สุดยอดเครื่องมือ AI “เพิ่มพูนทักษะชีวิต พัฒนาตนเอง” สำหรับชาวบ้านในยุคดิจิทัลปี 2568 ผู้เขียนคอลัมนีสต์ โดย อ.ดร.ต้นรัก ธวัชชัย สุขสีดา อาจารย์สอนด้านการตลาดออนไลน์ ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดออนไลน์

Share:

สุดยอดเครื่องมือ AI “เพิ่มพูนทักษะชีวิต พัฒนาตนเอง” สำหรับชาวบ้านในยุคดิจิทัลปี 2568

สวัสดีครับในยุคที่เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์หรือ AI เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเรามากขึ้น การเรียนรู้และปรับตัวให้เข้ากับการอยู่กับเทคโนโลยีจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับชาวบ้านอย่างเรา บางคนเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีและบางคนอาจไม่คุ้นเคยกับการใช้เทคโนโลยีมากนัก ซึ่งการใช้เทคโนโลยีเครื่องมือ AI กับการดำรงชีวิตในยุคนี้อย่างถูกต้องและเหมาะสมสามารถช่วยเพิ่มพูนทักษะความรู้ พัฒนาตนเอง และยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นได้

โดยเครื่องมือ AI ที่น่าสนใจในการใช้ง่ายสำหรับชาวบ้านอย่างเราผมขอแนะนำดังนี้ครับ

1. เป็นแอปพลิเคชันเรียนรู้ด้านภาษาครับ เช่น เจ้า Duolingo หรือ Memrise ใช้ AI ในการปรับบทบาทการเรียนรู้ด้านภาษาให้เหมาะกับระดับความสามารถของเราแต่ละคนได้ครับ ช่วยให้การเรียนรู้ภาษาของเราเป็นเรื่องง่ายและสนุกสนาน เป็นแพลตฟอร์มเรียนรู้ออนไลน์ฟรี เรียนรู้พื้นฐานของภาษาที่เราสนใจ เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษจีน ภาษญี่ปุ่น ภาษาเยอรมันและอื่น ๆ อีกมากมายรวมกว่า 30 ภาษา บทเรียนแต่ละบทจะมาพร้อมกับวิดีโอและเสียงที่บรรยายโดยเจ้าของภาษา เพื่อให้เราได้ฟังการออกเสียงตามธรรมชาติและสำเนียงของภาษานั้น โดยมีแชทบ็อตที่ใช้ AI จำลองสถานการณ์ต่าง ๆ ให้เราได้ฝึกการโต้ตอบกับเจ้าของภาษาด้วย

2. แพลตฟอร์มอย่าง Coursera หรือ EdX ใช้ AI นำเสนอหลักสูตรออนไลน์หลากหลายสาขาจากมหาวิทยาลัยชั้นนำทั่วโลกให้ตรงกับเรา เราสามารถเรียนรู้ได้ตามความสนใจและความต้องการของเราเอง ทั้ง 2 แพลตฟอร์มนี้มีผู้เรียนมากกว่า 100 ล้านคนทั่วโลก โดยที่ Coursera เน้นการฝึกอบรมระดับมืออาชีพมากกว่า เช่น ปริญญาด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์และธุรกิจ ส่วน EdX จะนำเสนอหลักสูตรมากมายในด้านมนุษยศาสตร์และวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ เรียนฟรีแตะถ้าต้องการใบรับรองต้องจ่ายเงิน


3. เครื่องมือค้นหาข้อมูลอัจฉริยะด้วย Google โดยการใช้ AI อย่างเจ้า Gemini เข้ามายกระดับการทำงานกให้เราได้ดี โดย Google Gemini สามารถประมวลผล วิเคราะห์ แสดงผลข้อมูลได้หลายรูปแบบ เช่น ข้อความ รูปภาพ เสียง วิดีโอ และโค้ด  ซึ่งเข้ามาช่วยในการสร้างสรรค์เนื้อหาหรือคอนเทนต์ใหม่ ๆ แปลภาษาได้แบบเรียลไทม์ ช่วยออกไอเดียด้านความคิดสร้างสรรค์ เช่น หัวข้อคอนเทนต์สำหรับสื่อโซเชียล เขียนบทละคร กลอน ไปจนถึงการช่วยคิดแคมเปญ วางแผนโปรเจกต์หรือการนำเสนองาน เป็นต้น


4. แอปพลิเคชันเพื่อสุขภาพฟรี เช่น Google Fit เป็นแอปฟิตเนสพื้นฐานเชื่อมต่อกับโทรศัพท์มือถือหรืออุปกรณ์เคลื่อนที่ Smart Watch ใช้ AI ในการติดตามกิจกรรมการออกกำลังกาย การรับประทานอาหาร และการนอนหลับของผู้ใช้ ให้คำแนะนำด้านสุขภาพส่วนบุคคล โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมสามารถใช้ติดตามข้อมูลพื้นฐานด้านสุขภาพ อาทิเช่น แคลอรี่ที่ถูกเผาผลาญ ระยะทาง ระดับความสูง คะแนนหัวใจ


