชัย สุขสีดา อาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญการตลาดออนไลน์ดิจิทัล คอลัมนิสต์บทความหนังสือพิมพ์ อปท.นิวส์
    5
    Dec

    ทิศทางภูมิทัศน์ดิจิทัล 2024

    ทิศทางภูมิทัศน์ดิจิทัล 2024 สวัสดีครับ…เวลาที่เรามีความสุขกับการใช้ชีวิตบนโลกใบนี้อยู่กับเทคโนโลยีมันช่างเดินทางเร็วเหลือเกิน ปุบปับ…ปุ๊บปั๊บ…ก้าวมาถึงปลายปี 2023 ในขณะที่เทคโนโลยียังคงก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน จนจะก้าวเข้าสู้ปี 2024 เทคโนโลยีก็ยังไม่หยุดยั้ง ถึงเวลาที่เราต้องมาสำรวจเทรนด์ใหม่ ๆ ที่จะกำหนดทิศทางภูมิทัศน์ดิจิทัลของเรากันครับ เทรนด์เทคโนโลยีที่สำคัญที่ควรจับตามองยังคงไม่พ้นปัญญาประดิษฐ์ (AI) ไปจนถึงความเป็นจริงเสริม (AR) แน่นอนครับว่าทุกสิ่งที่ขับเคลื่อนด้วย AI และ AI ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่เป็นเรื่องของแอปพลิเคชันที่กำลังขยายตัวอยู่ตลอดเวลาในปี 2024 AI จะถูกบูรณาการเข้ากับชีวิตประจำวันของเราได้อย่างราบรื่นมากยิ่งขึ้นตั้งแต่การแนะนำเนื้อหาส่วนบุคคลไปจนถึงงานศิลปะที่สร้างโดย AI และแม้แต่การวินิจฉัยด้านการดูแลสุขภาพที่ขับเคลื่อนด้วย AI ทั้งหมดนี้พร้อมที่จะปฏิวัติอุตสาหกรรมด้านสุขภาพทั่วโลกแนวคิดของโลกเสมือนหรือที่เรารู้จักกันในชื่อของ Metaverse และ AR หลังจากนี้จะเป็นจักรวาลดิจิทัลที่ผู้ใช้สามารถโต้ตอบและทำงานร่วมกันได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นกว่าเดิม ความเสมือนจริงในโลก metaverse จะมีบทบาทสำคัญในการทำให้เส้นแบ่งระหว่างความเป็นจริงทางกายภาพและความเป็นจริงทางดิจิทัลผสมกลมกลืนจนเป็นสิ่งเดียวกันและการเชื่อมต่อของเทคโนโลยี 5G รับประกันได้เลยหลังจากนี้จะมีความเร็วอินเทอร์เน็ตที่รวดเร็วและความหน่วงที่ต่ำกว่าเดิม ซึ่งสิ่งนี้แหละครับ…จะทำให้เกิดความก้าวหน้าในเรื่องอินเทอร์เน็ตในทุกสิ่งหรือ IoT (Internet of Things) ธุรกิจยานยนต์จะเป็นระบบอัตโนมัติไร้คนขับและการประมวลผลข้อมูลจะเป็นแบบเรียลไทม์ แม้แต่เรื่องบล็อกเชนกับสกุลเงินดิจิทัลอย่าง Bitcoin ก็ขึ้นอยู่กับความน่าเชื่อถือและความปลอดภัยของแอปพลิเคชันในการจัดการห่วงโซ่อุปทานในเรื่องการยืนยันตัวตนดิจิทัลและความปลอดภัยในข้อมูลซึ่งเรื่องนี้ต้องให้ความสำคัญและติดตามกันต่อไปหลังจากนี้ ด้วยข้อมูลออนไลน์ที่มากขึ้นกว่าที่เคย ความปลอดภัยทางไซเบอร์ยังคงมีความสำคัญสูงสุด การตรวจจับภัยคุกคามที่ขับเคลื่อนด้วย AI การรับรองความถูกต้องด้วยไบโอเมตริกซ์ และระบบความปลอดภัยแบบกระจายอำนาจจะมุ่งเน้นจริยธรรมและกฎระเบียบด้านเทคนิค เมื่ออิทธิพลของเทคโนโลยีเติบโตขึ้น ก็จะมีการตรวจสอบ AI ตามหลักจริยธรรม ความเป็นส่วนตัวของข้อมูล และสิทธิ์ดิจิทัลเพิ่มมากขึ้น รัฐบาลและองค์กรต่างๆ จะต้องจัดทำกฎระเบียบที่ชัดเจนเพื่อการใช้เทคโนโลยีที่ยั่งยืนในขณะที่ความกังวลด้านสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้น อุตสาหกรรมเทคโนโลยีก็มีความก้าวหน้าในด้านความยั่งยืน ตั้งแต่ศูนย์ข้อมูลที่ประหยัดพลังงานไปจนถึงอุปกรณ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม คาดการว่าจะมีโซลูชั่นเทคโนโลยีสีเขียวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วให้เราได้เห็นกันแน่นอน  เรื่องของคอมพิวเตอร์ควอนตัมน่าจับตามองมากจากนี้ไป แม้ว่าจะยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น ...
  • บทความหนังสือพิมพ์ อปท.นิวส์ : หนังสือพิมพ์รายปักษ์ เพื่อการปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อพัฒนาประเทศ สู่ความเข้มแข็งและมั่นคง. โดย อ.ดร.ต้นรัก ธวัชชัย สุขสีดา อาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญการตลาดออนไลน์ดิจิทัล คอลัมนิสต์บทความหนังสือพิมพ์ อปท.นิวส์
    27
    Nov

    มาดีท็อกซ์ดิจิทัลเพื่อชีวิตที่ดีกันเถอะ…

    มาดีท็อกซ์ดิจิทัลเพื่อชีวิตที่ดีกันเถอะ…! ดีท็อกซ์ดิจิทัล หมายถึงช่วงเวลาที่เราเว้นจากการใช้อุปกรณ์เทคโนโลยี เช่น สมาร์ทโฟน โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต และเว็บไซต์โซเชียลมีเดีย เป็นการ “การล้างสารพิษ” จากอุปกรณ์ดิจิทัลมักถูกมองว่าเป็นวิธีหนึ่งในการมุ่งเน้นไปที่ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมในชีวิตจริงโดยไม่มีสิ่งรบกวนสมาธิ อย่างน้อยก็เป็นการชั่วคราวที่เราเว้นว่างจากการอยู่กับอุปกรณ์ดิจิทัลเพื่อลดความเครียดที่เกิดจากการเชื่อมกับโลกดิจิทัลอยู่อย่างต่อเนื่อง ในโลกดิจิทัลและสังคมดิจิทัลก่อนที่เราจะตัดสินใจว่าการใช้อุปการณ์ดิจิทัลนี้เหมาะกับเราหรือไม่ ให้พิจารณาถึงประโยชน์ที่เป็นไปได้กับเรา การเชื่อมต่อและดื่มด่ำไปกับโลกดิจิทัลเป็นเพียงส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน จากการวิจัยของบริษัท Nielsen พบว่าผู้ใหญ่ชาวอเมริกันโดยเฉลี่ยใช้เวลาประมาณ 11 ชั่วโมงต่อวันในการฟัง ดู อ่าน หรือโต้ตอบกับสื่อในโลกออนไลน์ การใช้อุปกรณ์มากเกินไปเพิ่มความเครียดให้กับชีวิตในบางสถานการณ์ เราอาจรู้สึกเหมือนกำลังติดอุปกรณ์ดิจิทัลนั้นอยู่ แม้ว่าการติดเทคโนโลยีจะไม่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการว่าเป็นความผิดปกติ แต่ผู้เชี่ยวชาญหลายคนเชื่อว่าการใช้เทคโนโลยีและอุปกรณ์มากเกินไปแสดงถึงการเสพติดทางดิจิทัลเป็นพฤติกรรมอย่างแท้จริง ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาทางร่างกาย จิตใจ และสังคมได้ ซึ่งสัญญาณที่บ่งบอกว่าเราอาจต้องได้รับการดีท็อกซ์ดิจิทัลกันบ้างเมื่อเราอยู่ในโลกออนไลน์ให้เราลองสังเกตตัวเราดังนี้1.เรารู้สึกวิตกกังวลหรือเครียดหากหาโทรศัพท์ไม่พบหรือไม่2.เรารู้สึกว่าจำเป็นต้องตรวจสอบโทรศัพท์ของเราทุกๆ สองสามนาทีหรือไม่3.เรารู้สึกหดหู่ วิตกกังวล หรือโกรธหลังจากมราเราใช้เวลากับโซเชียลมีเดียหรือไม่4.เราหมกมุ่นอยู่กับจำนวนไลค์ แสดงความคิดเห็น หรือแชร์ต่อในโพสต์โซเชียลของเราหรือไม่5.เรากลัวว่าเราจะพลาดบางสิ่งบางอย่างหากเราไม่ตรวจสอบอุปกรณ์ของเราต่อไปหรือไม่6.เรามักจะพบว่าตัวเรานอนดึกหรือตื่นแต่เช้าเพื่อเล่นโทรศัพท์7.เรามีปัญหาในการจดจ่อกับสิ่งหนึ่งโดยไม่ต้องตรวจสอบโทรศัพท์ของเราหรือไม่แล้วถ้าเรามีสัญญานเหมือนข้อหนึ่งข้อใดแล้วเราควรจะทำอย่างไรลองมาดูวิธีการทำดีท็อกซ์ดิจิทัลกันครับ1.ให้เราจำกัดเวลาที่เราจะให้เทคโนโลยีดิจิทัลในช่วงเวลาของแต่ละวัน เช่น ฟังเพลงจากเพลย์ลิสต์ในแอป ขณะออกกำลังกายเมื่อเสร็จ ลองตั้งโทรศัพท์ให้เป็นโหมดเครื่องบิน airplane mode จะได้ไม่ถูกกวนโดยข้อความหรือการแต้งเตือนจากแอปต่าง ๆ 2. ตัดสิ่งรบกวนใจโดยเราลองเลือกปิดการแจ้งเตือนแบบพุชบนโทรศัพท์หรือจากแอปโซเชียลมีเดีย เช่น Facebook, Instagram, Twitter, Pinterest และเว็บไซต์ข่าวต่าง ๆ ที่จะส่งการแจ้งเตือนทุกครั้งที่โพสต์ใหม่3.  เราอาจต้องอดใจใช้อุปกรณ์ดิจิทัลไปสักระยะหนึ่ง ทั้งโทรทัศน์ โทรศัพท์มือถือ และโซเชียลมีเดีย โดยวางแผนว่าเราจะเลือกใช้วันไหนแล้วหยุดใช้วันไหน ในหนึ่งสัปดาห์เราลองเลือกหยุดสักวัน ...
  • บทความหนังสือพิมพ์ อปท.นิวส์ : หนังสือพิมพ์รายปักษ์ เพื่อการปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อพัฒนาประเทศ สู่ความเข้มแข็งและมั่นคง. โดย อ.ดร.ต้นรัก ธวัชชัย สุขสีดา อาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญการตลาดออนไลน์ดิจิทัล คอลัมนิสต์บทความหนังสือพิมพ์ อปท.นิวส์
    27
    Nov

    แนะเยาวชนเสพสื่อสงครามบนโซเชียลมีเดียนี่คือสิ่งที่ผู้ปกครองควรรู้และแนะนำ

    แนะเยาวชนเสพสื่อสงครามบนโซเชียลมีเดียนี่คือสิ่งที่ผู้ปกครองควรรู้และแนะนำ เด็ก ๆ กำลังดูสงครามบนโซเชียลมีเดียและนี่คือสิ่งที่ผู้ปกครองควรรู้และแนะนำ ภายหลังการโจมตีอิสราเอลอย่างร้ายแรงของกลุ่มฮามาส ภาพและคลิปของเนื้อหาความรุนแรงในสงครามได้แพร่กระจายไปตามสื่อโซเชียลมีเดียต่าง ๆ เช่น Facebook, Instagram, Twitter และ TikTok ชาวอิสราเอลและปาเลสไตน์มากกว่า 1,000 คนเสียชีวิตอันเป็นผลมาจากการโจมตีและการตอบโต้ทางทหารของอิสราเอล วิดีโอไม่เพียงแต่การโจมตีที่มีผู้เสียชีวิตเท่านั้น แต่ยังรวมถึงวิดีโอของผู้ก่อการร้ายฮามาสที่ลักพาตัวผู้ชาย ผู้หญิง และเด็กยังได้แพร่สะพัดทางออนไลน์ นอกเหนือไปจากวิดีโอเหตุระเบิดในฉนวนกาซา หนึ่งในพื้นที่ที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดในโลก ความขัดแย้งของสงครามระหว่างอิสราเอลและฮามาสไม่ใช่เด็กเป็นกลุ่มแรกๆ ที่ถูกเปิดเผยเสนอผ่านโซเชียลมีเดียในขณะที่ความขัดแย้งต่างๆ  เกิดขึ้นทั่วโลกและแสดงให้เห็นภาพความรุนแรงของความขัดแย้งเหล่านั้นทางออนไลน์ผ่านโซเชียลมีเดียสิ่งที่ผู้ปกครองควรทำและให้คำแนะนำเด็ก ๆ คือ1.เลื่อนดูไปพร้อมกับเด็ก ๆ หากผู้ปกครองอนุญาตให้บุตรหลานของตนใช้โซเชียลมีเดีย สิ่งสำคัญคือต้องทราบว่าบัญชีใดที่พวกเขาติดตามและข้อมูลใดที่พวกเขากำลังเข้าถึงจำเป็นต้องปกป้องเด็ก ๆ จากเหตุการณ์ปัจจุบันในยุคของออนไลน์ ผู้ปกครองต้องตรวจสอบข้อเท็จจริงและค้นหาข้อมูลที่เชื่อถือได้นั่งคุยกับเด็กๆ และเลื่อนดูฟีดโซเชียลมีเดียไปด้วยกันและจำกัดและกำหนดเวลาในการเข้าดูโซเชียลมีเดียของเด็ก ๆ ด้วย2. ถามคำถามอยากรู้อยากเห็นการถามคำถาม “อยากรู้อยากเห็น” เป็นวิธีที่ดีในการเริ่มการสนทนา อาจกริ่น “ในสถานการณ์วันนี้มีเรื่องมากมายเกิดขึ้นในโลก” เช่น “หนูได้ยินอะไรบ้างที่โรงเรียน” (หรือ) “หนูเห็นภาพอะไรบนโซเชียลมีเดียบ้าง” ปล่อยให้เด็กได้พูดได้เล่า3. สนทนาต่อไป เน้นยำถึงความสำคัญในสิ่งที่เด็กพูดออกมาก “หนูเห็นคนตายในสงคราม” ผู้ปกครองสนทนาให้ความรู้เรื่องความรุนแรงการใช้กำลังในสงคราม4. แสดงให้ฉันเห็นว่าอะไรน่ากลัว ถามเด็ก ๆ ว่าเห็นภาพความรุนแรงนั้นมาจากไหน ขอให้เด็กแสดงภาพหรือวิดีโอที่เขาหรือเธอเห็นว่าน่ากลัวทางออนไลน์หรือบนโซเชียลมีเดียถามพวกเขาว่าพวกเขาคิดอย่างไร “น่ากลัวไหม” หากเด็กมองว่าวิดีโอหรือภาพถ่ายเหล่านั้นน่ากลัวให้ถาม “ว่าทำไมพวกเขาถึงสนใจพวกเขาตั้งแต่แรก” สอนพวกเขาไม่ควรแชร์ให้พวกเขาเรียนรู้ที่จะซ่อนเนื้อหานั้นบนโซเชียลมีเดียด้วย5.สอนเรื่องข้อมูลที่ผิดผู้ปกครองควรแจ้งให้เด็กๆ ทราบเกี่ยวกับข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง ...
  • บทความหนังสือพิมพ์ อปท.นิวส์ : หนังสือพิมพ์รายปักษ์ เพื่อการปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อพัฒนาประเทศ สู่ความเข้มแข็งและมั่นคง. โดย อ.ดร.ต้นรัก ธวัชชัย สุขสีดา อาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญการตลาดออนไลน์ดิจิทัล คอลัมนิสต์บทความหนังสือพิมพ์ อปท.นิวส์
    1
    Oct

