เตรียมใช้ชีวิตรูปแบบใหม่ในอนาคต อ.ดร.ต้นรัก ธวัชชัย สุขสีดา”

Share:

เตรียมใช้ชีวิตรูปแบบใหม่ในอนาคต

สวัสดีครับทุกท่าน เรากําลังอาศัยอยู่ในโลกท่ีมีความซับซ้อนขึ้นกว่าในอดีต ท้ังสภาพเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม สุขภาพ ค่านิยม ความเป็นอยู่ส่ิงเหล่าน้ีสร้างความเปล่ียนแปลงและสร้างผลกระทบต่อวิถีชีวิต อนาคตของการใช้ชีวิตจึงกําลังถูกเร่งให้ตอบสนอง ต่อความเปล่ียนแปลง สัญญาณความเปลี่ยนแปลง คือ เหตุกาารณ์หรือแนวโน้มท่ีก่อตัวและเกิดข้ึนโดยกําลังจะสร้างให้เกิดความเปล่ียนแปลงอย่างมีนัยสําคัญในอนาคต

โดยการมาของเทคโนโลยีสมาร์ทโฮม (Smart Home) จะมีต้นทุนท่ีลดลงเข้า ถึงง่าย ช่วยให้เกิดการเช่ือมต่อสิ่งต่าง ๆ ภายในบ้านให้มีความ สะดวกสบาย และรวดเร็วมากยิ่งข้ึน และยังสามารถให้คําแนะนํา รวมถึงแจ้งเตือนและควบคุมเหตุการณ์ต่าง ๆ ภายในบ้านผ่าน การเช่ือมต่อกับอุปกรณ์ดิจิทัลชนิดอ่ืน เช่น สมาร์ทโฟน หรือ อุปกรณ์สวมใส่อัจฉริยะ นอกจากน้ีเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ ที่ก้าวหน้าขึ้นยังสามารถที่จะสร้างที่อยู่อาศัยได้รวดเร็วทันต่อความต้องการท่ีเพิ่มขึ้นในอนาคต

การเกิดโรคระบาดเป็นตัวเร่งท่ีทําให้กับภาคสาธารณสุข เกิด การนำนัตกรรมการรักษาใหม่ ๆ มาใช้งาน รวมถึงการปฏิรูป ทางดิจิทัลให้มีความทั่วถึงและครอบคลุม นำเทคโนโลยีมาใช้ใน การรักษา เช่นการใช้หุ่นยนต์หรือปัญญาประดิษฐ์ (robotics in healthcare) และการรักษาทางไกล (telemedicine) ในการลด ความเหล่ือมล้ำของการเข้าถึงการรักษาด้วยของประชาชน วิถีชีวิตของเรากําลังถูกความเป็นดิจิทัลผสมผสานเข้ามา และปรับเปล่ียนวิถีชิวิตของเราให้มีความทันสมัย สิ่งเล็ก ๆ ท่ีกลายเป็นดิจิทัลนั่นคืออุปกรณ์สวมใส่อัจฉริยะ (smart wearable) เช่น นาฬิกา แว่นตา ตลอดจนเซ็นเซอร์ หรือ ไมโครชิฟ ท่ีสามารถเข้าถึงข้อมูลของร่างกายเราได้ อุปกรณ์เหล่าน้ี สร้างความสะดวกสบายให้เรากับชีวิต วิถีชีวิตจะถูกขับเคล่ือนด้วย “ข้อมูล” ความเป็นส่วนตัวในโลก ไซเบอร์จะได้รับความใส่ใจไม่น้อยไปกว่าในโลกความเป็นจริง ความกังวลของผู้ท่ีเป็นเจ้าของข้อมูลจะเกิดขึ้น เพราะอุปกรณ์ ในอนาคตจะสามารถเข้าถึงความเป็นส่วนตัวของตนเองได้ถึง ระดับวิถีชีวิต พฤติกรรมและสุขภาพ ทําให้เรารู้สึกถูกคุกคาม ความเป็นส่วนตัวมากเกินไป (privacy invasion) นอกจากน้ี เจ้าของข้อมูลเหล่านี้ยังจะกลายเป็นผู้มีอิทธิพลในการกําหนดชีวิตของผู้ท่ีให้ข้อมูลเหล่านั้นด้วย


ซึ่งแนวคิดการออกแบบท่ีอยู่อาศัย พื้นท่ีสาธารณะและเมืองจะปรับเปล่ียนไป การออกแบบอย่าง Universal Design ท่ีเน้นการ ใช้งานทางกายภาพอาจไม่เพียงพอ ต้องคํานึงถึงความสําคัญ ของการเช่ือมโยงและผสมผสานความแตกต่างทางสังคมและวิถีชีวิต ให้ผสมกลมกลืนและอยู่ร่วมกันอย่างลงตัว (Co-living) โดยมีเทคโนโลยดิจิทัลและแพลตฟอร์มบริการรูปแบบใหม่มาช่วยอํานวยความสะดวกและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน

นอกจากวิกฤตโรคระบาดจะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมแล้ว ยังฝังรากลึกลงไปในระบบความคิดของผู้คนว่าความปลอยภัยในการดํารงชีวิตน้ันสามารถเกิดข้ึนได้ตลอดเวลา รวมถึงผู้คนจะมีค่านิยมหรือวัฒนธรรมท่ีปกป้องและเตรียมการต่อการเปลี่ยนแปลงมากขึ้น เช่น การสวมหน้ากากอนามัย ความกังวลเร่ืองความสะอาด รวมถึงการสํารองเงินไว้ใช้ยามฉุกเฉินด้วย ซึ่งกล่าวได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการเปล่ียนแปลงทั้งทางพฤติกรรมของผู้คนและสภาพแวดลล้อมทางสังคมที่นําไปสู่การใช้ชีวิตในรูปแบบใหม่

อ.ดร.ตันรัก ธวัชชัย สุขสีดา อาจารย์ วิทยากรด้านออนไลน์และที่ปรึกษาด้านดิจิทัล ผู้เชี่ยวชาญการตลาดออนไลน์ ผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ บทความหนังสือพิมพ์ อปท.นิวส์ : หนังสือพิมพ์รายปักษ์ เพื่อการปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อพัฒนาประเทศ สู่ความเข้มแข็งและมั่นคง. ประจำเดือน  16-31 สิงหาคม  2565 เรื่อง  “เตรียมใช้ชีวิตรูปแบบใหม่ในอนาคต” อ.ดร.ต้นรัก ธวัชชัย สุขสีดา

เตรียมใช้ชีวิตรูปแบบใหม่ในอนาคต

เตรียมใช้ชีวิตรูปแบบใหม่ในอนาคต


Share: