แนะเยาวชนเสพสื่อสงครามบนโซเชียลมีเดียนี่คือสิ่งที่ผู้ปกครองควรรู้และแนะนำ

Share:
บทความหนังสือพิมพ์ อปท.นิวส์ : หนังสือพิมพ์รายปักษ์ เพื่อการปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อพัฒนาประเทศ สู่ความเข้มแข็งและมั่นคง. โดย อ.ดร.ต้นรัก ธวัชชัย สุขสีดา อาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญการตลาดออนไลน์ดิจิทัล คอลัมนิสต์บทความหนังสือพิมพ์ อปท.นิวส์

แนะเยาวชนเสพสื่อสงครามบนโซเชียลมีเดียนี่คือสิ่งที่ผู้ปกครองควรรู้และแนะนำ

เด็ก ๆ กำลังดูสงครามบนโซเชียลมีเดียและนี่คือสิ่งที่ผู้ปกครองควรรู้และแนะนำ ภายหลังการโจมตีอิสราเอลอย่างร้ายแรงของกลุ่มฮามาส ภาพและคลิปของเนื้อหาความรุนแรงในสงครามได้แพร่กระจายไปตามสื่อโซเชียลมีเดียต่าง ๆ เช่น Facebook, Instagram, Twitter และ TikTok

ชาวอิสราเอลและปาเลสไตน์มากกว่า 1,000 คนเสียชีวิตอันเป็นผลมาจากการโจมตีและการตอบโต้ทางทหารของอิสราเอล วิดีโอไม่เพียงแต่การโจมตีที่มีผู้เสียชีวิตเท่านั้น แต่ยังรวมถึงวิดีโอของผู้ก่อการร้ายฮามาสที่ลักพาตัวผู้ชาย ผู้หญิง และเด็กยังได้แพร่สะพัดทางออนไลน์ นอกเหนือไปจากวิดีโอเหตุระเบิดในฉนวนกาซา หนึ่งในพื้นที่ที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดในโลก ความขัดแย้งของสงครามระหว่างอิสราเอลและฮามาสไม่ใช่เด็กเป็นกลุ่มแรกๆ ที่ถูกเปิดเผยเสนอผ่านโซเชียลมีเดียในขณะที่ความขัดแย้งต่างๆ  เกิดขึ้นทั่วโลกและแสดงให้เห็นภาพความรุนแรงของความขัดแย้งเหล่านั้นทางออนไลน์ผ่านโซเชียลมีเดียสิ่งที่ผู้ปกครองควรทำและให้คำแนะนำเด็ก ๆ คือ
1.เลื่อนดูไปพร้อมกับเด็ก ๆ หากผู้ปกครองอนุญาตให้บุตรหลานของตนใช้โซเชียลมีเดีย สิ่งสำคัญคือต้องทราบว่าบัญชีใดที่พวกเขาติดตามและข้อมูลใดที่พวกเขากำลังเข้าถึงจำเป็นต้องปกป้องเด็ก ๆ จากเหตุการณ์ปัจจุบันในยุคของออนไลน์ ผู้ปกครองต้องตรวจสอบข้อเท็จจริงและค้นหาข้อมูลที่เชื่อถือได้นั่งคุยกับเด็กๆ และเลื่อนดูฟีดโซเชียลมีเดียไปด้วยกันและจำกัดและกำหนดเวลาในการเข้าดูโซเชียลมีเดียของเด็ก ๆ ด้วย
2. ถามคำถามอยากรู้อยากเห็นการถามคำถาม “อยากรู้อยากเห็น” เป็นวิธีที่ดีในการเริ่มการสนทนา อาจกริ่น “ในสถานการณ์วันนี้มีเรื่องมากมายเกิดขึ้นในโลก” เช่น “หนูได้ยินอะไรบ้างที่โรงเรียน” (หรือ) “หนูเห็นภาพอะไรบนโซเชียลมีเดียบ้าง” ปล่อยให้เด็กได้พูดได้เล่า
3. สนทนาต่อไป เน้นยำถึงความสำคัญในสิ่งที่เด็กพูดออกมาก “หนูเห็นคนตายในสงคราม” ผู้ปกครองสนทนาให้ความรู้เรื่องความรุนแรงการใช้กำลังในสงคราม
4. แสดงให้ฉันเห็นว่าอะไรน่ากลัว ถามเด็ก ๆ ว่าเห็นภาพความรุนแรงนั้นมาจากไหน ขอให้เด็กแสดงภาพหรือวิดีโอที่เขาหรือเธอเห็นว่าน่ากลัวทางออนไลน์หรือบนโซเชียลมีเดียถามพวกเขาว่าพวกเขาคิดอย่างไร “น่ากลัวไหม” หากเด็กมองว่าวิดีโอหรือภาพถ่ายเหล่านั้นน่ากลัวให้ถาม “ว่าทำไมพวกเขาถึงสนใจพวกเขาตั้งแต่แรก” สอนพวกเขาไม่ควรแชร์ให้พวกเขาเรียนรู้ที่จะซ่อนเนื้อหานั้นบนโซเชียลมีเดียด้วย
5.สอนเรื่องข้อมูลที่ผิดผู้ปกครองควรแจ้งให้เด็กๆ ทราบเกี่ยวกับข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งมีอยู่ทั่วไปในสงครามและบนโซเชียลมีเดียที่ไม่มีแหล่งที่มาหรือเป็นข่าวปลอม ผู้ปกครองอธิบายความหมายของ “คลิกเบต” ที่ถูกหลอกให้คลิกเพื่อหาประโยชน์ ผู้ปกครองควรถามบุตรหลานของตนด้วยว่าพวกเขามักจะหาข้อมูลจากที่ไหน อธิบายให้พวกเขาฟังว่าบางเว็บไซต์จงใจเสียดสีและเหตุใดจึงมีการล้อเลียนแบบนั้น
6. เป็นผู้ปกครองที่ใส่ใจเด็ก ให้เวลาและใช้อยู่กับเด็ก ๆ เรียนรู้และใช้งานเสพสื่อไปพร้อมกับเด็ก ๆ ให้ทันต่อสถานการณ์โลกว่าเกิดอะไรขึ้นและอยู่ข้าง ๆ พวกเขาสอนพวกเขาว่าสงครามทำให้เกิดความทุกข์ยาก โดยสร้างบรรยากาศที่สงบสุขและรักษากิจวัตรประจำวันของคุณอยู่กับลูก ๆ อยู่ด้วยกันและทำสิ่งต่างๆ ร่วมกันเช่ย เล่นเกม อ่านหนังสือ ใช้เวลานอกบ้าน ทำขนมและอื่นๆ


ทุกวันนี้ข่าวสารความรุ่นแรงเกิดขึ้นในโลกนี้อยู่เสมอและถูกนำเสนอบนโซเชียลมีเดียมากมายนี่คือสิ่งที่ผู้ปกครองควรรู้และแนะนำเยาวชนของโลกเราวันนี้

บทความหนังสือพิมพ์ อปท.นิวส์ : หนังสือพิมพ์รายปักษ์ เพื่อการปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อพัฒนาประเทศ สู่ความเข้มแข็งและมั่นคง. โดย อ.ดร.ต้นรัก ธวัชชัย สุขสีดา อาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญการตลาดออนไลน์ดิจิทัล คอลัมนิสต์บทความหนังสือพิมพ์ อปท.นิวส์

อ.ดร.ต้นรัก ธวัชชัย สุขสีดา อาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญการตลาดออนไลน์ดิจิทัล คอลัมนิสต์บทความหนังสือพิมพ์ อปท.นิวส์
Share: