ใช้ชีวิตยุคปัจจุบัน ต้องรู้ทันโลกดิจิทัล

ใช้ชีวิตยุคปัจจุบัน ต้องรู้ทันโลกดิจิทัล
ปัจจุบันโลกโซเชียลและสังคมออนไลน์ ถือเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของทุกคนและในทุกช่วงวัย ภัยที่มากับการใช้งานบนโลกโซเชียลก็มีเพิ่มมากขึ้นเป็นเงาตามตัว การหลอกลวงและภัยบนโลกออนไลน์ ถ้าให้แบ่งตามการก่ออาชญากรรมทางออนไลน์จะมีรูปแบบใหญ่อยู่ 3 รูปแบบคือ
ประเภทที่ 1. คือ การหลอกลวงโดยการแอบอ้าง เป็นการหลอกลวงโดยใช้วิธีการแอบอ้างตนเองให้ดูเหมือนเป็นผู้ที่น่าเชื่อถือ เพื่อเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลหรือข้อมูลที่เป็นความลับ ตัวอย่างเช่น การใช้ E-mail, SMS , Website ปลอม เพื่อหลอกให้กรอกข้อมูลส่วนตัว หรือคลิกลิงก์ที่อันตราย การหลอกล้วงละเมิอดทางเพจแอบอ้างเป็นคนหน้าตาดีใช้รูปดูดีลอลวง
ประเภทที่ 2. คือ การละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล เป็นการกระทำที่ทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลถูกเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต ถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไข ถูกทำให้เสียหาย เช่น เอาเอกสารบัตรประชาชนไปปลอมแปลง หรือถูกนำไปเผยแพร่ต่อผู้อื่น ซึ่งอาจเกิดจากภัยคุกคามทางออนไลน์ที่เกิดจากการบุกรุก และ/หรือการโจมตีระบบผ่านทางช่องโหว่ เช่น โปรไฟล์เฟสบุ๊กที่เปิดสาธารณะแล้วอาจเพล้อลงเอกสารของเราลงใบ สำเนาทะเบียนบ้าน โฉลดที่ดิน เอาไปปลอมแปลงหลอกในออนไลน์
และประเภทที่ 3. คือ การหลอกลวงซื้อขายสินค้าและบริการ เป็นการใช้เทคนิคการหลอกลวงให้ผู้ซื้อทำธุรกรรมผ่านทางออนไลน์โดยไม่ได้รับสิทธิในการรับสินค้าหรือบริการตามที่ถูกตกลง ตัวอย่างเช่น หลอกให้โอนเงินและไม่ได้รับสินค้า หรือการช้อปปิ้งสินค้าแบรนด์เนมแท้แต่ได้ของปลอม
โดยปัจจุบันนี้ที่พบมากที่สุดจะเป็นการหลอกลวงซื้อขายสินค้าและบริการ ด้วยวิธีการคือ ผู้ขายจะหลอกลวงทำให้ผู้ซื้อหลงเชื่อคุณภาพ แหล่งกำเนิด หรือ ปริมาณที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง ซึ่งมีประชาชนจำนวนมากเกิดความเสียหาย โดยผู้กระทำผิดเมื่อถูกจับกุมจะมีความผิดตาม พ.ร.บ.คอมฯ มาตรา 14 จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่ถ้าบุคคลหนึ่งเสียหาย (ยอมความได้) จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และยังมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาฐานฉ้อโกงด้วย ถ้ากระทำต่อบุคคลเดียว มาตรา 341 จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หรือถ้ากระทำต่อประชาชนส่วนใหญ่ มาตรา 343 วรรคแรก จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ดังนั้นถ้าอยากปลอดภัยและมีความสุขในโลกออนไลน์ผมให้ “คาถาป้องกันภัยในโลกออนไลน์” ท่องไว้แล้วท่านจะปลอดภัยดังนี้
1. ต้องมีสติ รู้ทัน SMS ปลอม เบอร์แปลก อย่ากด อย่ากรอก อย่าตอบใช้สติป้องกันสตางค์
2. ไม่โลภ ไม่หลงเชื่อซื้อสินค้าออนไลน์ในราคาถูก อย่าเชื่อหลอกลงทุนได้ผลตอบแทนสูง
3. ไม่โชว์ ไม่แสดงตำแหน่งที่เราอยู่ ไม่เอาข้อมูลสำคัญไปโพสต์ ไม่ถ่ายคลิปโชว์วาบหวิว และ
4. ไม่โอนไว มีอะไรสงสัย “เอ๊ะ!” ไว้ก่อน ต้องตรวจสอบไม่รีบโอนไวใจเร็ว แล้วเราจะปลอดภัย
ถ้าประสบภัยทางออนไลน์ ช่องทางขอความช่วยเหลือของรัฐแจ้งความออนไลน์โทรสายด่วน 1212 ศูนย์ช่วยเหลือและจัดการปัญหาออนไลน์ พบปัญหาซื้อขายออนไลน์ เว็บไซต์ผิดกฏหมาย ภัยคุกคามออนไลน์ หรือข้อสงสัยในการทำธุรกรรมออนไลน์ได้ตลอก 24 ชั่วโมง และ สายด่วน 1441 สายด่วนตำรวจไซเบอร์ศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมออนไลน์ อ้างเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ เอกชน ข่มขู่ หลอกโอนเงิน รวมไปถึงสายด่วย 1111 ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมประเทศไทย เจอข่าวปลอม เว็บไซต์ผิดกฎหมาย และการหลอกลวงออนไลน์ เบอร์โทรศัพท์ SMS หลอกลวง URL ผิดกฎหมาย แจ้งได้เลยครับ
บทความหนังสือพิมพ์ อปท.นิวส์ : หนังสือพิมพ์รายปักษ์ ประจำปลายเดือน มิ.ย 67 เพื่อการปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อพัฒนาประเทศ สู่ความเข้มแข็งและมั่นคง. โดย อ.ดร.ต้นรัก ธวัชชัย สุขสีดา อาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญการตลาดออนไลน์ดิจิทัล คอลัมนิสต์บทความหนังสือพิมพ์ อปท.นิวส์