    รู้เท่าทันข้อควรปฏิบัติสำหรับการใช้งานเฟซบุ๊กอย่างสร้างสรรค์ 

    รู้เท่าทันข้อควรปฏิบัติสำหรับการใช้งานเฟซบุ๊กอย่างสร้างสรรค์  ในปัจจุบันนี้เฟซบุ๊ก facebook เข้ามามีบทบาทสำคัญกับชีวิตของเรามากขึ้นกว่าแต่ก่อน แทบจะเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเราไปแล้ว แต่ก็ใช่ว่าคุณจะใช้ชีวิตอยู่บนโลกเฟซบุ๊กอยู่คนเดียว เพราะมันยังมีอีกหลานคนที่ใช้ชีวิตอยู่บนนั้นเหมือนกับคุณ และถ้าคุณรู้เท่าไม่ถึงการ คุณอาจจะโพสต์อะไรลงไปแล้วกลับมาทำร้ายตัวเองโดยไม่รู้ตัวก็ได้ ลองมาดูกันดีกว่าว่าอะไรที่ไม่ควรทำบนโลกเฟซบุ๊ก ถึงแม้ในนั้นจะเป็นแหล่งที่ใครๆก็สามารถแสดงความคิดเห็นหรือทำอะไรกันได้อย่างเสรี แต่ก็มีกฎเกณฑ์การใช้งานควบคุมอยู่ด้วยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 ในโลกเฟซบุ๊กนั้นมีใครทราบมั้ยว่า เฟซบุ๊ก ก็มีกฎระเบียบ ข้อปฎิบัติ ข้อห้ามในการใช้งานและการโพสต์ด้วย ซึ่งเค้าใช้มาตรฐานเดียวกันทั่วโลก ผู้ใช้ก็น่าจะทราบดีแต่จะปฎิบัติหรือไม่นั้นไม่ทราบแน่ แต่ที่ผ่านมาผมลองศึกษาและเก็บข้อมูลการใช้งานของตนเอง ไม่ใช่เป็นข้อบังคับกะเกณฑ์อะไร เลยเอามาแชร์กันเกี่ยวกับข้อควรปฏิบัติสำหรับการใช้งานเฟซบุ๊กอย่างสร้างสรรค์ ดังนี้ 1. ควรใช้ถ้อยคำสุภาพในการโพสต์ หลีกเลี่ยงการใช้ถ้อยคำหยาบคายระดับรุนแรง คำด่าระดับรุนแรง หากจำเป็นต้องใช้ ควรเปลี่ยนเสียงพยัญชนะหรือใส่จุดแทนพยัญชนะบางตัว เช่น ค..ย ,เ.ี้ย, เป็นต้น2. ควรใส่ข้อมูลให้แน่ชัดว่าในเฟซบุ๊กเป็นเพศหญิงหรือเพศชาย เพื่อแสดงตัวตนที่ชัดเจน3. เมื่อต้องการขอเป็นเพื่อนกับใครไป ถ้าเค้ารับเป็นเพื่อแล้ว ควรไปแสดงการขอบคุณ ยินดีที่ได้รู้จัก และแนะนำตัวเองกับเค้า หรือแม้แต่คนที่รู้จักกันอยู่แล้วก็ควรเข้าไปทักทายเค้าบ้าง4. ไม่ควรขอเป็นเพื่อนกับใครสุ่มสี่สุ่มห้า ควรขอเป็นเพื่อนเฉพาะคนที่รู้จักกันมาก่อน หรือคนที่เป็นเพื่อนของเพื่อน หากเขาไม่รับเป็นเพื่อนก็อาจส่งข้อความ (หลังไมค์) ไปแนะนำตัว5. ไม่ควรแอดเชิญใครไปยังกลุ่ม facebook group ใดๆโดยไม่ถามความสมัครใจของเจ้าตัวก่อน และเมื่อขอเข้ากลุ่มใดและผู้ดูแลกลุ่มอนุมัติแล้วควรเข้าไปขอบคุณ และแนะนำตัว หรือฝากตัวทันที การพูดคุยสนทนาในกลุ่มควรให้เกียรติและเคารพในความเห็นของบุคคลอื่นเพราะเป็นกลุ่มเฉพาะ7. ไม่ควรแท็ก tag รูป ...
  • อ.ดร.ต้นรัก ธวัชชัย สุขสีดา ผู้ทรงคุณวุฒิการตลาดดิจิทัล
    15
    Sep

    AI ปัญญาประดิษฐ์กับส่วนหนึ่งของชีวิตในวันนี้…

    ในโลกยุคดิจิทัลนี้ คงไม่มีผู้ใดปฏิเสธว่าเทคโนโลยีได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันในทุก ๆ กิจกรรม อีกทั้งยังเป็นสิ่งที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ดังนั้น การปรับตัวจึงเกิดขึ้น โดยเฉพาะในภาคธุรกิจ เพราะพฤติกรรมการบริโภคของผู้คนย่อมผันเปลี่ยนไปตามกระแสของโลกดิจิทัล และเมื่อพูดถึงเรื่องปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI หลายคนอาจจะมองเป็นเรื่องที่ซับซ้อนและไกลตัวแต่ในความเป็นจริงแล้วนั้น AI อยู่รอบตัวเราและมักได้ใช้ในชีวิตประจำวันกันอยู่เสมอโดยที่เราอาจจะไม่รู้ตัว ซึ่งสิ่งแรกที่คนส่วนใหญ่ทำหลังจากตื่นนอน คือหยิบสมาร์ทโฟนเพื่อเช็คข้อมูลข่าวสารต่างๆ และเมื่อโทรศัพท์ถูกปลดล็อคหน้าจอ ถือเป็นการใช้เทคโลยี AI ในรูปแบบ Face ID หรือ หรือเทคโนโลยีชีวมิติ คือ เทคโนโลยีที่ใช้ในการระบุตัวตน (Identification) และตรวจพิสูจน์ผู้ใช้ (Verification) โดยใช้เทคนิคการแปรค่าเอกลักษณ์เฉพาะของแต่ละบุคคล มาวิเคราะห์และเปรียบเทียบความแตกต่าง ทำให้มีความปลอดภัยมากขึ้น ง่ายขึ้น เร็วขึ้น และสะดวกยิ่งขึ้นกว่าเดิม สิ่งที่คนมักทำต่อไปจากการหยิบโทรศัพท์แล้ว คือการเช็คข่าวสาร หรือเรื่องราวอัพเดทบนโซเชียลมีเดียต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Instagram, Twitter และอื่นๆ เทคโนโลยี AI ไม่เพียงแต่อยู่เบื้องหลังในการเลือกโพสต์ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่คุณสนใจขึ้นมาโชว์ โดยดูจากความสนใจ และการมีปฏิสัมพันธ์บนโซเชียลมีเดียในอดีต ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ยังสามารถแนะนำเพื่อนที่คุณอาจจะรู้จัก กรองข่าวปลอม รวมถึง Machine Learning ยังช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการกลั่นแกล้งคุกคามผ่านโลกไซเบอร์ (Cyberbullying) ได้อีกด้วย รวมไปถึงเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับระบบของธนาคารได้หลากหลายวิธี ...
  • วิทยากรอบรม “เชิงปฏิบัติการ การจัดการคอนเทนต์” กองทุนพัฒนาไฟฟ้า สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) กระทรวงพลังงาน โดยอ.ดร.ต้นรัก ธวัชชัย สุขสีดา อาจารย์และผู้เชี่ยวชาญการตลาดออนไลน์ดิจิทัล
    5
    Sep

    วิทยากรอบรม “เชิงปฏิบัติการ การจัดการคอนเทนต์” กองทุนพัฒนาไฟฟ้า สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) กระทรวงพลังงาน โดยอ.ดร.ต้นรัก ธวัชชัย สุขสีดา อาจารย์และผู้เชี่ยวชาญการตลาดออนไลน์ดิจิทัล

    แบ่งปันความรู้ ความสุข และโอกาส” กับการเป็นวิทยากรอบรม “เชิงปฏิบัติการ การจัดการคอนเทนต์” (Workshop Training for Content Management) กองทุนพัฒนาไฟฟ้า สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) กระทรวงพลังงาน โดยอ.ดร.ต้นรัก ธวัชชัย สุขสีดา อาจารย์และผู้เชี่ยวชาญการตลาดออนไลน์ดิจิทัลณ โรงแรมสยามแอทสยาม กรุงเทพ
  • วิทยากรบรรยายหลักสูตรมัคคุเทศก์ ในหัวข้อ “ติดอาวุธลับเครื่องมือออนไลน์ธุรกิจท่องเที่ยวยุคชีวิตวิถีใหม่” และหัวข้อ “ยิงแอด แซทกระจายสร้างเงินล้านกับธุรกิจท่องเที่ยว” โดยอ.ดร.ต้นรัก ธวัชชัย สุขสีดา อาจารย์และผู้เชี่ยวชาญการตลาดออนไลน์ดิจิทัล
    5
    Sep

    วิทยากรบรรยายหลักสูตรมัคคุเทศก์ ในหัวข้อ “ติดอาวุธลับเครื่องมือออนไลน์ธุรกิจท่องเที่ยวยุคชีวิตวิถีใหม่” และหัวข้อ “ยิงแอด แซทกระจายสร้างเงินล้านกับธุรกิจท่องเที่ยว”

    ความสุขกับการให้ในการเป็นวิทยากรบรรยายหลักสูตรมัคคุเทศก์ ในหัวข้อ “ติดอาวุธลับเครื่องมือออนไลน์ธุรกิจท่องเที่ยวยุคชีวิตวิถีใหม่” และหัวข้อ “ยิงแอด แซทกระจายสร้างเงินล้านกับธุรกิจท่องเที่ยว” โดยอ.ดร.ต้นรัก ธวัชชัย สุขสีดา อาจารย์และผู้เชี่ยวชาญการตลาดออนไลน์ดิจิทัลโครงการฝึกอบรมหลักสูตรธุรกิจนำเที่ยว ณ มทร.รัตนโกสินทร์ บพิตรพิมุข จักรวรรดิ
  • วิทยากรบรรยาย “การเผยแพร่ผ่านช่องทางดิจิทัลที่หลากหลาย” หลักสูตร “กลยุทธ์การออกแบบดิจิทัลคอนเทนต์ให้โดนใจ โดยอ.ดร.ต้นรัก ธวัชชัย สุขสีดา อาจารย์และผู้เชี่ยวชาญการตลาดออนไลน์ดิจิทัล
    5
    Sep

    วิทยากรบรรยาย “การเผยแพร่ผ่านช่องทางดิจิทัลที่หลากหลาย”

    วิทยากรบรรยาย “การเผยแพร่ผ่านช่องทางดิจิทัลที่หลากหลาย” หลักสูตร “กลยุทธ์การออกแบบดิจิทัลคอนเทนต์ให้โดนใจ เพื่อการประชาสัมพันธ์องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น” ณ ศูนย์วิทยบริการและชุมชนสัมพันธ์ มสธ. เพชรบุรี โดยอ.ดร.ต้นรัก ธวัชชัย สุขสีดา อาจารย์และผู้เชี่ยวชาญการตลาดออนไลน์ดิจิทัล หลักสูตรนวัตกรรมการสื่อสารการเมืองและการปกครองส่วนท้องถิ่น นิเทศศาสตร์ดิจิทัล มสธ.