สร้าง “อีคอมเมิร์ช” พลิกวิกฤต ชุมชนไทยสู่ชุมชนอัจฉริยะออนไลน์

สร้าง “อีคอมเมิร์ช” พลิกวิกฤต ชุมชนไทยสู่ชุมชนอัจฉริยะออนไลน์
สวัสดีเมษายนหลังสงกรานต์เดือนแห่งครอบครัว ซึ่ง “ครอบครัว” ถือเป็นสถาบันพื้นฐานทางสังคมที่มีความสำคัญ มีบทบาทในการอบรมเลี้ยงดู ส่งต่อค่านิยม ถ่ายทอดวัฒนธรรม ในประเทศไทยครอบครัวมักจะอาศัยอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวใหญ่นำไปสู่ความเป็นสังคมชุมชน ซึ่งบริบทชุมชนไทยภูมิปัญญา (Wisdom) เป็นการตกผลึกของความเชื่อ ความรู้ ประสบการณ์ ความสามารถที่สั่งสมมาจากวัฒนธรรมประเพณีและวิถีชีวิต ผ่านการลองผิดลองถูกของ คนในชุมชนจากรุ่นสู่รุ่นมาเป็นระยะเวลายาวนานจนมาถึงปัจจุบัน ในแต่ละชุมชนจะมี ภูมิปัญญา ที่มีประโยชน์ ต่อคนในชุมชนซึ่งเรียกว่า “ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local wisdom)” ซึ่งภูมิปัญญาเหล่านั้นจะเป็นชุดความรู้ที่นําไปใช้ในประกอบอาชีพ นําไปใช้ในการคิด สร้างสรรค์สินค้าและการบริการของคนในชุมชน เป็นการแลกเปลี่ยนกันภายในชุมชน ตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง ความสัมพันธ์ระหว่างคนในชุมชนมีวิถีชีวิตด้วยการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ภูมิปัญญาท้องถิ่นจึงทําให้เกิดความเป็นปึกแผ่น เป็นน้ําหนึ่งใจเดียวกัน ของคนในชุมชน และภูมิปัญญาท้องถิ่นยังสามารถสร้างรายได้เพื่อพัฒนาเศรษกิจในระดับชุมชนอีกด้วย
ในปัจจุบันการทําธุรกิจต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจการขายสินค้าชุมชน ย่อมต้องมีความข้องเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการดําเนินการระบบการทําางาน พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์หรือที่เรียกกันง่าย ๆ ว่า “อีคอมเมิร์ซ” เป็นการดําเนินงานในขั้นตอนการขาย ขั้นตอนการซื้อหรือขั้นตอนในการขยายตลาดไปสู่ผู้บริโภคกลุ่มใหม่ ๆ เพื่อเป็นการเพิ่มช่องทางในการจัดจําหน่ายหรือเป็นการประชาสัมพันธ์ธุรกิจผ่านอินเทอร์เน็ต ช่วยให้ผู้ขายสินค้านั้นมีช่องทางในการติดต่อ สื่อสารระหว่างผู้ขายกับผู้ซื้อได้สะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ผู้ซื้อสามารถทําการสั่งซื้อ สินค้าหรือบริการผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้ในทันทีที่ต้องการ ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดของโลกใบนี้
ประโยชน์ของอีคอมเมิร์ซสําหรับผู้ประกอบการชุมชน อีคอมเมิร์ชช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถเปิดร้านค้าได้ง่ายข้ึนจากการเปิดหน้าร้านออนไลน์ได้โดยใช้เงินลงทุนที่ไม่มากนัก เมื่อเปรียบเทียบกับการเปิดร้านค้าแบบมีหน้าร้าน ในปัจจุบันการเปิดร้านค้าออนไลน์นั้น สามารถทําาได้ง่าย สะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ผู้ประกอบการชุมชน จึงไม่จําเป็นจะต้องมีความรู้ในเชิงลึก ไม่จําเป็นต้องมีความรู้ทางด้านการเขียนโปรแกรม คอมพิวเตอร์ ผู้ประกอบการชุมชนสามารถเปิดร้านค้าออนไลน์ได้ในทันทีตามที่ต้องการผ่าน แพลตฟอร์มที่มีการให้บริการหลากหลายรูปแบบ ซึ่งทําให้จะธุรกิจของชุมชน ไม่ว่าจะเป็นสินค้าและบริการของชุมชนน้ันง่ายต่อการมองเห็น และเป็นที่รู้จักภายในเวลาอันรวดเร็ว จากข้อดีของอีคอมเมิร์ซที่ได้กล่าวมา จึงเป็นการช่วยให้ธุรกิจชุมชนของไทยสามารถลดความเสี่ยงในการดําเนินธุรกิจแบบมีหน้าร้านและจำกัดการค้าขายของผู้ประกอบการอยู่แค่ในพื้นที่เท่านั้น ในขณะเดี่ยวกันยังช่วยให้ธุรกิจชุมชนสามารถสร้างรายได้ที่มาขึ้นพร้อมกับรายจ่ายที่ลดลง
อย่างไรก็ตามการใช้อีคอมเมิร์ซยังคงเป็นเรื่องยากที่ผู้ประกอบการชุมชนจะประสบความสําเร็จเนื่องจากผู้ประกอบการชุมชนมีข้อจํากัดหลายประการ ได้แก่ ขาดทักษะการปรับใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลในการทําธุรกิจออนไลน์ ขาดความคิด สร้างสรรค์ในการสร้างคอนเทนต์เพื่อการเสนอขายสินค้าให้มีความน่าสนใจและขาด ความรู้ในข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการทำ “อีคอมเมิร์ช” ซึ่งพวกเขาต้องได้รับการสนับสนุนและส่งเสริมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนาความรู้ ความเข้าใจทางด้าน “อีคอมเมิร์ช ในการต่อยอดและขยายผลในการดําเนินธุรกิจของชุมชน เพื่อให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองและเติบโตได้อย่างมีคุณภาพและยั่งยืนต่อไป
ซึ่งวันนี้ผม อ.ดร.ต้นรัก ธวัชชัย สุขสีดา ได้ลงมือทำแล้ว…เพราะได้เป็นส่วนหนึ่งในบทบาทนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านอีคอมเมิร์ชและการตลาดออนไลน์ในการลงพื้นที่ชุมชนทั่วประเทศ่เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาและพัฒนาศักยภาพความรู้การค้าขายสินค้าชุมชนสู่โลกออนไลน์ กับโครงการ “ดิจิทัล วิลเลจ” Digital Village by DBD ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิยช์ เพื่อพลิกวิกฤตชุมชนไทยสู่ชุมชนอัจฉริยะออนไลน์
อ.ดร.ตันรัก ธวัชชัย สุขสีดา อาจารย์วิทยากรด้านออนไลน์ดิจิทัล ที่ปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญการตลาดออนไลน์ ผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ บทความหนังสือพิมพ์ อปท.นิวส์ : หนังสือพิมพ์รายปักษ์ เพื่อการปกครองส่วนท้องถิ่น ได้ถือกำเนิดขึ้นเพื่อพัฒนา ประเทศ สู่ความเข้มแข็งและมั่นคง. ประจำเดือน 16-30 เมษายน 2565 เรื่อง สร้าง “อีคอมเมิร์ช” พลิกวิกฤต ชุมชนไทยสู่ชุมชนอัจฉริยะออนไลน์

อ.ดร.ตันรัก ธวัชชัย สุขสีดา อาจารย์วิทยากรด้านออนไลน์ดิจิทัล ที่ปรึกษา ผู้