5. เครื่องมือสร้างรายได้ออนไลน์ เป็นแพลตฟอร์มใช้ AI ในการจับคู่ผู้ขายกับผู้ซื้อ หรือผู้ให้บริการกับผู้ที่ต้องการบริการมาเจอกัน เช่น Etsy หรือ Upwork ช่วยให้ชาวบ้านสามารถสร้างรายได้เสริมจากการทำงานฝีมือหรืองานอิสระที่บ้านนำไปลงขายได้


6. แอปพลิเคชันเพื่อการเกษตร หลายคนทำเกษตรผมขอแนะนำให้ใช้ใช้ AI จากแอปพลิเคชัน Plantix หรือ AgriBot ในการวิเคราะห์สภาพดินฟ้าอากาศ โรคพืช และแมลงศัตรูพืช ให้คำแนะนำแก่เกษตรกรในการเพาะปลูกและดูแลพืชผล

เครื่องมือ AI ที่ผมได้แนะนำในบทความนี้ ผมอยากให้ทุกท่านลองนำไปใช้กันดูครับ แม้จะฟรีมีประโยชน์มากมาย แต่ชาวบ้านอย่างเราควรระมัดระวังในการใช้งานและไม่ควรพึ่งพา AI มากเกินไป ควรใช้ AI เป็นเครื่องมือช่วยในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองเท่านั้น และเรายังคงมีบทบาทสำคัญในการตัดสินใจและแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง นอกจากนี้ ควรตรวจสอบความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูลและเครื่องมือ AI ก่อนใช้งาน เพื่อป้องกันการหลอกลวงหรือการให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องครับ

สุดท้ายนี้ผมอยากจะบอกทุกท่านว่าเครื่องมือ AI ฟรีเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับชาวบ้านอย่างเราในยุคดิจิทัลปี 2568 นี้ การเรียนรู้และใช้ประโยชน์จากเครื่องมือเหล่านี้จะช่วยให้เราสามารถเพิ่มพูนทักษะความรู้ ในการพัฒนาตนเอง และยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม เราควรระลึกเสมอว่า AI เป็นเพียงเครื่องมือช่วยเราเท่านั้นและการพัฒนาตนของเราอย่างต่อเนื่องเป็นสิ่งสำคัญที่สุดครับ ภาพประกอบบทความสร้างโดย AI

บทความหนังสือพิมพ์ อปท.นิวส์ : หนังสือพิมพ์รายปักษ์ ประจำต้นดือน 16-28 ก.พ. 68 เพื่อการปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อพัฒนาประเทศ สู่ความเข้มแข็งและมั่นคง. เรื่อง  สุดยอดเครื่องมือ AI “เพิ่มพูนทักษะชีวิต พัฒนาตนเอง” สำหรับชาวบ้านในยุคดิจิทัลปี 2568 ” โดย อ.ดร.ต้นรัก ธวัชชัย สุขสีดา อาจารย์สอนด้านการตลาดออนไลน์ ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญการตลาดออนไลน์ดิจิทัล คอลัมนิสต์บทความหนังสือพิมพ์ อปท.นิวส์วิทยากรหลักสูตร PDPA คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และที่ปรึกษาผู้ประกอบการยุคใหม่ ที่ปรึกษาผู้ประกอบการ SMEs อดีตกูรูที่ปรึกษาด้านดิจิทัล SCB Business Center  ธนาคารไทยพาณิชย์และอดีตคณบดีฝ่ายสื่อสารและพัฒนาแบรนด์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คลิก โหลดอ่านฉบับเต็มหนังสือพิมพ์ อปท.นิวส์ ฟรี คอลัมนีสต์ อ.ดร.ต้นรัก

อ.ดร.ต้นรัก ธวัชชัย สุขสีดา อาจารย์สอนด้านการตลาดออนไลน์ ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญการตลาดออนไลน์ดิจิทัล คอลัมนิสต์บทความหนังสือพิมพ์ อปท.นิวส์วิทยากรหลักสูตร PDPA คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และที่ปรึกษาผู้ประกอบการยุคใหม่ ที่ปรึกษาผู้ประกอบการ SMEs อดีตกูรูที่ปรึกษาด้านดิจิทัล SCB Business Center ธนาคารไทยพาณิชย์และอดีตคณบดีฝ่ายสื่อสารและพัฒนาแบรนด์ คณนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
อาจารย์ต้นรัก ธวัชชัย สุขสีดา ผู้ทรงคุณวุฒิด้านออนไลน์
อาจารย์ต้นรัก ธวัชชัย สุขสีดา ผู้ทรงคุณวุฒิด้านออนไลน์
Share: